สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการศาสตร์พระราชา (ผัก ปลูก เด็ก)
โรงเรียนบ้านเจียรดับ
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านเจียรดับได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการศาสตร์พระราชาร่วมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ PLC (Professional Learning community) ตามหลัก ทำตามลำดับขั้น และนำการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ให้ความรู้และฝึกให้นักเรียนเกี่ยวกับการพึงพาตนเอง เช่น กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวในแปลงเกษตร กิจกรรมปลูกผักสวนครัวในกระถาง กิจกรรมศิลปะกับเด็ก กิจกรรมปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ ข้าวนอกนา การผลิตน้ำหมักชีวภาพกิจกรรมเลี้ยงปลาในกระชัง กิจกรรมเพาะเห็ดฟาง เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างกระบวนการวางแผน กระบวนการวิทยาศาสตร์ กระบวนการเทคโนโลยี การทำโครงงาน การทำงานเป็นทีม การฝึกคิดนอกกรอบ การจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การสร้างภาวะผู้นำ ความเสียสละในการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยยืดหลักไม่ติดตำราซึ่งจะมีประโยชน์มากกับการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียนทางโครงการคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการจุดประกายความคิดของเด็กๆ ผู้ปกครองให้หันมาสนใจ การพึ่งตนเองแบบง่ายๆ ตามหลักพออยู่พอกิน การทำงานเป็นขั้นตอนตามกระบวนการเทคโนโลยี ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้ใช้ กระบวนการวางแผน กระบวนการวิทยาศาสตร์ กระบวนการเทคโนโลยี การทำโครงงาน การทำงานเป็นทีม การฝึกคิดนอกกรอบ การจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ ความเสียสละในการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการเก็บข้อมูล บันทึกภาพ สรุปกิจกรรมต่างๆ และทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมการรับประทานผักของเด็กชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 เพื่อประเมินผล และหาข้อเสนอแนะ ในการทำโครงการและกิจกรรมครั้งต่อไป ซึ่งจะมีประโยชน์มาก กับการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียนทางโครงการคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการจุดประกายความคิดของเด็กๆ ผู้ปกครอง ให้หันมาสนใจ การพึ่งตนเอง แบบง่ายๆ ตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียง การทำงานเป็นขั้นตอนตามกระบวนการเทคโนโลยี ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ป.1 – ป.6 จำนวน  648 คน   ได้นำความรู้ตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้


ผลจากการปฏิบัติ

1. บริเวณโรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

          2. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีบรรยากาศดีขึ้น เอื้อประโยชน์ต่อการทำกิจกรรม

          3. มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถพึ่งพาตนเองตามศาสตร์พระราชาในโรงเรียน

         4. ครูสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

         5. นักเรียนเกิดทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ครูจัดขึ้นให้เหมาะสมกับนักเรียน