สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการ เศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด)
กระบวนการพัฒนา

       "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอด และต่อมารัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทศศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)  พ.ศ. 2545 มาตรา 6  กำหนดให้การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาครไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว โรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด) จึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดการของสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียน รวมทั้งบุคลากรเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามบริบทของสถานศึกษาในทุกระดับอย่างประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเกิดการปรับเปลี่ยนการบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

2.วัตถุประสงค์

        1). เพื่อดำเนินงานของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษา

     2). เพื่อปลูกฝังและสรา้งคุณลักษณะนิสัยการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดแก่ผู้เรียนและบุคลากร

     3). เพื่อพัฒนาสถานศึกษา ผู้เรียน บุคลากร ให้มีความสมบูรณ์ให้ครบทุกด้านให้สามารถอยู่ในสังคมที่พัฒนาปอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสมถูกต้องและปลอดภัย

3. การดำเนินงาน

   3.1  ขันวางแผน

            3.1.1    ประชุมคณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นบานและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการและจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

            3.1.2  แต่งตั้งคณะกรรมดำเนินโครงการ

            3.1.3  ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ

            3.1.4  กำหนดกิจกรรมและขั้นตอนการปฎิบัติงาน  โดยโครงการมีกิจกรรมทั้งหมด 9 กิจกรรม  ดังนี้

                     1).   กิจกรรมโรงเรียนพอเพียง

                      2).   กิจกรรมเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

                      3).   กิจกรรมเศรษฐีน้อย

                      4).   กิจกรรมส่งเสริมอาชีพนักเรียนตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง

                      5).   กิจกรรมประหยัดน้ำประหยัดไฟ

                      6).   กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

                      7).   กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด

                      8).   กิจกรรมแนะแนว

                      9).   กิจกรรมทุนการศึกษา

           3.1.5  จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน

           3.1.6  ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ผู้เรียนทราบและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจร่วมกัน

           3.1.7  ประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม(Context  Evaluation)เพื่อกำหนดหลักการและเหตุผล สำหรับพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการ การชี้ประเด็นปัญหาตลอดจนการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ

            3.1.8  ประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ โดยใช้กระบวนการ 4 M  เป้นองค์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน คือ ด้านบุคลากร(Man)  ด้านงบประมาณ (Money)  ด้านวัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือและสถานที่(Material/Machine)  และ ด้านวิธีการบริหารจัดการ (Mengenent)

4.  ขั้นปฏิบัติงาน

      4.1  ประชุมคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายและรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เพื่อ ดำเนินงานตามกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม ให้ครอบคลุมภาระงานที่กำหนด

      4.2  ดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามปฏิทินปฏิบัติงาน

        4.3  เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา   ๕ ส่วน

            ๑.  กรอบแนวคิด ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

            ๒.  คุณลักษณะ   เศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ  โดยเน้นทางสายกลาง       และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

            ๓.  คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้

                    ๑). ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

                    ๒). ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล

                    ๓). การมีภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง

                       ๔) .เงื่อนไข ๒ เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม       

                          ๑.  เงื่อนไขความรู้   คือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการวางแผน       

                          ๒.  เงื่อนไขคุณธรรม  คือ เสริมสร้างให้มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์

                      ๕) แนวทางปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความรู้เทคโนโลยีกระบวนการสร้างความรู้ (Knowledge)  คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                    ด้านเศรษฐกิจ   ๑. รู้จักควบคุมใช้จ่ายของตนเอง ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล, ใช้จ่ายพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างประหยัด  ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ฯลฯ 

                                         ๒. รู้จักออมเงิน เรียนรู้ระบบการฝากเงิน เรียนรู้ระบบออมเงิน เรียนรู้ระบบสหกรณ์  

                                         ๓. รู้จักสร้างรายได้หรืออาชีพ สร้างรายได้หรืออาชีพสอดคล้องกับความต้องการ สอดคล้องกับสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรท้องถิ่น ฯลฯ

                   ด้านสังคม  รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ ปลูกฝังความสามัคคี ความเสียสละ เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

                   ด้านสิ่งแวดล้อม  สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ฯลฯ

                   ด้านวัฒนธรรม   สืบสานวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด  ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น ดนตรีไทยและเพลงไทย โบราณสถานและโบราณวัตถุ

                   ด้านศาสนา  ส่งเสริมศาสนา ปลูกฝังจิตสำนึกความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

                แนวการจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ

                ๑.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สามารถแนวแนวปรัชญามาฝึกเขียนเรียงความ, คัดลายมือพระราชดำรัสเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                ๒.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ฝึกการค้าขาย ฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ บัญชีต้นทุน กำไร การออมเงิน

                ๓.  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความพอเพียงในการใช้ทรัพยากร การสร้างสมดุลของธรรมชาติ             

                ๔.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   การช่วยเหลือชุมชน  คุณธรรม ๘ ประการของกระทรวงศึกษาธิการ การสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ท้องถิ่น                

                ๕.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การสร้างจิตสำนึกการใช้เทคโนโลยีอย่างประหยัด การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ นำไปจำหน่าย

                ๖.  กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากเศษวัสดุ                

                ๗.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองด้วยการออกกำลังกาย  การเล่นการละเล่นแบบไทย ๆ                

                ๘.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับความพอเพียง  การเขียนเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์ (Public Speed) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

              การจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังสามารถจัดในลักษณะบูรณาการ หรือทำโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย  เช่น โครงงานค้าขายได้ความรู้สู่ความพอเพียง   โดยฝึกการค้าขายสินค้าและบันทึกรายรับรายจ่าย ต้นทุนกำไร และบูรณาการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ   ซึ่งนักเรียนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

      4.4 ประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ สำหรับทำการแก้ไข โดยการประเมินการดำเนินด้านกระบวนการ ด้านการบริหารโครงการตามวงจรการทำงานการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม

      4.5  สรุปผลการดำเนินระหว่างกิจกรรม รวมทั้งหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อพัฒนาการดำเนินของแต่ละกิจกรรมตามโครงการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

5.  ขั้นตรวจสอบงาน

      5.1  ประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาพอเพียง  ของกระทรวงศึกษาธิการ  5  ด้าน

      5.2  นิเทศ ติดตามและตรวจสอบวิธีการปฏิบัติกิจกรรม

      5.3  ตรวจสอบความร่วมมือในการปฏิบัติงานของคณะทำงานและปัญหาระหว่างการปฏิบัติงาน

      5.4  ประเมินหลังสิ้นสุกโครงการ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทั้ง 9 กิจกรรม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณาในประเด้นของการดำเนินกิจกรรมต่อไป

6.  ขั้นปรับปรุงงาน

      6.1  สรุปข้อมูล จุดเด่น จุดด้อยของกิจกรรมตามโครงการ

      6.2  นำข้อมูลจากการประเมินมาหาแนวทางปรับแผนปฏิบัติงาน ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานให้มีคุณภาพต่อไป

      6.3  สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ
7.  ระยะเวลาดำเนินงาน

           ตลอดปีการศึกษา





ผลจากการปฏิบัติ

     โรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด)  มีแนวการทางการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่บูรณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องครบทุกกระบวนการ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์เป็นไปตามที่สถานศึกษาได้กำหนดจะตั้งเป้าหมายไว้  โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักการอดออม  การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองในแต่ละวัน   รู้จักการประมาณตนเองและยอมรับความเป็นตัวเองพอใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองมี  มีสติ สมาธิ ปัญญา รู้จักการใช้เหตุผลมาประกอบในการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรู้จักใช้เหตุผล สติ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัยของตนเอง  รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างอย่างคุ้มค่า รู้จักการให้อภัยและการทำความดีมีจิตจิตอาสาต่อผู้อื่น มีจิตสำนึกและรักความเป็นไทย รู้จักการยอมรับและอยู่ร่วมกับผู้อื่นปฏิบัติตนตามหลักการประชาธิปไตยได้อย่างเต็มใจ   ครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี รู้จักและเข้าใจผู้เรียนมากยิ่งขึ้น  มีแนวทางในการดูแลและช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างหลากหลายและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอย่างมั่นใจ   ตลอดจนครูผู้สอนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น  ผู้ปกครอง ชุมชนเกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างดี ส่งผลให้สถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อซึ่งเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียนให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังส่งผลให้สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ  นักเรียนโรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด) สามารถครองตนได้อย่างถูกต้องมีความประหยัดอดออม  ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต  รู้จักเลือกรับข่าวสารที่ถูกต้องเหมาะสม ในยุคที่มีสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมีความเจริญก้าวไกลไปอย่างรวดเร็ว มีสื่อเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้าถึงง่ายและเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาด โดยใช้แนวการคิดและการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ควบคู่ไปกับ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขความรู้ มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด เป็นผู้มีมารยาทที่ดี เป็นมิตรกับทุกคน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของสถานศึกษา คือ ธาตุทองอนุรักษ์ไทย และเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพทางกายทางใจและการมีจิตสังคมที่ดี