สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเพาะเห็ด@แบนโด
โรงเรียนบ้านแบนชะโด(เสียง วิฑูรชาติอุปถัมภ์)
กระบวนการพัฒนา


          ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          นักเรียนรู้วิธีการเพาะเห็ด และฝึกประสบการณ์จริงเพื่อสร้างรายได้และนำมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง                             

          วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          โรงเรียนและผู้ปกครองร่วมมือสอนวิธีการเพาะเห็ด (เปิดวิดีโอการเพาะเห็ดให้ดู)

          เป้าหมาย

          ตัวชี้วัตเชิงปริมาณ นักเรียนทั้ง 125  คน ได้รับการเพาะเห็ด และสามารถนำเห็ดที่ได้จากการเพาะปลูกสร้างนำมาสร้างรายได้และนำมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง  

          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ  นักเรียนสามารถรู้วิธีการเพาะเห็ด และฝึกประสบการณ์จริงเพื่อสร้างรายได้และนำมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง 

ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา FlowChart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ขั้นที่ 1  ส่งเสริมการทำการเกษตรในโรงเรียน

ขั้นที่ 2  ส่งเสริมให้ผู้ปกครองพานักเรียนเพาะเห็ดที่บ้าน และในแหล่งชุมชน                       

ขั้นที่ 3  ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในการใช้ชีวิต

        ขั้นที่ 4  ส่งเสริมการเรียนรู้ในการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

        ขั้นที่ 5 ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำเห็ดมาสร้างรายได้และสามารถมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง     

    


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินการ

1. นักเรียนนักเรียนทั้ง 125  คน ได้รับการเพาะเห็ด และสามารถนำเห็ดที่ได้จากการเพาะปลูกสร้างนำมาสร้างรายได้และนำมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง คิดเป็น ร้อยละ 100

          2.  นักเรียน ได้เรียนรู้ระบบการเพาะเห็ด การดูแล โรงเพาะเห็ดด้วยตนเองในสภาพจริงและเพื่อเศรษฐกิจของครอบครัว

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อโรงเรียนอย่างไร

           นักเรียนมีการใช้การเพาะปลูกเห็ดเป็นโดยยึดตามหลักเกษตรทฤษฏีใหม่รวมไปถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทำให้ตระหนักถึงความอยู่รอดได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณภาพของนักเรียนบนพื้นฐานแห่งความจริง ตามธรรมชาติของโรงเรียนและชุมชนดังนั้น โรงเรียนบ้านแบนชะโดจึงได้จัดทำ โรงเพาะเห็ด@แบนโด  ขึ้น เป็นการผสมผสานระหว่าง การเกษตรทฤษฏีใหม่และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เข้าด้วยกัน โดยใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทั้งต่อนักเรียน คณะครู และชุมชน ตลอดจนสามารถดำเนินการให้เป็นการเรียนรู้อย่างยั้งยืนและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชุมชนต่อไป

          โดยที่นักเรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ด  การดูแลและการบำรุงอีกทั้งการเก็บผลผลิตจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้  พร้อมทั้งได้เรียนรู้การเพาะเห็ดทำให้นักเรียนมีความสุข  เกิดการเรียนรู้และบูรณาการด้านวิชาต่างๆ และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  

บทเรียนที่ได้รับ

  การเพาะเห็ดสามารถใช้ประกอบอาหารในโรงเรียนอย่างเพียงพอ และยังมีเหลือสามารถนำไปจำหน่ายในชุมชนเป็นการฝึกให้นักเรียนมีรายได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้บูรณาการของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยความสำเร็จ

          1.นักเรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ด  การดูแลและการบำรุงอีกทั้งการเก็บผลผลิตจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้  พร้อมทั้งได้เรียนรู้การเพาะเห็ดทำให้นักเรียนมีความสุข  เกิดการเรียนรู้และบูรณาการด้านวิชาต่างๆ และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

          2. มีกระบวนการติดตามที่ดี มีการประเมินผลการพัฒนานักเรียนเป็นระยะ และสะท้อนผลการพัฒนาให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ และนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถของนักเรียนได้ตรงจุด 3. ครูมีการขยายผลของการฝึกไปสู่การประกวดแข่งขันความสามารถนักเรียน และมีการเผยแพร่ความรู้และแนวคิดในการฝึกนักเรียนแก่เพื่อนครู เพื่อนำไปฝึกนักเรียนในระดับชั้นอื่นได้เพิ่มมากขึ้น