สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
กระบวนการพัฒนา

1 .แต่งตั้งกรรมการในการดำเนินงานขับเคลื่อน กระบวนการ PLC
2.  มอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานกระบวนการPLC จับคู่Model Teacher และ Buddy Teacher
3.  กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานแผนการประชุม PLC โรงเรียนวัดหัวลำโพง
              3.1 สำรวจข้อมูลของโรงเรียน 
                  1)    ต้นทุนที่มี
                  2)     วัตถุประสงค์  ความต้องการ
                  3)     วางแผนการทำงาน
                  4)     ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น
              3.2 กำหนดวัตถุประสงค์  ความต้องการในการพัฒนา
                 1)    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น O-net ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
                 2)    นักเรียนอ่านเขียนคล่อง
                 3)    นักเรียนมีระเบียบวินัย
                 4)    ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยนำสื่อเทคโนโลยีที่มีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ
                 5)    นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู

 4. จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน SLC (School as Learning Community)  โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้
             4.1 กำหนดวัน เวลาสำหรับ การทำ Lesson Study ของแต่ละคู่และการประชุมระดับ
             4.2 Model Teacher และ Buddy Teacher เล่าแผน และแลกเปลี่ยนมุมมองและการเรียนรู้ระหว่างกัน 
             4.สังเกตชั้นเรียน โดยคู่ Buddy Teacher  ผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล                                                 อาจารย์ ดร. จรินทร วินทะไชย์   อาจารย์ ดร.เ
อซีเกะ ไซโต (Elsuke Saito,Ph.D) ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLC ชาวญี่ปุ่ 

             4.4 การสะท้อนคิด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ผลที่เกิด บทเรียน สิ่งที่ต้องการทำต่อไป  ข้อเสนอแนะ
             4.5 จัดกิจกรรม Symposium เพื่อถอดบทเรียน สะท้อนคิด  สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู  พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้                      อย่างเต็มศักยภาพ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้ขยายผลให้กับครูต่างชาติ (ครูจีน) ที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสองภาษา(ไทย-จีน) เพื่อพัฒนานักเรียนอย่าง                    เท่าเทียมกัน


ผลจากการปฏิบัติ

1. สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้าน PLC  จากหน่วยงานนอกสังกัดที่มาศึกษาดูงาน ได้แก่

-          นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศกัมพูชา 

-          นายกเทศมนตรี ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี  จ.ปัตตานี

2   ผู้บริหารให้การสนับสนุนแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  มีการนิเทศติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครูและผู้เชี่ยวชาญ  จนกิจกรรมประสบความสำเร็จ

3. ครูมีความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน

4. ครูเกิดสิ่งที่เรียกว่า พลังการเรียนรู้ (Power of Learning) ส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้น เรียนของตนเองมีผลดียิ่งขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบ

5 ครูรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา เกิดแรงแนวทางที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนต่อไป

6. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  มีระเบียบวินัย  มีนิสัยรักการอ่านสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]