สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นวัตกรรม เรื่อง HR Model รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน
โรงเรียนหัวหมาก
กระบวนการพัฒนา

 สภาพปัญหาหาก่อนการพัฒนา

          กรุงเทพมหานครมีนโยบายส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสนับสนุนโครงการรณรงค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการอ่าน (Bang Read For Life)

          โรงเรียนหัวหมาก ได้ตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญของการอ่านเป็นอย่างมาก จากผลสรุปการอ่านคิดการวิเคราะห์ และผลการทดสอบ RT พบว่า เกณฑ์การอ่านของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 62.53  ด้วยเห็นว่าการอ่านของนักเรียนสามารถพัฒนาได้ขึ้นอีก

          จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนหัวหมากจึงได้มุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีนิสัยรักการอ่านที่ยั่งยืนผ่านการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านด้วยรูปแบบ HR Model   

วัตถุประสงค์

          ๑. เพื่อสร้างนวัตกรรมการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนหัวหมาก

          ๒. เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนหัวหมาก

          ๓. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ทั้งด้านความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

การออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนา

           จากสภาพปัญหาข้างต้น  โรงเรียนจึงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างนิรัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนหัวหมาก ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PDCA  ในการดำเนินงานจากการร่วมมือของทุกฝ่าย

          ในการออกแบบนวัตกรรม โรงเรียนมีการกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลำดับขั้น โดยใช้กระบวนการ PDCA  ดังนี้

          ๑. P (Plan)  วางแผนและออกแบบนวัตกรรม โดยประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในความจำเป็นของการจัดทำแนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนหัวหมาก โดยสำรวจสภาพปัจจุบัน  ปัญหา  โอกาส  และความต้องการของครูและผู้ปกครอง ตลอดจนเป้าหมายของโรงเรียนในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนหัวหมาก อันนำมาซึ่งนวัตกรรม 

“HR Model” รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน

          ๒. D (Do)  สร้างนวัตกรรมรูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านตามรูปแบบที่วางไว้กับนักเรียนโรงเรียนหัวหมากในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ โดยจัดโครงการรักการอ่าน กิจกรรมสอนเสริมการอ่านภาษาไทย และกิจกรรมรักการอ่านร่วมกับชั่วโมงชุมนุม 

          ๓. C (Check) เป็นการทดสอบและประเมินผล ติดตามการดำเนินงานโดยสอบถามจากนักเรียน 

ครูประจำชั้น และผู้ปกครอง รวมถึงผลการดำเนินงานโครงการรักการอ่าน

          ๔. A ( Action)  การปรับปรุงและพัฒนา เป็นการข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป 

ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนานิสัยรักการอ่าน

          การดำเนินงานการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนหัวหมาก โดยใช้ HR Model ร่วมกับรูปแบบการสอนวิธีระบบของบราวน์และคณะ ซึ่งได้มีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ทางโรงเรียนที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

แผนผังแสดงรูปแบบวิธีระบบการสอนของบราวน์และคณะ


          ๑. ด้านข้อมูล

             ๑. กำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน  โดยนำรูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน “HR Model ” มาประยุกต์ใช้ในการิเคราะห์ผู้เรียนและคุณลักอันพึงประสงค์ที่นักเรียนพึงมีต่อการอ่าน

             ๒. กำหนดกิจรรม

             ๓. กำหนดวิธีสอน

             ๔. กำหนดบทบาทครู

             ๕. กำหนดแหล่งข้อมูล / สื่อ

          ๒. ด้านกระบวนการ

              ๑.๑ จัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน

              ๑.๑ H (Happiness) = ความสุข

                   - ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสุขกับการอ่านหนังสือ โดยสนทนาถึงความสำคัญของการอ่าน ประโยชน์ของการอ่าน

                   - เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน บอกตัวละครที่นักเรียนชอบ บอกเล่าเรื่องราวที่นักเรียนชอบ บอกชื่อหนังสือที่นักเรียนชื่นชอบ

                   สร้างเจตคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ ความประทับใจจากการอ่านของนักเรียน

              ๑.๒ R (Reading)  = การอ่าน

                   - เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจและเหมาะสมกับวัย มีวิธีการเลือกหนังสือที่นักเรียนชอบหรือสนใจ

                   อ่านในใจและอ่านออกเสียง นักเรียนเข้าใจมารยาทการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ และสามารถเลือกปฏิบัติได้ถูกต้อง

                   - อ่านบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง นักเรียนมีเทคนิคการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง

          ๓. ด้านผลลัพธ์

              ๑. สถิติการอ่านหนังสือของนักเรียน

              ๒. การเข้าร่วมกิจกรรมรักการอ่าน

              ๓. เจตคติที่ดีต่อการอ่าน

 

แผนผังแสดงขั้นตอนรูปแบบการใช้ HR Model ตามรูปแบบการสอนวิธีระบบของบราวน์และคณะ

 


ผลจากการปฏิบัติ

๓.  ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

          จากผลการนำนวัตกรรม HR Model รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านที่ทางโรงเรียนหัวหมากคิดค้นขึ้นมาใช้ดำเนินการในโรงเรียน มีผลงานที่เกิดจากการดำเนินงาน ดังนี้

          ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

          ๑.  “HR Model รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน”  ช่วยสร้างแรงจูงใจให้นักเรียน

สนใจอ่านหนังสือ

          ๒.  นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ทั้งด้านความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

          ๓. ฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก

 

          ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา

              ๑. โรงเรียนมีHR Model รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน” ที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน

              ๒. นวัตกรรม HR Model รูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน” เป็นแนวทางนำไปประยุกต์ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียนข้อที่ ๑ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ ตามมาตรฐานการศึกษา

                จากการพิจารณาโครงการรักการอ่านของโรงเรียนหัวหมาก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๐๘


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]