สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ) โดยโครงการรักการอ่าน
โรงเรียนวัดหนองแขม(สหราษฎร์บูรณะ)
กระบวนการพัฒนา

                ในการพัฒนาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ) เป็นยุทธสาสตรสำคัญอขงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งผลการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ และพบว่ามีสาเหตุสำคัญมาจากระดับความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสารของผู้เรียนที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้เรียนขาดการฝึกฝนทักษะอย่างเพียงพอ มีผลการอ่านและเขียนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร ให้เพียงพอต่อการเรียนรู้ และสร้างนิสัยรักการอ่านแก่ผู้เรียน

                การพัฒนาความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสารจึงเป็นกระบวนการพัฒนาระดับพื้นฐานที่สำคัญและเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ และการพัฒนาการเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism ที่มีรูปแบบการจัดกิจกรมการเรียรู้แบบ Active Learning ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร เป็นความสามารถพื้นฐานในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้เรียนมีพื้นฐานในการสื่อสารที่ดี ช่วยให้เกิดความชำนาญ มีความรู้กว้างขวางและสามารถค้นคว้าพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และนวัตกรรม ดังนั้นการที่ผู้เรียนจะเป็นผู้มีความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสารที่ดี จึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ครูเป็นผู้จัดกิจกรรมส่งเสริม อีกทั้งยังต้องผสมผสานกับความสนใจของผู้เรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร จึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เล็กจนโต มีความสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพและการศึกษา และเป็นหัวใจสำคัญในการเรียนรู้  โครงการส่งเสริมความสามารถทางภาษา การคิด และการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมชวนน้องอ่าน  กิจกรรมเล่านิทานให้น้องฟัง  กิจกรรมสมุดบันทึกการอ่าน   กิจกรรมฝึกอ่านคำจำขึ้นใจ  กิจกรรมเขียนศัพท์ก่อนกลับบ้าน  กิจกรรมอ่านรับอรุณ  กิจกรรมเขียนคำยามเช้า  กิจกรรมสานสัมพันธ์โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง  กิจกรรมทดสอบการอ่าน  กิจกรรมยอดนักอ่าน  กิจกรรมคลินิคไทรงามแก้ปัญหาการอ่าน กิจกรรมมุมอ่านคิดพิชิตความเป็นเลิศ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนสนใจและได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และได้ฝึกบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้นเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากอ่านมากขึ้น ช่วยทำให้เกิดความแม่นยำในการใช้ภาษาไทยมีทักษะและความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและพัฒนาอาชีพในสังคมยุคอนาคตได้อย่างสมดุลต่อไป

 

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ

                2.1 จุดประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน  รู้จักค้นคว้าหาความรู้  และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

2. เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสารของผู้เรียน

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้ให้เป็นประโยชน์

4. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

5. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ

                2.2 เป้าหมาย

1. นักเรียนโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ) ทุกคน  ได้รับการพัฒนาความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร

2. นักเรียนโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)  ทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

3. นักเรียนโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)  ร้อยละ  80  สามารถพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมได้

 

                3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                3.1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการรวบรวมข้อมูลผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน และผลการทดสอบในระดับต่าง ๆ ทั้งของสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นระหว่างปีการศึกษา 2558 -2560 มาศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและบริบทของบุคลากร สถานศึกษา ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย โดยวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix กำหนดเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของสถานศึกษาและจัดทำแผนงานดำเนินการตามยุทธศาสตร์

                3.2 การวางแผน (P –Plan)

การดำเนินงานโครงการส่งเสริมความสามารถทางภาษา การคิด และการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ ดำเนินการโดยประชุมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยร่วมกันศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทำ SWOT และแผนยุทธศาสตร์ กำหนดแนวทางปฏิบัติงาน ดังนี้

                - ครูและบุคลากรทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างจริงใจในการแก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนา

                - คณะกรรมการอำนวยการประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการทั้ง 4 ฝ่าย และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

                - คณะกรรมการดำเนินการ ให้หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นประธาน ครูในกลุ่มสาระฯเป็นกรรมการและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นกรรมการและเลขานุการ

                - การจัดกิจกรรมประกอบด้วย 4 ฐานการพัฒนา(แนวคิดบัวสี่เหล่า)

                - จัดให้มีการวัด ประเมินผลเชิงประจักษ์เพื่อการพัฒนา ทุกเดือน

                - คณะกรรมการอำนวยการต้องนำผลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และปรับกลยุทธ์ให้บบรรลุเป้าหมาย

                - คณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการเสริมแรงโดยมอบรางวัลพัฒนาการเป็นประจำทุกเดือน

                - รายงานผลการพัฒนาและประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อร่วมกันปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                - รายงานผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษารายภาคเรียน

                3.3 การลงมือปฏิบัติ( Do)

                3.2.1 ประชุมครู ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินการและเป้าหมายหารพัฒนา

                3.3.2 อบรมและพัฒนาครูด้านแนวทาง วิธีการ และเทคนิคการพัฒนาความสามารถทางภาษา การคิด และการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ

                3.3.3 ผลิตสื่อ และจัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในโครงการ

                3.3.4 ดำเนินการกิจกรรมตามแผนงาน ประกอบด้วย

                             - กิจกรรม ชวนน้องอ่าน

                             - กิจกรรมเล่านิทานให้น้องฟัง 

                             - กิจกรรมสานสัมพันธ์โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง 

                             - กิจกรรมสมุดบันทึกการอ่าน 

                             - กิจกรรมอ่านรับอรุณ 

                             - กิจกรรมเขียนคำยามเช้า 

                             - กิจกรรมทดสอบการอ่านการเขียน 

                             - กิจกรรมยอดนักอ่าน 

                             - กิจกรรมคลินิกไทรงามแก้ปัญหาการอ่าน

                             - กิจกรรมฝึกอ่านคำจำขึ้นใจ 

                             - กิจกรรมเขียนศัพท์ก่อนกลับบ้าน 

                             - กิจกรรมอาขยานสร้างใจ

                3.3.5 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนา

                3.3.6 ประเมินผลทักษะการอ่านและเขียน ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านของผู้เรียนทุกวัน เพื่อทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการประเมินทักษะการอ่านและเขียนเพื่อประเมินพัฒนาทางด้านการอ่านและเขียนโดยรายผลพัฒนาการทางด้านการอ่านและเขียนเป็นรายบุคคล

                3.3.7 ส่งเสริมนักเรียนเก่ง และซ่อมเสริมนักเรียนอ่อน ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ

                3.4 การตรวจสอบและประเมินผล ( Check) ดำเนินการกำกับ ติตามตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่องให้เกิดผลการพัฒนาอย่างจริงจัง ดังนี้

                3.4.1 ตรวจสอบและประเมินผลในระหว่างปฏิบัติกิจกรรม โดยการทดสอบและประเมินการอ่าน การเขียนของนักเรียนรายบุคคล ในระหว่างเรียนในแต่ละวันและนำผลที่ได้ไปพัฒนาหรือแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน โดยรองผู้อำนวยการแต่ละฝ่ายจะกำกับดูแลแต่ละฐานการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                3.4.2 ตรวจสอบและประเมินผล โดยการทดสอบและประเมินทักษะการอ่าน การเขียนของนักเรียนเป็นรายเดือน(ทุกสัปดาห์สุดท้ายของเดือน)

                3.4.3 ตรวจสอบและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรม โดยการทดสอบและประเมินทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนเมื่อสิ้นภาคเรียน

                3.4.4 ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม  คณะกรรมการฝ่ายประเมินผลจะดำเนินการประเมินผลโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือต่าง ๆ  เช่น  แบบสอบถาม  แบบสำรวจ  แบบสังเกต  แบบทดสอบการอ่าน ซึ่งประเมินทั้งทางด้านปัจจัยพื้นฐาน  กระบวนการ  และผลผลิต    เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ทำให้ทราบว่า  การดำเนินโครงการ/กิจกรรม  สามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่              

                3.5 การนำไปใช้ (Act)  วิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้โรงเรียนก็จะนำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม หรือทำให้คุณภาพดียิ่งขึ้น  กรณีผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่วางไว้ โรงเรียนจะนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะดำเนินการปรับปรุงอย่างไร เพื่อเป็นการวางแผนพัฒนาหรือแผนปฏิบัติราชการในปีการศึกษาต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

4. ผลการดำเนินการ

จากการดำเนินโครงการรักการอ่านพบว่า  โครงการรักการอ่านมีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  96.63 ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้   กิจกรรมชวนน้องอ่าน  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  93.19  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้   กิจกรรมเล่านิทานให้น้องฟัง  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  95.57 ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมสมุดบันทึกการอ่าน  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  93.12  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมอ่านรับอรุณ  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  94.22  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมทดสอบการอ่าน  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  95.26 ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมยอดนักอ่านมีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  55.37  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมคลินิกไทรงามแก้ปัญหาการอ่าน  มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  95.95  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ กิจกรรมเขียนศัพท์ก่อนกลับบ้าน  ผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  95.23  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม กิจกรรมฝึกอ่านคำจำขึ้นใจ  ผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  93.75  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม   กิจกรรมอ่านรับอรุณ  ผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  95.84  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม   กิจกรรมเขียนคำยามเช้า  ผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ  91.53  ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม  และโรงเรียนมีผลการประเมินความสามารถการอ่านการเขียน  การสื่อสารและการคิดคำนวณ  อยู่ในระดับดีเลิศ  ซึ่งมีคุณภาพระดับยอดเยี่ยม  คิดเป็นร้อยละ  23.40  ระดับดีเลิศ  คิดเป็นร้อยละ  41.80  ระดับดี  คิดเป็นร้อยละ  24.24  ระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ  8.30  และระดับกำลังพัฒนา  คิดเป็นร้อยละ  2.27

 

                5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ ของการพัฒนาด้านการพัฒนาความสามารถทางภาษา การอ่าน การคิด และการสื่อสาร ของนักเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)  คือ เรียนอย่างมีความสุข ย้ำ ซ้ำ ทวน  ทดสอบ  แก้ปัญหา  โดยความร่วมมือของผู้บริหาร  และคณะครู  บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)

                5.1   บทบาทของผู้บริหาร

                ผู้บริหารอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม  ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  อำนวยการทางด้านปัจจัยต่าง ๆ  ทั้งปัจจัยพื้นฐาน  กระบวนการ  และผลผลิต  ผู้บริหารมีจุดเน้นที่ชัดเจน ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ให้คำปรึกษา นิเทศ กำกับและติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

                5.2  บทบาทของครูผู้สอน

                ครูผู้สอนจะใช้เวลาส่วนมากคลุกคลีอยู่กับผู้เรียน ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน แล้วพยายามสังเกตพฤติกรรม ความสนใจในการฝึกอ่านของผู้เรียนแต่ละคน การสอนให้เด็กอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน ครูต้องมีความอดทน ต้องเอาใจใส่ รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการเสริมแรงและสร้างแรงจูงใจอย่างสม่ำเสมอและยุติธรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้แสดงออกตามศักยภาพ เทคนิคสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ เรียน ย้ำ ซ้ำ ทวน ทดสอบ  แก้ปัญหา  โดย

                เรียน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนให้สามารถอ่านออก  เขียนได้  และสื่อสารได้ตามวัย โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ครูจัดทำขึ้น  และหนังสือเล่มเล็กฝึกอ่านคำ  จำขึ้นใจ

                ย้ำ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทั้ง 11 กิจกรรมเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนปกติแบบบูรณาการเข้ากับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  เช่น กิจกรรมอ่านรับอรุณ

                ซ้ำ ให้นักเรียนเรียนรู้คำศัพท์ซ้ำบ่อยๆ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมทดสอบการอ่าน  กิจกรรมยอดนักอ่าน  กิจกรรมชวนน้องอ่าน ในโครงการ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ชวนน้องอ่าน ก กิจกรรมเขียนศัพท์ก่อนกลับบ้าน  กิจกรรมฝึกอ่านคำจำชึ้นใจ

                ทวน ทบทวนคำศัพท์ที่เรียนผ่านมาแล้ว และนำผลที่ได้จากการประเมินผู้เรียนไปปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง หรือดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ส่งเสริมเด็กเก่งให้มีความเป็นเลิศและแก้ไขข้อบกพร่องนักเรียนเรียนอ่อนให้มีศักยภาพสูงขึ้น

                ทดสอบ   ให้นักเรียนทราบสภาวะการอ่านของตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการอ่านของตนเอง  โดยจัดกิจกรรมทดสอบการอ่าน เป็นประจำทุกเดือน

                แก้ปัญหา  ครูวิเคราะห์ผลการอ่านของนักเรียนแล้วนำนักเรียนที่มีผลการอ่านไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้มาดำเนินการพัฒนาการอ่าน  โดยจัดกิจกรรมคลินิคลานไทรแก้ไขปัญหาการอ่าน

                5.3 บทบาทของผู้เรียน

                นักเรียนต้องพยายามคุ้นเคยกับครูผู้สอน และกล้าแสดงออก เห็นความสำคัญของการอ่าน มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยนักเรียนต้องกล้าซักถามครูผู้สอน และฝึกฝนจนเกิดทักษะ มีกระบวนการเรียนรู้สำคัญ คือ เรียน ย้ำ ซ้ำ ทวน  ทดสอบ  แก้ปัญหา โดย  เรียน นักเรียนมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และสนใจในการเรียน ย้ำ นักเรียนฝึกฝนตนเองและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านอย่างสม่ำเสมอ ซ้ำ ทำแบบฝึกหัด ใบงาน หรือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ครูมอบหมาย เพื่อประเมินความรู้ ทวน หมั่นทบทวนการอ่านคำ อ่านประโยค บทความ หรือเรื่องราวต่างๆ ทดสอบ  นักเรียนทดสอบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน  แก้ปัญหา  นักเรียนที่มีผลการประเมินไม่เป็นไปตามเป้าหมายจะเข้ารับการพัฒนาด้านการอ่านผ่านกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้น

 

                6. บทเรียนที่ได้รับ

                จากการดำเนินโครงการส่งเสริมความสามารถทางภาษา การคิด และการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)  ทำให้นักเรียนสามารถอ่านและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นั้นโรงเรียนได้ข้อค้นพบดังนี้

                6.1 ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ไม่เท่ากัน ต้องแก้ปัญหาโดยปรับฐานความรู้ให้ใกล้เคียงกัน ด้วยการทบทวนความรู้เดิมที่ผู้เรียนได้มา

                6.2 การผลิตหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีภาพประกอบที่น่าสนใจ เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้เรียนมากที่สุด และสอนให้ผู้เรียนรู้จักนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                6.3 หลังจากที่ครูมีโอกาสคลุกคลีกับนักเรียนเรียน ทำให้รู้ว่านักเรียนมีพื้นฐานการอ่านไม่เท่ากัน แม้ว่าจะเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้แต่ก็มีวิธีแก้ไขโดย ผู้ที่อ่านได้ช้าให้เอาหนังสือไปฝึกอ่านที่บ้านโดยให้ผู้ปกครองเป็นผู้แนะนำ ผู้ที่อ่านเก่งแนะนำแหล่งค้นคว้าต่อไป

 

                7. การเผยแพร่

                โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)  ได้มีการเผยแพร่ทางเว็บไซด์ของโรงเรียนโรงเรียน  คือ  www.watnongkhaemschool@gmail.com