สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนคุณธรรม
โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดําเนินงาน 

โครงการโรงเรียนคุณธรรมโรงเรีบนวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และบริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยหัวใจหลักของโครงการโรงเรียนคุณธรรมในภาพรวม คือ การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ เป้าหมายของโครงการโรงเรียนคุณธรรม คือ

? เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม

? เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนภายใต้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด

กระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังนี้

การดำเนินการ

     ๑. ประชุมคณะกรรมการวางแผนงาน

     ๒. ขออนุมัติโครงการ

     ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

     ๔. ดำเนินการกิจกรรมโครงการโรงเรียนคุณธรรมในรูปแบบออนไลน์ โดยการบูรณษการเนื้อหากับกลุ่มวิชาพัฒนาผู้เรียน (วิชาแนะแนว/โตไปไม่โกง/ต้านทุจริต) และสอดแทรกเนื้อหา เรื่องคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เข้าไว้ในรายงวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมดังนี้

          - กิจกรรมห้องเรียนอริยะ
          -
กิจกรรมโครงงานโรงเรียน คุณธรรม ๔ รับ (รับผิดชอบ) วิถีกุฏ ๔ รับ
          -
กิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม โดยการบูรณาการ

      ๕. ประเมินผล รายงานผลโครงการ  

 

การนิเทศ/ประเมินผล

๑.การนิเทศติดตามจากคณะกรรมการโรงเรียน

๒.การนิเทศติดตามจากคณะกรรมการจากบริษัทเทเวศประกันภัย

๓.การประเมินผลระดับโรงเรียน

การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานครในระยะ ๗ ปี สามารถแบ่งเป็นระยะได้ดังต่อไปนี้

องค์ความรู้ ปี ๑  (ปี ๒๕๕๘) นับเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นบ่มเพาะพฤติกรรมที่ดีงามด้วยกระบวนการ
มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมส่งเสริมความดีที่นักเรียนคิด นักเรียนทำ นักเรียนนำเสนอ ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการตามคุณธรรมเป้าหมาย โดยมีกิจกรรมส่งเสริมความดี กระบวนการทบทวนความคิด และสมุดบันทึกความดี เป็นเครื่องมือกำกับการทำกิจกรรมส่งเสริมความดีที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนอย่างสมดุล ทำให้สามารถเห็นพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างชัดเจน ผลการขับเคลื่อนในปีที่ ๑ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า “รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม” ได้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม (
Main Moral Model: ๓M) ๙ ขั้นตอน ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เรียกว่า MAKUT MODEL โดยใช้องค์ความรู้ด้านมารยาท ที่ใช้รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม “โตไปไม่โกง” ด้านรับผิดชอบ โดยมีรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางคิดแบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกในด้าน ๑) รับผิดชอบต่อตนเอง ๒) รับผิดชอบต่อบุคคล ๓) รับผิดชอบต่อโรงเรียน ๔) รับผิดชอบต่อชุมชน มีโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ จำนวน ๔ โครงงาน ในปีแรก “มกุฏฯ รับผิดชอบต่อหน้าที่  คุณภาพดี  คือผลเชิงประจักษ์” เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ   การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนและผู้สอน

องค์ความรู้ ปี ๒ (ปี ๒๕๕๙) มุ่งเน้นไปที่การนำรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมที่ค้นพบในปีที่ ๑ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างยั่งยืน โดยคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ร่วมกันค้นหากระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน “คุณธรรมเป้าหมาย” “พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก” โดยมีกิจกรรมส่งเสริมความดี กระบวนการทบทวนความคิดและสมุดบันทึกความดี เป็นเครื่องมือกำกับการทำกิจกรรมส่งเสริมความดี ที่สอดคล้องกับการพัฒนาขีดสมรรถนะของผู้เรียนอย่างสมดุล ผลการขับเคลื่อนในปีที่ ๒ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า กระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน” ได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน (Moral identity model) ที่เรียกว่า MAKUT DESIGN เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางการคิดแบบมีส่วนร่วม (นักเรียนคิด ครูเสริม ผู้บริหารเติม สร้างเสริมวิถีประชาธิปไตย) และได้ดำเนินบ่มเพาะพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกในด้าน ความรับผิดชอบ ทั้ง ๔ รับ ๑) รับผิดชอบต่อตนเอง ๒) รับผิดชอบต่อบุคคล ๓) รับผิดชอบต่อโรงเรียน ๔) รับผิดชอบต่อชุมชน ด้วยโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ อย่างต่อเนื่องในปีแรก และเกิดโครงงานโรงเรียคุณธรรม อีก ๔ โครงงาน รวมเป็น ๘ โครงงานโรงเรียนคุณธรรม

องค์ความรู้ ปี ๓ (ปี ๒๕๖๐) มุ่งเน้นไปที่การนำ “รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม” และ “กระบวนการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน” ที่ค้นพบในปีที่ ๒ มาใช้เป็นต้นทุนในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมสู่ความสมดุลและอย่างยั่งยืน ผลการขับเคลื่อนในปีที่ ๓ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เรียกว่า “ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนคุณธรรม (ต้นแบบ) ในสังกัดกรุงเทพมหานคร” ได้รูปแบบการขับเคลื่อนศูนย์  การเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรม (ต้นแบบ) เขตพระนคร (Moral learning center model) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในการบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน ด้วยกระบวนการห้องเรียนอริยะ Moral  Quotient  Classroom (MQC) ตามหลักการพื้นฐาน “เรียนความรู้  หัดทำการงาน ทำความดี” ซึ่งแบ่งออกเป็น ๙ มุม และผู้เรียนปฏิตามแนวทางปฏิบัติตามโครงงานโรงเรียนคุณธรรม ๔ รับ เกิดเป็นวิถีธรรมวิธีทางของชาวมกุฏด้วยวิถีประชาธิปไตย

องค์ความรู้ ปีที่ ๔ ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๖๑-ปัจจุบัน) ในการการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปีปัจจุบัน  มุ่งเน้นในการบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนโดยดำเนินการและพัฒนาโครงการโรงเรียนคุณธรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมส่งเสริมความดีในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมมุมคุณธรรมด้วยกระบวนการห้องเรียนอริยะ  การดำเนินงานตามโครงงานคุณธรรมทั้ง ๔ รับ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงการทำความดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดเป็นคุณลักษณะ  ของผู้เรียนที่เรียกว่า  ๕C MK KIDS ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ยั่งยืนที่เกิดกับผู้เรียนของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม 

ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ เนื่องด้ยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยารามได้ดำเนินการกิจกรรมโครงการโรงเรียนคุณธรรมในรูปแบบออนไลน์ โดยการบูรณษการเนื้อหากับกลุ่มวิชาพัฒนาผู้เรียน (วิชาแนะแนว/โตไปไม่โกง/ต้านทุจริต) สอดแทรกเนื้อหา เรื่องคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เข้าไว้ในรายงวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ  การเรียนรู้ และการให้ความรู้และเผยแพร่เว็บไซต์โรงเรียนคุณธรรม

 

 

 

 



ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดําเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ  

สรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม พบว่า ผลการประเมิน  ๓ ส่วน ของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ๑) ผลการประเมินอัตลักษณ์ของผู้เรียน  ๒) ผลการประเมินเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ๓) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ สรุปได้ว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (ที่มาของข้อมูลจาก แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ประจำชั้น)  ปพ. ๕)

การดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม

          R  เป็นไปตามแผนงาน

          *  ไม่เป็นไปตามแผนงาน เพราะ                                                                   

ผลสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม

          R  บรรลุเป้าหมาย

          *  ไม่บรรลุเป้าหมาย  เพราะ                                                                       

 

ผลความสำเร็จโครงการ/กิจกรรม          คิดเป็นร้อยละ   ๑๐๐.๐๐

ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม              คิดเป็นร้อยละ   ๙๖.๖๗

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยความสำเร็จที่เด่นชัดของโครงการฯ คือ รูปแบบดำเนินโครงการที่ยึดถือหลักการ ๔ ประการ ได้แก่

    ๑. การมีส่วนร่วม ได้แก่

๑.๑ ผู้บริหารโรงเรียน ให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้กําลังใจ

๑.๒ ครูทุกคนให้ความร่วมมือ ร่วมใจอย่างเต็มที่ และเต็มใจ

๑.๓ นักเรียนให้ความร่วมมือ มีความพร้อมในการจัดกิจกรรม  และนักเรียนทุกคนตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

๑.๔ ผู้ปกครอง  ชุมชน  ชื่นชมยินดีและพึงพอใจ พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมอย่างดียิ่ง

๒. การเป็นเจ้าของ

๓. การเป็นแบบอย่าง

๔. การเป็นวิถีชีวิต

บทเรียนที่ได้รับ

ปัญหาอุปสรรคที่พบ

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อวัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทำให้กิจกรรมต่างๆ และระยะเวลาในการในการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแนวทางในการดำเนินงานที่วางไว้ จึงได้หาแนวทาง การแก้ไข โดยร่วมกับผู้บริหารจัดนิเทศติดตามเสริมความรู้ ความเข้าใจ ให้ครูแกนนำ และวางแผนงานให้มีความยืดหยุ่น ชัดเจน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์

โอกาส

  ในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรมได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จึงถึงปัจจุบัน โดยมี สำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด [มหาชน]

เป็นหน่วยงานสนับสนุน และกระบวนการและเครื่องมือของโครงการโรงเรียนคุณธรรมนี้ยังมีความแตกต่างกับโครงการอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ คือ

๑. โครงการโรงเรียนคุณธรรมให้ความสำคัญกับการระเบิดจากข้างใน โดยเฉพาะเน้นให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและความเชื่อมต่อ
หลักคุณธรรมจริยธรรมในจิตสำนึกของตนเองก่อน จากนั้นจึงพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องในการสร้าง           ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมในโรงเรียน

๒. การนิเทศติดตามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ๓ ส่วน คือ

?       บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท สำนักบริหารงานกรรมการและสื่อสารองค์กร ที่ให้การสนับสนุนด้านยุทธศาสตร์ การดำเนินโครงการฯ การจัดสรรงบประมาณและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนคุณธรรม ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการให้ความรู้ คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินโครงการฯ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทเทเวศฯ ทำหน้าที่ในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

?       โรงเรียน มีการนิเทศติดตามภายในอย่างสม่ำเสมอจากผู้อำนวยการโรงเรียน ครูแกนนำ

?       ผู้ปกครอง มีบทบาทในการติดตามความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนที่บ้านและสะท้อนกลับมายังโรงเรียน

๓. เครื่องมือในการสนับสนุนการดำเนินงานที่แตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ซึ่งมีลำดับของเครื่องมือของ

โครงการฯ คือ

     ๓.๑ รูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม (Main Moral Model)

     ๓.๒ รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน (Moral identity Model)

     ๓.๓ กิจกรรมส่งเสริมความดี (Moral project)

     ๓.๔ แบบสะท้อนความคิด  (Moral reflection)

     ๓.๕ สมุดบันทึกความดี (Moral book)

     ๓.๖ หลักสูตรเสริมห้องเรียนอริยะ ซึ่งเป็นการบูรณาการของสถานศึกษาโดยนำกระบวนการสอนมาปรับใช้พัฒนาจนเกิดเป็นหลักสูตรเสริมของสถานศึกษา

การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

          ๑) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในกลุ่มโรงเรียน

          ๒) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มครูแกนนำในสำนักงานเขตพระนคร

          ๓) มีการเผยแพร่ผลงาน/การดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์ https://sites.google.com/view/moral-makut-school

          - การเผยแพร่ความรู้ในการดำเนินการโรงเรียนคุณธรรม ณ งานนิทรรศการวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพระนคร (เครือข่ายโรงเรียนที่ ๒)   

          -  การนำเสนอโครงการโรงเรียนคุณธรรม ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)

- นิทรรศการรวมพลังประชารัฐขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม ที่ เมืองทองธานี (๑-๒ กันยายน ๒๕๕๙ )

- โรงเรียนวัดบางพลัด , โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม มาศึกษาดูงาน (๒๓ กันยายน ๒๕๕๙)

          - นิทรรศการศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรม “นวัตกรรม : การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สู่ความสมดุลและยั่งยืน” โดยจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางดำเนินโครงการ “โรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร” ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑]

- การแสดงผลงานเพื่อเข้ารับการประเมินความโดดเด่น จาก สมศ. มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

- การเผยแพร่ความรู้การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายโรงเรียนที่ ๒ สำนักงานเขตพระนคร ปีการศึกษา ๒๕๖๒  วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โรงเรียนวัดอินทรวิหาร  สำนักงานเขตพระนคร

- การเผยแพร่ความรู้ในการดำเนินการโรงเรียนคุณธรรม ณ งานนิทรรศการวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพระนคร  (เครือข่ายโรงเรียนที่ ๒) วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๔   

    ๔) ผลงานได้รับการยอมรับและได้รับรางวัล

          ปีการศึกษา ๒๕๖๐

โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม ผ่านการประมินและได้รับการยกย่องเป็นศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนคุณธรรมต้นแบบเขตพระนคร โดย บริษัทเทเวศ ประกันภัย เป็นผู้ส่งมอบ โดยมีการนิเทศติดตามเป็นระย

ปีการศึกษา ๒๕๖๑

จากผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ(Best Practice) ส่งผลให้โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้รับการรับรองการประเมินความโดดเด่น ในระดับ C (ระดับท้องถิ่น/ภูมิภาค) ด้านความรู้คู่คุณธรรม โครงการโรงเรียนคุณธรรม จาก สมศ. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]