สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2
กระบวนการพัฒนา

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีการแพร่กระจายมากขึ้น ส่งผลให้มีการเลื่อนเปิดภาคเรียน กระทบต่อการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน  การดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากร และความเชื่อมั่นของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ในโรงเรียน  คณะครูจึงร่วมกันคิด วางแผน ออกแบบและร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ในโรงเรียนขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของนักเรียน ครูและผู้ปกครองในการดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จ

 

 ขั้นตอนสำคัญ

1. ประชุมครูสร้างความเข้าใจในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙)

2. ร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ในโรงเรียน

3. ประกาศมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ของโรงเรียน

๔. แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-๑๙) ในโรงเรียน ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติงานให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่

              ๑) คณะกรรมการฝ่ายคัดกรองนักเรียน ทำหน้าที่ กำกับดูแล ให้คำแนะนำนักเรียนแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน ในการคัดกรอง ตรวจสอบอุณหภูมินักเรียน ครูและบุคลากรที่เข้ามาในบริเวณโรงเรียน  ตรวจสอบการสวมหน้ากากอนามัยทุกวัน

    ๒) คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย และการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับนักเรียนและบุคลากร ในรูปแบบป้ายนิเทศ การให้ความรู้ด้วยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย แผ่นพับ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนและแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติตามมาตรการของโรงเรียนในการเว้นระยะห่างทางสังคม 

    ๓) คณะกรรมการฝ่ายสถานที่ ทำหน้าที่ เตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ปรับปรุงซ่อมแซมพื้นที่บริเวณที่ชำรุดทรุดโทรม จัดสร้างอ่างล้างมือ กำหนดจุดคัดกรอง กำหนดโซนพื้นที่ให้นักเรียน จัดทำเครื่องหมายการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลให้เห็นชัดเจน บริเวณลานอเนกประสงค์  ในห้องเรียน ที่นั่งหน้าห้องเรียน โรงอาหาร  สหกรณ์   ธนาคารโรงเรียน ห้องน้ำ อ่างล้างมือ และโรงอาหาร

              ๔) คณะกรรมการฝ่ายจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ทำหน้าที่ สำรวจ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันให้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ หน้ากากอนามัย Face shield เจลแอลกอฮอล์       เจลล้างมือ น้ำยาทำความสะอาด สบู่เหลว ให้เพียงพอ

    ๕) คณะกรรมการฝ่ายรักษาความสะอาด ทำหน้าที่ ดูแล ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่รับผิดชอบ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ และเพิ่มรอบในการทำความสะอาดมากขึ้น

              ๖) คณะกรรมการฝ่ายดูแลนักเรียน ทำหน้าที่ ดูแลให้คำแนะนำนักเรียน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

    ๗) คณะกรรมการฝ่ายประสานงาน ทำหน้าที่ ประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน ส่วนราชการ ในการดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน 

              ๘) คณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบความพร้อมก่อนเปิดเรียน ทำหน้าที่ ตรวจความพร้อมอาคารสถานที่ก่อนเปิดภาคเรียน 

    ๙) คณะกรรมการฝ่ายประเมินผล ทำหน้าที่บันทึกภาพและประเมินผลการดำเนินการ

๕. การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์


ผลจากการปฏิบัติ

          ๑. โรงเรียนมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นรูปธรรม

          ๒. นักเรียน ครูและบุคลากรมีความรู้ และทักษะในการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถนำความรู้ไปแนะนำกับบุคคลอื่นได้

          3. โรงเรียนมีเครือข่ายให้การสนับสนุนด้านความรู้ วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]