สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้
โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนการดำเนินงาน

โรงเรียนพหลโยธิน(พ่วงเจริญอุปถัมภ์) มีการดำเนินงานโดยใช้วงจร PDCA ดังนี้

PLAN (ขั้นวางแผน)

1. ร่วมคิด โดยการศึกษาบริบท สำรวจพื้นที่สีเขียวในโรงเรียน ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับ

สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนที่มีผลต่อนักเรียน  เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่าย ครู บุคลากรนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนโดยใช้แบบสำรวจ

2. ร่วมวางแผน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจในการพัฒนาสภาพแวดล้อม มาสรุปผล วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ตลอดจนร่วมกันกำหนดรูปแบบและขั้นตอนในการพัฒนา ดังนี้

2.1.1 จัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติ

2.1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

DO (ปฏิบัติ)

3. ร่วมปฏิบัติการดำเนินการในขั้นตอนการปฏิบัติ ดำเนินการดังนี้

3.1.1 ประชุมชี้แจงแนวนโยบายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม รูปแบบการดำเนินงานเพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนแก่ผู้ปกครองและชุมชน

ในการประชุมผู้ปกครอง  การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรในโรงเรียน นักเรียนแต่ละสายชั้น เพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

3.1.2 ดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนด โดยแบ่งเป็นโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1)  โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

-  กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน

-  กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม Zero waste School

2)   โครงการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3)   โครงการพัฒนาการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

4)   โครงการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

5)   การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการสิ่งแวดล้อมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

6)   การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ CCE (Child Center Education) ที่มีการกำหนดการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน

CHECK (ตรวจสอบ)                                                                                        

มีการตรวจสอบการดำเนินงานในแต่ละงานเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน  มีการประเมินโดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงาน จาก คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูและบุคลากร นักเรียนในโรงเรียน ชุมชน เพื่อให้ทราบผลของการดำเนินงาน รวมถึงข้อบกพร่องและส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ACTION (รายงานผล) 

สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ  มีการขยายผลการดำเนินงานและเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิใจ ในความสำเร็จทุกด้านให้ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดโอกาสให้โรงเรียนในสังกัดและนอกสังกัด ในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาศึกษาดูงาน



ผลจากการปฏิบัติ

ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์

1. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีอาคารสถานที่เหมาะสม มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น และมีความร่มรื่น สวยงาม น่ารู้ น่าอยู่ น่าเรียน

                   2. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนออนไลน์

                    3. นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนออนไลน์ในบางกลุ่มสาระ บางเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

                    4. นักเรียนได้รู้ถึงวิธีการป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆได้

                    5. จัดสภาพแวดล้อมห้องน้ำและห้องสุขาให้สะอาด สวยงาม 

                    6. นักเรียนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการรักษาสภาพแวดล้อม

 

          ผลสัมฤทธิ์ของงาน

1.      จัดหลักสูตรสถานศึกษาตรงความต้องการของผู้เรียนโดยกำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนรุ้ให้กับผู้เรียนในเรื่อง PM 2.5  และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากนั้นจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  สร้างแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

2.       โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CCE ที่มีความโดดเด่นในเรื่องการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้  โดยครูผู้สอนได้รับคัดเลือกเป็นครูต้นแบบ CCE จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสุชาดา  ตรีนัย (ระดับปฐมวัย) นางสาวนภาวดี  ทองบุ (วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ป. 4 – 6 )  นางสาวโฉมฉาย  เดชขุนทด (คณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป. 5 ) 

3.       โรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียน ZERO WASTE

4.       โรงเรียนมีอาคารเรียน ห้องเรียนเพียงพอและมีความปลอดภัย  พัฒนาอาคารสถานที่ให้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ โรงอาหาร ห้องประชุม สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความมั่งคงแข็งแรง และปลอดภัยอยู่เสมอ  ภายในห้องเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ได้แก่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับผู้เรียน และพร้อมใช้งาน

5.       พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีระบบเครือข่าย / สัญญาณ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน

          ประโยชน์ที่ได้รับ

1.       นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

2.       ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนประกอบการเรียนการสอน

3.       ส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ทุกเวลาทุกสถานที่ และรู้จักใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์

4.       นักเรียนมีความตระหนักและมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

5.       นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

6.       นักเรียนมีการรักษาพื้นที่สีเขียวเดิมไว้ ให้คงสภาพสดชื่น  สวยงาม

7.       ภายในบริเวณโรงเรียนมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น

8.       โรงเรียนมีประสิทธิภาพและคุณภาพการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

9.       บุคลากรมีจิตสำนึกในมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาไปสู่ระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากลต่อไป

10.   บุคลากรทำงานเป็นทีมที่ดีโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม

11.   ครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานตามมาตรการรักษาความปลอดภัย

12.   โรงเรียนมีแผนงานและระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

13.   ครู บุคลากรและนักเรียนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

14.   นักเรียนมีระเบียบวินัยและจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

15.   ลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน

16.   วัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

17.   ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน

18.   โรงเรียนมีภาพลักษณ์ที่ดีได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน

 

บทเรียนที่ได้รับ

1. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายของโรงเรียนควรพิจารณาปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้มีความเหมาะสมมากขึ้นทุก ๆ ด้าน ให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจในการที่ได้เข้ามาศึกษาในโรงเรียน โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านอาคารสถานที่เพราะอาคารสถานที่จะเป็นสิ่งแรกที่บุคคลภายนอกพบเห็น

2. สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาด้านอาคารสถานที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเรื่องความสะอาดของห้องเรียน ความเพียงพอของโต๊ะ เก้าอี้ ภายในโรงเรียนจัดกิจกรรมรักษ์สะอาด

3. สภาพแวดล้อมทางด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนต้องเอาใจใส่ดูแลในเรื่องการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ควรสร้าง บรรยากาศในห้องเรียนให้มีความสนุกสนานน่าเรียน

4. การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ทำให้สถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความสวยงาม ปลอดภัยอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ส่วนบุคลากรปรับเปลี่ยนให้ความสำคัญกับการนำเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

5. การปฏิบัติงานที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุนส่งผลให้งานบรรลุเป้าหมาย

6. การพัฒนางานร่วมกัน ความจริงใจในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติงาน ความร่วมมือร่วมใจ การเอาใจใส่ เสียสละ การอุทิศตนของบุคลากร ส่งผลให้งานประสบผลสำเร็จได้ผลงานที่มีคุณภาพ

7. เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมายเกิดความภาคภูมิใจ คือ การที่ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างสมบูรณ์สามารถพัฒนางานได้ตามเป้าหมาย

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.       ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนา

2.       การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

3.       การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

4.       ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.       ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะนำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

 

การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

การเผยแพร่

1.       เผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์ https://www.phaholyothin2021.com/

2.       เผยแพร่ผลงานผ่าน พหล School Line

การได้รับการยอมรับ

การศึกษาดูงานจากคณะบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศึกษานิเทศ 

รางวัลที่ได้รับ

ระดับรางวัล

ประเภท

ชื่อรางวัลที่ได้รับ

หน่วยงานที่มอบรางวัล

วันที่ได้รับ

สังกัด กทม.

สถานศึกษา

สถานประกอบการ สถานศึกษา สะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค covid19

กรมอนามัย

15 ธันวาคม 2564

 

 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]