สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
กระบวนการพัฒนา

          จากผลการประเมินระดับนานาชาติ(PISA) พบว่าความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย        (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงที่มีความสามารถในการเรียนรู้  และจดจำมากที่สุด

          โรงเรียนบางเขน(ไว้สาลีอนุสรณ์) สำนักงานเขตหลักสี่ ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปี 2554 โดยได้รับจัดสรรสื่อการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชั้นอนุบาล  การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลและครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และสารเคมีเพื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการอบรม  โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวใหม่  สำหรับเด็กปฐมวัย เน้นให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทดลองและปฏิบัติจริง ฝึกกระบวนการคิดให้เด็กรู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง

                    โรงเรียนบางเขน(ไว้สาลีอนุสรณ์) จึงได้จัดทำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประจำปี 25๖๑ ขึ้น โดยแบ่งเป็น 20 กิจกรรม ๒ โครงงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กระดับปฐมวัยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด  ตั้งคำถาม และหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อวางรากฐานระยะยาวในการสร้างนักวิทยาศาสตร์  วิศวกร  และทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ กิจกรรม 20 กิจกรรม ได้แก่

1.      กิจกรรม น้ำ ทราย น้ำมัน

2.      กิจกรรมการละลายของน้ำตาล    

3.      กิจกรรมภูเขาไฟระเบิด

4.      กิจกรรมลูกโป่งพองโตและบุบเองได้

5.      กิจกรรมน้ำเป็นตัวทำละลาย

6.      กิจกรรมหลอดดำน้ำ

7.      กิจกรรมความลับของผิวส้ม

8.      กิจกรรมสนุกกับฟองสบู่

9.      กิจกรรมปั๊มขวดและลิฟต์เทียน

10.   กิจกรรมกักน้ำไว้ได้      

11.  กิจกรรมเมล็ดพืชเต้นระบำ

12.  กิจกรรมการกรองน้ำ

13.  กิจกรรมแสงเลี้ยวเบน

14.  กิจกรรมความลับของสีดำ

15.  กิจกรรมเสียงดังและเสียงเบา

16.  กิจกรรมผลิตก๊าซฟองฟู่

17.  กิจกรรมเรือสะเทินบกและจรวด

18.  กิจกรรมทอร์นาโดในขวด

19.  กิจกรรมพืชดูดน้ำ

20.  กิจกรรมลูกโป่งพองโต


ผลจากการปฏิบัติ

       ได้ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านการทดลอง โดยเด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์และค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง เด็กเกิดทักษะการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ทดลองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เกิดความสุขและทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสามารถนำความคิดรวบยอดไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ส่งผลให้เด็กเกิดความมั่นใจในทักษะของตนเองในการเข้าร่วมการแข่งขันโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ ๒๙ เขตหลักสี่ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศ ติดต่อกัน ๓ ปี ได้แก่ ปี พ.. ๒๕๕๙ ชื่อโครงงานเปลือกไข่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ปี พ.. ๒๕๖๐ ชื่อโครงงานยากันยุงจากเปลือกส้ม   ปี พ.. ๒๕๖๑ ชื่อโครงงาน Zero milk school    ซึ่งทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง