สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้เทคนิค 6 ร่วม
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนคงโครัดอุทิศดำเนินงานตามกระบวนการเทคนิค 6 ร่วม ตามรูปแบบการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมมุ่งสู่คุณภาพโรงเรียน โดยได้ดำเนินการตามวิธีการและกระบวนการดังนี้

            1) การร่วมคิด ได้แก่ ศึกษาบริบท เพื่อรับรู้สภาพปัญหาของโรงเรียน โดยการรับข้อมูล รับฟัง ข้อคิดเห็นจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยการสอบถาม ให้โอกาสในการแสดงความเห็นถึงปัญหา และความต้องการ

          2) การร่วมวางแผน นำข้อมูลที่ได้รับจากทุกฝ่ายมาวิเคราะห์สภาพปัญหาที่พบ ทั้งจากอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหา

            3) การร่วมปฏิบัติ โดยพิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยใช้กระบวนการ PDCA  แบบค่อยเป็นค่อยไปตามความสามารถของสถานศึกษา
นำข้อมูลที่ได้รับ เข้าประชุมชี้แจง ระดมความคิด ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกันในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของสถานศึกษา โดยการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด จัดทำรายงานโครงการ ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป และรายงาน ผลการดำเนินงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ

            4) การร่วมประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน และประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน อย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่าย ชุมชน เพื่อนำผลไปวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางใน การพัฒนาและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการ และเพื่อพัฒนางานต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
           5)  ร่วมรับผิดชอบ โดยรับรู้รับทราบถึงผลการดำเนินงาน และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนการและผลการดำเนินงาน  ตลอดจนร่วมชื่นชม ขยายผล และเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิในในความสำเร็จทุกด้าน ให้ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งรายงานผลการพัฒนาต่อหน่วยงาน
ต้นสังกัด เมื่อสิ้นปีการศึกษา

           6)  ร่วมเรียนรู้ ใช้การร่วมกันศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน

การขับเคลื่อน

          1. ใช้กระบวนการพัฒนาของวงจรเดมมิ่ง ( Deming  Cycle ) PDCA เพื่อให้การทำงาน
เป็นไปอย่างมีระบบ สู่เป้าหมายความสำเร็จ

          2. โรงเรียนสะอาด ? นักเรียนเก่ง ? นักเรียนมีคุณธรรม ? พัฒนาชุมชน

บริหารจัดการโดยให้ความสำคัญต่อความสะอาด เพราะโรงเรียน คือ สถานที่สอนคน สอนทั้งวิชาการ คุณธรรมและทักษะชีวิต จึงเน้นให้เกิด

          2.1  โรงเรียนสะอาด

          2.2  เน้นงานวิชาการ  

          2.3  เน้นเป็นคนดี มีคุณลักษณะ 8 ประการ

          2.4  สร้างทักษะและสุนทรียภาพ

2.5  จิตอาสาพัฒนาชุมชน

        3. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรตามวิชาชีพ

        4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครองนักเรียน
ร่วมมือกันในการพัฒนาสถานศึกษา

        5. ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 


ผลจากการปฏิบัติ

4. ผลการดำเนินงาน

           4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

                    4.1.1 ผลสัมฤทธิ์ชั้นประถมศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

                    4.1.2 ผ่านการทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

                    4.1.3 ผลสัมฤทธิ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้น (NT)

                    4.1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 อ่านคล่อง เขียนคล่อง

             4.2  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เด่นชัด

                   4.2.1 ด้านความมีวินัย

                   4.2.2 ด้านใฝ่รู้ และมีนิสัยรักการอ่าน

                   4.2.3 ด้านจิตอาสา

                   4.2.4 ด้านประหยัด อดออม (ความพอเพียง)

         4.3 สุนทรียภาพด้านศิลปะ  ดนตรี  กีฬา  และนันทนาการ

                 4.3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษามีผลสัมฤทธิ์ด้านศิลปะ  ดนตรี  กีฬา  สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

                 4.3.2 นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

                 4.3.3 มีวงดนตรีไทยของนักเรียนประจำโรงเรียน

 

5. ประโยชน์ที่ได้รับ

        1. ผู้ปกครองเชื่อมั่นในสถานศึกษา ส่งบุตรหลานเข้าศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมทุกปี

        2. นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับเขตพื้นที่  ระดับภาค  และระดับประเทศ

        3. ครูได้รับรางวัลในการแข่งขันระดับเครือข่ายโรงเรียนและระดับกรุงเทพมหานคร

        4. นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 100

        5. ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน ทั้งในพื้นที่บริการและใกล้เคียงอย่างมาก

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]