สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
แนวทางส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม
กระบวนการพัฒนา

ความเป็นมา

          กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต     

ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนวัดไตรรัตนารามได้ตระหนักถึงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการบริหารการศึกษาของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน เมื่อทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้โรงเรียน มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ส่งผลต่อชื่อเสียงในระยะยาว ทำให้ทุกฝ่ายมีความเชื่อมั่น ในการบริหารจัดการศึกษาและศักยภาพของสถานศึกษาว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและจะพัฒนาให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แต่การพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันทางวิชาการกับสถานศึกษาอื่นยังไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ที่โรงเรียนและผู้ปกครอง ชุมชนมีความต้องการ ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนจึงได้เพิ่มแนวทางส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อให้นักเรียนความสามารถแข่งขันทางวิชาการกับสถานศึกษาได้


วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการปฏิบัติ

๑. เพื่อเพิ่มผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) , การสอบวัดความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ ( NT ) , การสอบวัดความสามารถการอ่าน ชั้น ป.๑ ( RT )

๒. เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามศักยภาพในการแข่งขันสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ


เป้าหมาย

               เชิงปริมาณ
           ๑. นักเรียนผ่านการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) สูงกว่าระดับชาติ ร้อยละ ๗๕

           ๒. นักเรียนผ่านการสอบวัดความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ ( NT ) สูงกว่าระดับชาติ ร้อยละ ๗๐

           ๓. นักเรียนผ่านการสอบวัดความสามารถการอ่าน ชั้น ป.๑ ( RT ) สูงกว่าระดับชาติ ร้อยละ ๘๐

           ๔. นักเรียนมีผลการแข่งขันอยู่ในอันดับ ๑ – ๓ ของการแข่งขันทุกประเภท

                เชิงคุณภาพ

๑.      ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) สูงกว่าระดับชาติทั้ง ๔ กลุ่มสาระ 

๒.      ผลการสอบวัดความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ ( NT ) สูงกว่าระดับชาติ

๓.      ผลการสอบวัดความสามารถการอ่าน ชั้น ป.๑ ( RT ) สูงกว่าระดับชาติ

๔.      นักเรียนมีผลการแข่งขันตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด


วิธีการดำเนินกิจกรรมพัฒนา

โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ) ได้นำแนวทางส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยจัดให้มีโครงการ กิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนดังนี้

๑. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          - กิจกรรมภาษาน่ารู้

          - กิจกรรมลายมืองามตามแบบไทย

๒. โครงการส่งเสริมการใช้ห้องสมุด

          - กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด

          - กิจกรรมแนะนำหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ

          - กิจกรรมยอดนักอ่าน

          - กิจกรรมสาระน่ารู้อ่านดูมีรางวัล

          - ห้องสมุดเคลื่อนที่

๓. โครงการโรงเรียนรักการอ่าน

          - กิจกรรมพี่สอนน้องอ่านคล่องเรียนเก่ง

          - กิจกรรมหยุดทุกงาน อ่านทุกคน

          - กิจกรรมรักการอ่าน

          - กิจกรรมเล่านิทานทวีปัญญา

๔. โครงการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ถูกและอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง

๕. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          - การเรียนเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ O-NET

          - เกม ๒๔ แต้ม

          - สูตรคูณพาเพลิน

          - โจทย์ปัญหาพาสนุก

๖. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

          - สัปดาห์วิทยาศาสตร์

          - สอนเสริม O-NET

๗. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

          - Spelling bee

          - Handwriting

          - Fun With Words

          - Today English

          - Open dictionary

๘. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๙. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

๑๐. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

๑๑. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินการ / ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา

เชิงปริมาณ
           ๑. นักเรียนผ่านการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสอบ O-NET ปี ๒๕๖๐ กับปี ๒๕๖๑ มีผลการสอบรวมเฉลี่ยทั้ง ๔ กลุ่มสาระสูงกว่าระดับชาติ

           ๒. นักเรียนผ่านการสอบวัดความสามารถการอ่าน ชั้น ป.๑ ( RT ) สูงกว่าระดับชาติ

           ๓. นักเรียนมีผลการแข่งขันอยู่ในอันดับ ๑ – ๓ ของการแข่งขันเกือบทุกประเภท

              

 เชิงคุณภาพ

๑.      นักเรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะ และมีผลการสอบทุกประเภทตามวัตถุที่ตั้งไว้

๒.      นักเรียนมีผลการแข่งขันตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

บทเรียนที่ได้รับ

            จากการพัฒนาแนวทางส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งผลต่อโรงเรียน ดังนี้  
       ๑.  ผู้บริหาร และคณะครู ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ

       ๒.  บุคลากรมีความรู้ความสามารถ  และประสบการณ์ในการดำเนินงาน อันเนื่องมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  
 ปัจจัยความสำเร็จ

       ๑.ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการงานทุกฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       ๒. ผู้บริหารและคณะครูทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน  เข้าใจบทบาทการดำเนินงานของตนเอง

       ๓. ผู้บริหารและคณะครูทำงานด้วยความตระหนัก  ความรักในหน้าที่  มีกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  

การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับและหรือรางวัลที่ได้รับ

           ๑. ขยายผลให้กับครูผู้สนใจภายในสถานศึกษาใกล้เคียง ที่มีความสนใจรูปแบบการดำเนินงาน  นำสู่การปรับใช้ในสถานศึกษา
           ๒. เผยแพร่ข้อมูลทางFacebookของโรงเรียน