สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
รูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา โดยใช้หลักไตรสิกขา
โรงเรียนวัดเทพลีลา
กระบวนการพัฒนา

ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart Model ของ Best Practice

     1 เตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อสร้างความตระหนักในการพัฒนาจิตสำนึกการมรศีล     ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา โดยใช้หลักไตรสิกขา เพื่อเสนอแนวทางรูปแบบวิธีการกิจกรรมในการขับเคลื่อนการทำงานที่เป็นรูปธรรม

 ?      ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

       ขั้นดำเนินการ

          รายละเอียดของการดำเนินการตามกระบวนการเชิงปฏิบัติการ PAOR มีดังนี้

          1. ขั้นการวางแผน (Plan - P)

ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ และกำหนดแนวรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา โดยใช้หลักไตรสิกขาซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรมหลักไตรสิกขา ดังนี้

1.1 หลักศีล ประกอบด้วย กิจกรรมดังนี้

      1.1.1 กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด

      1.1.2 กิจกรรมตักบาตรและถวายภัตตาหาร

      1.1.3 กิจกรรมธนาคารออมทรัพย์

1.2 หลักสมาธิ ประกอบด้วย กิจกรรมดังนี้

      1.2.1 กิจกรรมนั่งสมาธิ

      1.2.2 กิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ

      1.2.3 กิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

1.3 หลักปัญญา ประกอบด้วย กิจกรรมดังนี้

      1.3.1 กิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

      1.3.2 กิจกรรมพี่สอนน้องอ่านหนังสือ

      1.3.3 กิจกรรมฟังเทศน์ในวันธรรมสวนะ

      1.3.4 กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน

          2. ขั้นการปฏิบัติ (Action - A)

          ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ และกำหนดแนวรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา โดยใช้หลักไตรสิกขาซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรมหลักไตรสิกขา

         3. ขั้นการสังเกต (Observation-O)

          นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนจากการบันทึกของผู้ดำเนินกิจกรรมและคณะกรรมการดำเนินงานประชุมร่วมมือกันเพื่อวิเคราะห์สาเหตุร่วมกัน เพื่อนำข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล5ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

          4. ขั้นการสะท้อนผล (Reflection-R)

          นำข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขสำหรับวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมโดยใช้หลักไตรสิกขา    เพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา สำนักงานเขตบางกะปิ โดยใช้หลักไตรสิกขาในครั้งต่อไป โดยมีผลดังนี้

4.1 ด้านครูผู้สอน นำความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธอย่างต่อเนื่องไปบูรณาการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของแต่ละระดับชั้นแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ประการสำคัญจะส่งผลต่อจรรยาบรรณมาตรฐานวิชาชีพครู ให้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานวิชาการอื่นๆ นำไปใช้เป็นเอกสารทางวิชาการประกอบหรือพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการของการเลื่อนวิทยฐานะ

4.2 ด้านนักเรียน นักเรียนมีความรู้ทักษะในการปฏิบัติตนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ และสร้างจิตสำนึกรักษาศีล 5 เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการครองตนอย่างมีสติ มีสมาธิ และมีปัญญาในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และสามารถครองตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข กิน ดู อยู่ ฟังเป็น

4.3 ด้านสถานศึกษา ได้ครูที่มีคุณภาพ เป็นครูดีมีศีลธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณที่เหมาะสมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ เป็นครูต้นแบบที่ดีของลูกศิษย์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องของผู้ปกครองและชุมชน

4.4 ด้านชุมชน ชุมชนให้การยอมรับและชื่นชมในการจัดการศึกษาที่นำหลักไตรสิกขามาใช้ในการพัฒนานักเรียน และทางชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ในลักษณะของการร่วมแรงร่วมใจและกำลังทรัพย์ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

 


ผลจากการปฏิบัติ

โรงเรียนวัดเทพลีลา สำนักงานเขตบางกะปิ มีบุคลากรที่มีคุณลักษณะที่ดีตามหลักวิถีพุทธมีการบริหารจัดการแบบไตรสิกขามีหลักสูตรที่สามารถพัฒนา มีแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนตามหลักไตรสิกขา รวมทั้งการจัดบรรยากาศและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เป็นไปตามหลักไตรสิกขาและบูรณาการกับชีวิตของผู้เรียน ได้มีการพัฒนาเป็นผู้มีลักษณะ กิน อยู่ ดู   ฟังเป็น ดำเนินชีวิตอย่างมคุณค่าและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตลอดทั้งบ้าน วัด โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธและเกิดความสามัคคีสมานฉันท์ร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนและสังคมตามวิถีพุทธอย่างต่อเนื่อง


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]