สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยเพื่อส่งผลงานเข้ารับการประเมิน ตามโครงการโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม”
โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน

1. กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนที่สำคัญ  

                - ประชุมครูและบุคลากรเพื่อวางแผนสร้างความเข้าใจที่กัน

                          - แบ่งกลุ่มนักเรียนและครูผู้สอนประจำกลุ่ม

                          - จัดเวลาเรียน

                         - จัดการเรียนการสอนตามแผน

               - ประเมินผล/ปรับปรุง พัฒนา

2. กิจกรรมการดำเนินงาน การพัฒนาทักษะ ความสามารถด้านดนตรีไทย

               (P:ขั้นวางแผน)   

1. ประชุมครูและบุคลากรเพื่อวางแผนสร้างความเข้าใจที่กัน

     1.1 ที่มา

                    ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากร ร่วมประชุมปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจให้ตรงกันในหัวข้อต่างๆ       ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ดังนี้

                    - รายละเอียดโครงการโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์

                    - เกณฑ์การประเมินโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์

                    - โอกาส/ความพร้อม/ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงาน    

                     - เป้าหมาย  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   1.2  แบ่งกลุ่มนักเรียน ตามระดับความพร้อมทางการเรียนรู้และมอบหมายครูผู้สอนประจำกลุ่มตามความถนัด โดยมีครูผู้สอนดนตรีโดยตรงเป็นที่ปรึกษา ดังนี้

                            กลุ่มที่ 1  นักเรียนชั้น ป.1-.2 /อังกะลุง/ ครูทรงพล

                    กลุ่มที่ 2  นักเรียนชั้น ป.3-.4 /ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก/ ครูนิรัญ

                     กลุ่มที่ 3  นักเรียนชั้น ป.5-.6 /ขลุ่ยเพียงออ/ครูทับทิม

                    กลุ่มที่ ชมรมดนตรีไทย วงดนตรีไทยของโรงเรียน (วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์) ครูนิรัญ             


3. กำหนดเนื้อหาและบทเพลงที่จะฝึกแต่ละกลุ่ม  

เป็นการกำหนดขอบเขตเนื้อหา ทักษะ วิธีการและบทเพลงที่จะฝึก โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัย และชนิดของเครื่องดนตรี  ดังนี้

                    กลุ่มที่ 1  นักเรียน ชั้น ป.1-.2 (อังกะลุง)

                         - ประวัติความเป็นมา ส่วนประกอบ

- ท่าทาง วิธีการจับเครื่องดนตรี

- การเขย่า การอ่านโน้ต

                         - ฝึก เพลงชวา เพลงเต้ยโขง เดี่ยว/กลุ่มย่อย/รวมวง

                    กลุ่มที่ 2  นักเรียนชั้น ป.3-.4 (ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก)

                          - ประวัติความเป็นมา ส่วนประกอบ

- ท่าทาง วิธีการจับไม้ตี การอ่านโน้ต

- วิธีการตีลักษณะต่าง ๆ

                         - ฝึก เพลงชวา เพลงเต้ยโขง เพลงแขกบรเทศ 2 ชั้น เพลงเทพทอง เพลงสร้อยสนตัด เพลงมอญท่าอิฐ

                    กลุ่มที่ 3  นักเรียนชั้น ป.5-.6 (ขลุ่ยเพียงออ)

                         - ประวัติความเป็นมา ส่วนประกอบ

- ท่าทาง วิธีการจับเครื่องดนตรี

- การใช้ลมเป่าลักษณะต่างๆ

                       - การอ่านโน้ต ฝึกเพลงชวา เพลงเต้ยโขง

          (D: ขั้นดำเนินงาน)

          3.4 ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ตามกิจกรรมตามที่กำหนดตลอดปีการศึกษา   

              1. ระยะเวลาทำการสอนในเวลาราชการ

          - ระยะเวลาในการเรียนการสอนดนตรีไทย ตั้งแต่ ระดับชั้น ป.1 – .6 ทำการเรียนการสอนในชั่วโมงดนตรี ภาคเรียนละ 18 ชั่วโมง ปีการศึกษาละ 36 ชั่วโมง

          - นักเรียน ระดับชั้น ป.1 – .6 ทำการเรียนการสอนในชั่วโมง ชมรมภาคเรียนละ 18 ชั่วโมงปีการศึกษาละ 36 ชั่วโมง

          - นักเรียน ระดับชั้น ป.3 – .6 ทำการเรียนการสอนในกิจกรรมเสริมทักษะ สัปดาห์ละ 40 นาทีภาคเรียนละ 12 ชั่วโมง ปีการศึกษาละ 24 ชั่วโมง

            2. ระยะเวลาทำการสอนนอกเวลาราชการ

          - ช่วงเช้า เวลา 7.20 . – 7.50 . ณ ห้องดนตรีไทย

          - ช่วงกลางวัน เวลา 12.00 . – 12.30 . ณ ห้องดนตรีไทย

          - ช่วงเย็น เวลา 15.40 . – 16.30 . ณ ห้องดนตรีไทย

          - วันเสาร์ และช่วงปิดภาคเรียน ณ ห้องดนตรีไทย

          (C: ขั้นติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผล)

          3.5 ประเมินผลทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีของนักเรียน 

ครูผู้สอนทำการประเมินนักเรียนเป็นรายชั่วโมงชั่วโมง โดยใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้

          - ความถูกต้องในการบรรเลง จะต้องพิจารณาว่าผู้บรรเลงดนตรีนั้น มีความสามารถในการถ่ายทอด การบรรเลงดนตรีที่ถูกต้องตามจังหวะ ท่วงทำนองของบทเพลง ถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง ทั้งสามารถบรรเลงเพลงได้เหมาะสมกลมกลืน และไพเราะ ไม่มีลักษณะด้อยของการบรรเลง เช่น เพี้ยน หลุด พลาด เป็นต้น
          - ความแม่นยำในการอ่านเครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรี ในการขับร้องและการบรรเลงดนตรีนั้น ผู้บรรเลงดนตรีและผู้ขับร้องจะต้อง มีความเข้าใจในการอ่านเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี มีความสามารถที่จะอ่านโน้ตเพลงได้อย่างถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ ทำให้บทเพลงนั้นไพเราะและสมบูรณ์
          - การควบคุมคุณภาพเสียงในการบรรเลง ในการขับร้องเพลงนั้นเราสามารถที่จะประเมินคุณภาพของผู้ขับร้องได้จากการฟัง ว่าผู้ขับร้องสามารถที่จะใช้น้ำเสียงและควบคุมเสียงร้องได้มากน้อยเพียงใด เสียงจะต้องไม่ขาด ไม่เกิน เหมาะสมกับทำนองดนตรี ทั้งยังต้องออกเสียงขับร้องนั้นให้ถูกต้องตามอักขระวิธีของภาษาที่ใช้ขัยร้องนั้นๆ ส่วนผู้บรรเลงดนตรีจะต้องควบคุมคุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีได้อย่างถูกต้องชัดเจน       

                    5.  รวบรวมสรุปผลข้อมูล

เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

           (A: ขั้นพัฒนา แก้ไข /  ปรับปรุง)

               นำผลการประเมินทักษะการบรรเลง มาปรับปรุงแก้ไข โดยแยกกลุ่มที่ยังปฏิบัติได้ไม่ดีพอ หรือช้ากว่านักเรียนส่วนมาก มาฝึกซ้อมเพิ่มเติม โดยครูเป็นผู้ควบคุม หรืออาจจะใช้วิธรเพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง การฝึกซ้อมเดี่ยว ฝึกซ้อมเป็นกลุ่มเล็ก กระตุ้นด้วยการเสริมแรง หรือให้รางวัล ตามความเหมาะสม


ผลจากการปฏิบัติ

1. ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

                1) นักเรียนมีทักษะในการบรรเลงดนตรีไทยตามความถนัด ที่สูงขึ้น             

                2) โรงเรียนผ่านการประเมินและได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กระทรวงวัฒนธรรม ตามโครงการ โรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ประจำปี 2563

  2.ผลสัมฤทธิ์ของงาน

               1) นักเรียนสามารถ เล่นดนตรีไทยตามศักยภาพ ได้อย่างน้อยคนละ 1 ชนิด

               2) นักเรียนสามารถแสดงดนตรีไทย ต่อหน้าสาธารณะชนทั้งในสถานศึกษาและนอกได้

               3) เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับโรรงเรียนจนเป็นที่ยอมรับ

3. ประโยชน์ที่ได้รับ

              1) นักเรียนมีทักษะทางด้านดนตรีไทยติดตัวสามารถนำไปพัฒนา ต่อยอด ในระดับที่สูงขึ้นได้

              2) นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน อดทน รับผิดชอบ สามัคคี เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

              3) เสริมสร้างความสามัคคี ความร่วมมือในหมู่คณะครู  ผู้บริหาร และผู้ปกครองนักเรียน

              4) โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

              5) โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนมากยิ่งขึ้น

              6) นักเรียนเป็นผู้มีสุนทรียภาพและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

              7) เป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]