สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ
โรงเรียนคลองกุ่ม(เสรีไทย อนุสรณ์)
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544  และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) ของโรงเรียนคือ นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เรียนรู้คู่คุณธรรม มีทักษะด้านงานอาชีพ รักความเป็นไทย รักษ์สิ่งแวดล้อม ดำรงตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้การฝึกงานอาชีพตามความสนใจ โดยให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความสามารถทางวิชาการ ควบคู่กับงานอาชีพ จึงได้ดำเนินการจัดประสบการณ์ด้านการฝึกงานอาชีพตามความสนใจขึ้นเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาของนักเรียน และสนองตอบต่อความต้องการของผู้ปกครอง ชุมขน นักเรียนทุกระดับชั้น โดยโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตร กำหนดหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง จัดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการ มีขอบข่ายการดำเนินงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ จำนวน 11 งานอาชีพ ดังนี้1. งานผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์ระบบโรงงาน2. งานทำน้ำดื่มสมุนไพรและอาหารว่าง3. งานเกษตรปลอดสารพิษ4. งานทำขนมไทย5. งานทำขนม-อบ (เบเกอรี่)6. งานประดิษฐ์และตัดเย็บ7. งานตัดผม/เสริมสวย8. งานช่างพื้นฐาน9. งานนวดเพื่อสุขภาพ10. งานสืบสานศิลปะมวยไทย11. งานการใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เลิศ

          ลักษณะสำคัญของวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เป็น Best Practices มีแนวทางการดำเนินงาน  ดังนี้

1.      โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่ดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่

มีต่อสถานศึกษา และเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้

2.      วิธีปฏิบัตินั้นผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิด

คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น

3.      สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what)  “ทำอย่างไร” (how)

และ”ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

4.      ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

5.      วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติ

หน้าที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

6.      วิธีปฏิบัตินั้นให้กระบวนการจัดการเรียน (KM) เช่น การเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอด

บทเรียนจากการดำเนินการ

1. วิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)

1.      วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อ

สถานศึกษา หรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้ ดังนี้

1.1   โรงเรียนมีการการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

1.2   ก่อนการดำเนินงานมีการออกแบบสอบถามนักเรียน ชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากร

ทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1.3   ดำเนินการตามแผนที่วางไว้

1.4   สรุปผล/รายงาน

1.5   ปรับปรุงแก้ไข

1        โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิด

คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น ดังนี้

1.      ขั้นวางแผนดำเนินงาน (PLAN)

1.1 ประชุมบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกันถึงวิธีหรือแนว

ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                   1.2 นำเสนอโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ต่อฝ่ายบริหารเพื่อขออนุมัติ

                    1.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

                    1.4 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน

  2  ขั้นดำเนินการ (DO)

                    2.1 ขั้นเตรียมการ

2.2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)

          .3  ขั้นตรวจสอบ ทบทวน และประเมินผล (CHECK)

                   3.1  นิเทศ กำกับ ติดตาม

                   3.2  ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม

          4  ขั้นปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา  (ACT)

4.1   รวบรวมและสรุปรายงานผลโครงการ/กิจกรรมเสนอฝ่ายบริหารทราบ

3. สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what)  “ทำอย่างไร” (how) และ”ทำไม   จึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

          “ทำอะไร” (what)

 โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้ดำเนินการจัดการศึกษากิจกรรมนอกหลักสูตร

กิจกรรมงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทักษะงานอาชีพควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการทักษะงานอาชีพเป็นสิ่งต้องมีการพัฒนาให้เจริญและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้เกิดความก้าวหน้า (Progress) และเติบโตเต็มที่ (Growth) ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานอาชีพจึงดำเนินการดังนี้

1.      กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานงานอาชีพตามกลุ่มสนใจทั้งเรื่องของผลผลิต (Outputs) และผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

2.      กำหนดเป้าหมาย (Targets) และวัตถุประสงค์ (Objectives) ไว้ล่วงหน้า

3.      มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรและกระบวนงานให้สอดคล้องกับความประหยัด(Economy) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

              “ทำอย่างไร” (how)

1.      วางแผน กำหนดทิศทางโดยรวมว่าจะทำอะไร อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของการวาง

ยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา (SWOT Analysis) หรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของสถานศึกษา และสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในด้านต่าง ๆ

2.      กำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้ทำการ   

ตกลงจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ” (11 งานอาชีพ) เริ่มดำเนินการสำรวจ เพื่อหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยกำหนดความชัดเจนของเป้าหมายทั้งในเชิง ปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place)

3.      วัดและตรวจสอบผลการดำเนินงาน เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายเทอม หรือรายปีเป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้าและผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร

นอกจากนี้ทางโรงเรียนจัดให้มีคณะบุคคลเพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานของ “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ 11 งานอาชีพ” ที่สถานศึกษากำหนด

  

4.  การให้รางวัลตอบแทน หลังจากที่ได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารต้องมีการให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงาน นอกจากนี้อาจจะมีการให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการ บางประการเพื่อให้การปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

                   การศึกษาเป็นการสร้างและหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติเป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านต่าง ๆ กระบวนการจัดการเรียนการสอนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันให้กระบวนการบรรลุเป้าหมาย

 โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เป็ดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บริบทของสถานศึกษาเป็นชุมชนที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สถานภาพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ครอบครัวยากจน มีปัญหาครอบครัว รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้นการจัดการศึกษาด้านงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษางานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง และเป็นพื้นฐานในการเลือกศึกษาต่อและการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตนักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้จัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ


ผลจากการปฏิบัติ

  ??ผลจากการดำเนินงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ผลจากการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามองค์ประกอบข้อกำหนดของการพัฒนาเชิงระบบ คิดเป็นร้อยละ 98.16

งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ คือ โครงการที่ทางโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ดำเนินการจัดทำเพื่อส่งเสริมพัฒนา แก้ไข นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้นำการพัฒนาเชิงระบบมาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ดังนี้ ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]