สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประชานิเวศน์
โรงเรียนประชานิเวศน์
กระบวนการพัฒนา

ที่มาและความจำเป็นของปัญหา

การจัดการองค์กรเพื่อให้ประสบความสำเร็จสูงสุดจำเป็นต้องอาศัยแนวคิด ทฤษฎีในการบริหารจัดการ และการพัฒนาองค์กรมาประยุกต์ใช้ โดยนำเอาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้สามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายสูงสุด โดย ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 ในหมวดที่ 6 ที่ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ได้กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกสังกัดต้องดำเนินการให้มี ระบบการประกันคุณภาพภายในตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 และต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากสำนักรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) (สมศ.) อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีจากข้อกำหนดดังกล่าว ส่งผลให้สถานศึกษาทุกแห่งต่างตระหนักและเร่งปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณภาพ มาตรฐานและประกันคุณภาพภายนอกจาก สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) นอกจากนี้สถานศึกษาทุกแห่งยังได้มีการปรับปรุง พัฒนาองค์กรของตนเองให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับสถานศึกษาของตนเอง

โรงเรียนประชานิเวศน์ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเชิงรุก มีผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ โรงเรียนมีผลการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 9 ปีต่อเนื่อง ผลการทดสอบระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าระดับชาติทั้ง 2 ด้านมาทุกปีการศึกษา ผลการทดสอบการอ่าน Reading Test (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ยนทั้ง 2 ด้านอยู่ในระดับดีมาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน มีผลการทดสอบด้วยข้อสอบมาตรฐานกลางของนักเรียนในหลักสูตรห้องเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) มีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สูงทุกระดับชั้น ส่วนค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบภายในโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนมีผลการประกวด แข่งขันความสามารถด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม ระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับสังกัด จึงได้รับความนิยมจากผู้ปกครองทุกระดับ ทำให้มีสถิตินักเรียนสมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าเรียนจำนวนมาก และมีจำนวนนักเรียนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

จากผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) (สมศ.) รอบ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2563 ของโรงเรียนประชานิเวศน์ โรงเรียนผ่านการประเมิน มีผลการประเมินมาตรฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีข้อเสนอแนะที่โรงเรียนนำมาพิจารณากำหนดเป็นจุดพัฒนาในปีการศึกษา 2563 เพื่อใช้การมีส่วนร่วมในการดำเนินกระบวนการพัฒนาตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้สามารถตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของหน่วยงานงานต้นสังกัด ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมทั่วไป ในฐานะโรงเรียนที่จัดการศึกษาได้ประสบผลสำเร็จในระดับแนวหน้าของกรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาระบบการจัดการศึกษา จะต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จากที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนประชานิเวศน์ เป็นโรงเรียนที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหาร จัดการที่ได้มาตรฐาน มีปัจจัยเกื้อหนุนเอื้ออำนวยดีมาก มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน อันได้แก่ มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็ง ผู้ปกครองมีความเอาใจใส่ต่อการศึกษาของบุตรหลานและให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับดีมาก ผู้บริหารและครูมีความเข้มแข็ง ขยัน ทุ่มเท เสียสละและอดทน มีอุดมการณ์ในการประกอบวิชาชีพครูที่เข้มแข็งมาก ความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่ในระดับดีมาก จึงนับว่าโรงเรียนประชานิเวศน์มีศักยภาพในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพระดับแนวหน้าและ      มีความพร้อมในทุก ๆ จึงมีความโดดเด่นน่าสนใจ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจและได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต จตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาต่อยอดการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ด้วยระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาใน 7 องค์ประกอบ ตาม เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA ) ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ด้วยรูปแบบ PRACHANIWET 3Ps MODEL

 

เป้าหมายของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.       เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์

2.       เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์

3.       เพื่อสร้างคู่มือการปฏิบัติงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์และตรวจสอบ รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์

กระบวนการพัฒนา

1.ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการสู่ความ เป็นเลิศ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์

ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย และนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ถึงองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียน ประชานิเวศน์ สำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

2.สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ PRACHANIWET 3Ps MODEL

3. สร้างคู่มือการปฏิบัติงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์และตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ ตามภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในโรงเรียน หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมี การวางแผนกลยุทธ์อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก และที่สำคัญต้องมีการนำกล ยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีการติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ภารกิจหลักของสถานศึกษาด้านงานวิชาการ ประกอบด้วย

        3.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง การวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำ

หลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยยึดหลักสูตรสถานศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ นิเทศการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

        3.2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้หมายถึง การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน

        3.3 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้หมายถึง การสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู๎ทั้งภายใน และ ภายนอกในการจัดการเรียนรู้รวมทั้งติดตามประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้

        3.4 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หมายถึง การส่งเสริม ให้ครู ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม รวมทั้งจัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการใช้งาน

        3.5 การนิเทศการศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ความรู้ แก่ครูในการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้

        3.6 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง การสร้างความตระหนักถึง ความสำคัญในการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้

        3.7 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา หมายถึง การวางแผนพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา การปรับปรุง พัฒนา ติดตาม และประเมินผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำสรุป รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา

        3.8 การแนะแนวการศึกษา หมายถึง จัดทำแผนงานโครงการแนะแนวการศึกษา ดำเนินการแนะแนวการศึกษา โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการแนะแนวเพื่อศึกษาต่อ ติดตามและ ประเมินผลการแนะแนว

        3.9 การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน หมายถึง การกำหนด แนวทางใน การปฏิบัติการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรีย

4. จัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือการปฏิบัติงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ และการนำไปใช้

5. จัดกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูรุ่นพี่และครูรุ่นน้อง จนเกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งในการเรียนรู้ร่วมกัน

6.ครูทุกคนจัดทำสรุปรายงานผลการนำคู่มือไปใช้ตลอด 1 ปีการศึกษา

7. ฝ่ายบริหารวิชาการ จัดทำสรุปรายงานผลการใช้รูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์

 

 

 

กรอบแนวคิดของแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประชานิเวศน์

ปีกาสรศึกษา 2563

 

แผนภาพที่ 1: แสดงกรอบความคิดในการศึกษา

จากกรอบแนวคิด รูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ PRACHANIWET 3 Ps MODEL มีรายละเอียด ดังนี้

1. INPUT ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ฃ

    4.1.1 PLANNING QUALITY หมายถึง แผนงานคุณภาพ

    4.1.2 RESEARCH หมายถึง การวิจัยเพื่อพัฒนางาน 

   4.1.3 ACTIVE LEARNING หมายถึง การเรียนรู้เชิงรุก

   4.1.4 CURRICULUM & OURSE DESIGN หมายถึง หลักสูตรและการออกแบบหลักสูตร

   4.1.5 HUMAN RESOURCES การบริหารทรัพยากรบุคคล

   4.1.6 ASSIGNMENT OF STAFF หมายถึง การมอบหมายและการจัดวางตัวบุคคล

         2. PROCESS กระบวนการ

             4.2.1 PARTICIPATION การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

   4.2.2 PROCESS MANAGEMENT หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการ

   4.2.3 PUBLIC ASSESSMENT หมายถึง การประเมินสาธารณะ

3. OUTPUT ผลผลิต

   4.3.1 NETWORK หมายถึง การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา

   4.3.2 INNOVATION หมาายถึง นวัตกรรมทางการศึกษา

   4.3.3 WELL-ROUNDED STUDENTS หมายถึง ความรอบรู้ของผู้เรียน

   4.3.4 EXCELLENCE หมายถึง ความเป็นเลิศ

   4.3.5 TOP-NOTCH EDUCATION หมายถึง การศึกษาระดับแนวหน้า


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

1.       ด้านผลลัพธ์ ปัญหาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ สำนักงานเขต

จตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้านผลลัพธ์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผู้บริหารมีการปรับปรุงด้านผลผลิตขององค์กร ผู้บริหารมีการปรับปรุงในด้านการกำกับดูแลองค์กร ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2.       ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์

สำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ได้สรุปผลการพัฒนางานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กร แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้

2.1 ด้านการนำองค์กรมีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.1.1 ผู้บริหารควรมีความสามารถในการดำเนินงานในสถานศึกษาให้มีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ

        2.1.2 ผู้บริหารควรมีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

        2.1.3 ผู้บริหารควรมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำขององค์กร

2.2 ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.2.1 ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียน

        2.2.2 ผู้บริหารควรศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ โอกาส และอุปสรรค

        2.2.3 ผู้บริหารควรมีวิธีการในการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ

2.3 ด้านการมุ่งเน้นลูกค้ามีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.3.1 ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา

        2.3.2 ผู้บริหารควรสร้างความผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อความสำเร็จ

        2.3.3 ผู้บริหารควรมีการดำเนินงานในการบริหารงานในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเต็มที่

2.4 ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.4.1 ผู้บริหารควรมีการปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศและสินทรัพย์ทางความรู้อย่างต่อเนื่อง

        2.4.2 ผู้บริหารควรดำเนินงานในการเลือกรวบรวมวิเคราะห์ในภารกิจที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการสถานศึกษา

        2.4.3 ผู้บริหารควรมีการบริหารงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุนองค์กรให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2.5 ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรมีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.5.1 ผู้บริหารควรมีการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรและในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากร

        2.5.2 ผู้บริหารควรจัดการและพัฒนาบุคลากรเพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้อย่างให้เต็มความสามารถ

        2.5.3 ผู้บริหารควรมีวิธีการสร้างความผูกพันในองค์กร

2.6 ด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติการ มีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.6.1 ผู้บริหารควรมีการออกแบบจัดการสถานศึกษาของผู้บริหาร

        2.6.2 ผู้บริหารควรมีวิธีการดำเนินงานทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

        2.6.3 ผู้บริหารควรมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานและผลการดำเนินงาน

2.7 ด้านผลลัพธ์ มีแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้

        2.7.1 ผู้บริหารควรให้มีการปรับปรุงในด้านการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        2.7.2 ผู้บริหารควรให้มีการประเมินผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

2.7.3         ผู้บริหารควรดำเนินการปรับปรุงในด้านกระบวนการขององค์กร

3.       ผลการหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประชานิเวศน์ พบว่า

ควร ให้ความสำคัญกับการจัดการและพัฒนาบุคลากร เพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษามาใช้ อย่างเต็มที่และมีการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของโรงเรียน

4.       การจัดบุคลากรลงตามฝ่ายงานต่างๆตรงความสามารถและความถนัด ใช้ผลการประเมินผลการ

ปฏิบัติงาน ของบุคลากรมาพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรครู ซึ่งการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรและในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากร เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูผู้ปฏิบัติงานสอน

5.  ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการสร้างความสำนึกคุณภาพและผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร ปลูกฝังและ สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรตระหนักในหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อองค์กร และผลที่จะเกิดต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธนากร อาทะเดช (2551) ได้ ศึกษาเรื่อง คุณลักษณะสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและการจัดการศึกษา 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อ คุณลักษณะสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จเรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ปัจจัยพฤติกรรมการสอนของ ครูบรรยากาศของโรงเรียน

6. คุณภาพของแผนกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาและความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อโรงเรียน น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทางการบริหารและการจัดการศึกษาจำนวน 3 ปัจจัย ที่ได้จากการคัดเลือกปัจจัยที่ดีที่สามารถนำมาใช้พยากรณ์คุณลักษณะสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เรียงลำดับ อิทธิพลจากมากไปน้อยได้แก่ 1) ปัจจัยพฤติกรรมการสอนของครู 2) คุณภาพของแผนกลยุทธ์ และ 3) บรรยากาศของโรงเรียน และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ (2547) เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่พบว่า ยุทธศาสตร์การดำเนินงานสู่ผลสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์การมอบงาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ยุทธศาสตร์การ กำกับติดตามงาน ยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากร ยุทธศาสตร์การประสานงาน ยุทธศาสตร์การบูรณาการ และยุทธศาสตร์การบริหารที่เน้นคุณภาพทั้งองค์กร และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ มยุรี สมใจ (2551) ได้ศึกษาเรื่อง การบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติกลุ่มโรงเรียนปง 1     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2 พบว่า ภาพรวมของการบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์มาตรฐานชาติกลุ่ม โรงเรียนปง 1 อำเภอปง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2 พบว่างานวิชาการทั้ง 5 ขอบข่าย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา     4) การนิเทศการศึกษา 5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานชาติ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนได้มีการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์ มาตรฐานชาติทั้ง 4 ด้าน คือการวางแผน การจัดองค์การเพื่อปฏิบัติตามแผน การนำ การอำนวยการ และการควบคุม กำกับ ดูแล พบว่ามีการนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการทุกกิจกรรม

7. ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ได้รับรางวัลด้านวิชาการ กิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้โรงเรียนได้รับการยอมรับ และความนิยมสูงขึ้น (รายละเอียดดังภาคผนวก)

 

การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

      โรงเรียนประชานิเวศน์ ได้นำเสนอรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) PRACHANIWET 3Ps MODEL สู่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.       จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อเป็นสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการของโรงเรียน

2.       รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรับทราบ เสนอแนะเพื่อประบปรุงให้มีความสมบูรณ์ ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชน

3.       ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซด์ของโรงเรียน ในรูปแบบไฟล์และ QR Code

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           ของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษาศาสนาและ              

           วัฒนธรรม สกศ.

มยุรี สมใจ. (2551). การบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติกลุ่มโรงเรียนปง 1 สำนักงาน

           เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มณเฑียร กองเงิน. (2548). ภาวะผู้นำและความสามารถที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา

           ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษา         

           ขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.

           ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี บัณฑิต (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนวดี จันทร์น้ำใส (2552).ปัจจัยที่มีผลต่อการต่อต้านเปลี่ยนแปลงในองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนใน

           กรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์สาขาวิชาการจัดการ:กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศานิตย์ เชยชุ่ม (2553). แนวทางการบริหารเพื่อความเป็นเลิศ ของสถานศึกษาเอกชน.มหาวิทยาลัยศิลปากร