สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นวัตกรรม 3Rs4CS พัฒนาทักษะการเรียนผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
กระบวนการพัฒนา

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรม 3Rs4CS พัฒนาทักษะการเรียนผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้ประยุกต์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วุฒิภาวะของนักเรียน และสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน จึงสามารถกำหนดขั้นตอนการจัดการจัดกิจกรรม ดังนี้

              1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจ  ผู้เรียนจะต้องเลือกเรื่องที่สนใจ โดยครูกระตุ้นผู้เรียนคิดเรื่องที่จะทำด้วยความพอใจ หัวข้อของกิจกรรมอาจได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้ อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียน

              2 เตรียมไปหาแหล่งเรียนรู้  จัดเตรียมหรือชี้แนะแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องใช้ค้นคว้าหาคำตอบจากเรื่องที่เรียนสนใจและสงสัย ได้แก่ Internet  ห้องสมุด หนังสือต่าง ๆ

              3 การวางแผน  เมื่อกำหนดแนวทางกว้าง ๆ แล้ว  นำแนวทางนั้นมาวางแผนในการทำงานว่าจะทำอะไรก่อนหล้ง โดยการสร้างแผนที่ความคิด แล้วนำมาจัดทำเค้าโครงของกิจกรรม กำหนดเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อกิจกรรม ชื่อผู้จัดทำกิจกรรม  ระยะเวลาดำเนินงาน เหตุผลที่จัดทำ วัตถุประสงค์ของการจัดทำ ขั้นตอนการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ และแหล่งความรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

              4  ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยอยู่ในความดูแลและแนะนำของครูผู้สอน ผู้เรียนปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ มีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระยะว่าทำอะไร ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคได้แก้ไขอย่างไร ผู้เรียนควรฝึกทักษะจากกิจกรรม และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ตามความสนใจ เกิดการเรียนรู้ตามลำดับขั้นโดยการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ได้สนุกเพลิดเพลินกับการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีความสุข เกิดความภูมิใจในผลงานที่ปรากฎ และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

              5 การสรุปการรายงานผลจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบแนวคิด วิธีดำเนินงาน ผลที่ได้รับ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม

              6 การนำเสนอผลการดำเนินงานทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ โดยเน้นความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ นำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การสาธิต

 

             กิจกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรม 3Rs4CS พัฒนาทักษะการเรียนผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6   ดังนี้

 

          3 รู้ หรือ 3Rs

- รู้ภาษา  (Literacy)
          - รู้คณิต (Numeracy
          - รู้ ICT  (ICT Literacy)

 

             4 การหรือ 4Cs ได้แก่
                  - การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) 
                  - การสื่อสาร (Communication) 
                  - การทำงานร่วมกัน (
Collaboration) 
                  - การสร้างสรรค์ (
Creativity) 

 

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  

ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม ครูชิณทรัพย์ มีศิริ

             วัตถุประสงค์
                  1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสำนวนไทยและเกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ความเป็นไทย

                    3. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความเป็นมาของวรรณคดีไทย
                   
4. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของคำไทย 7 ชนิด
                   
5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ชนิดของคำในชีวิตประจำวันได้

              สมรรถนะสำคัญ
             1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

              ฐานกิจกรรม ฐาน "รู้อ่าน รู้เขียน รู้รักษ์ภาษา"

ป.4 ฐาน ฉันคนนี้อยู่วรรณคดีเรื่องไหน ( จับคู่ตัวละครกับวรรณคดี)

ป.5 ฐาน คำไทยมาตรฐาน คำขานภาษาถิ่น ( ลูกเต๋าตัวอักษร)

ป.6/ ฐาน วิเคราะห์คำตามชนิด ( บัตรค่า 7 ชนิด)

ป.6/2 ฐาน บอกใบ้ทายสำนวน ( ทายสำนวนไทย)

 

             2.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม ครูกัญพัชร์ คุ้มใบ

          วัตถุประสงค์
                    1. เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนคำศัพท์ที่เรียนจากห้องเรียน

                    2. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ

                    3. เพื่อบูรณาการภาษาอังกฤษเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

                    4. เพื่อให้นักเรียนสามารถสื่อสารและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

           สมรรถนะสำคัญ
                    1. ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

              ฐานกิจกรรม  ฐาน "รู้ศัพท์ รู้คำ รู้วัฒนธรรมภาษา"

ป.4 Station 1 Between way Game

ป.5 Station Traveling at the Asian

ป.6/1 Station Story telling

ป.6/2 Station Giving directions

3. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม ครูมัลลิกา อาษาสร้อย

 

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดและมีความคิดสร้างสรรค์ในทางคณิตศาสตร์

3. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

สมรรถนะสำคัญ

          1. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
           ฐานกิจกรรม
ฐาน "รู้คณิต รู้คิดสร้างสรรค์"

ป.4 ฐาน ปิ้งปองตัวเลข

ป.5 ฐาน ถอดรหัส

ป.6/1 ฐาน ขยับนับแต้ม (ขยับให้ได้จำนวนมากที่สุด)

ป.6/2 ฐาน ความจุน่ารู้

 

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

          ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม ครูรุ่งนภา ติงสะ

 

          วัตถุประสงค์
                    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการออกแบบสร้างระบบสุริยะจำลอง  ออกแบบสร้างกล้องส่องดาว  ออกแบบสร้างระบบนิเวศจำลองได้

                    2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ในการทดลองการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

                    3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

สมรรถนะสำคัญ
                    1. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

          2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

              ฐานกิจกรรม ฐาน รู้สังเกต รู้ปัญหา รู้ทดลอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม (วิทยาศาสตร์)

ป.4 ฐาน จำลองระบบสุริยะ

ป.5 ฐาน ทดลองเทียนดูดน้ำ

ป.6/1 ฐาน นวัตกรรมโมเดลระบบนิเวศจากวัสดุเหลือใช้

ป.6/2 ฐาน แบบจำลองวัฎจักรการเกิดหิน

 

 

 

5.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม ครูเกสรา ใจอ่อน

 

          วัตถุประสงค์
                    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ Coding การเขียนโปรแกรม และสามารถบูรณาการความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบสร้างแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรม Scratch ได้

                    2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ Coding การเขียนโปรแกรม และสามารถบูรณาการความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch (เกมไล่จับ) ได้

                    3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ Coding การเขียนโปรแกรม และสามารถบูรณาการความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch (Pong Game) ได้

                    4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มากยิ่งขึ้น

 

สมรรถนะสำคัญ
                    1. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

          2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

 

              ฐานกิจกรรม  ฐาน รู้ Coding รู้ ICT (เทคโนโลยี)

ป.4 ฐาน สร้างแอนิเมชั่น ด้วยโปรแกรม Scratch

ป.5 ฐาน สร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch (เกมไล่จับ)

ป.6/1 ฐาน สร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch ( Pong Game )

ป.6/2 ฐาน สร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch ( Pong Ga

 

 

 

             ขั้นตอนการดำเนินงาน

                  1. ประชุมครูและ นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เลือกกิจกรรมน่าสนใจ 

                  2 จัดทำคำสั่งมอบหมาย ครูประจำฐานกิจกรรม

                  4. ครูประจำฐานเตรียมแหล่งเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม

                  4 ดำเนินการจัดกิจกกรม

                  5 การสรุปการรายงานผล


ผลจากการปฏิบัติ

ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ และการปรับตัว ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ดำเนินกิจกรรมได้บรรลุผลตามมาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด มีทักษะการสื่อสารด้วยการพูด การเขียนและรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ ประเภทของคำ สัญลักษณ์ และปฏิบัติตามคำสั่งได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ มีความคิดสร้างสรรค์และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดเป็นระบบ มีทักษะการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสามารถสร้างสร้างชิ้นงานได้  สร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch (Pong Game) มีทักษะการทำงานร่วมกัน แสดงให้เห็นการทำงานเป็นทีมและภาวะความเป็นผู้นำการปรับตัวตามบทบาทและความรับผิดชอบที่หลากหลาย ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ทดลอง เรียนรู้ด้วยตนเองในแต่ละขั้นตอน ออกแบบชิ้นงานด้วยความคิดสร้างสรร์ เช่น การออกแบบภูเขาไฟตามจินตนาการจากดินน้ำมัน การทดลองเรื่องมหัศจรรย์ลาวาปะทุซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทน มีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสุข มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี