สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการเกษตรพอเพียงเพื่อการเรียนรู้
โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
กระบวนการพัฒนา

1.นักเรียนที่ได้เรียนวิชาเกษตรในระดับประถมและระดับมัธยมศึกษาได้มีการศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการทำการเกษตรจากหนังสือเรียนและในเอกสารต่างๆที่ครูผู้สอนอธิบายให้ฟังและครูได้สาธิตให้ดูเป็นแบบอย่าง

2.นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่เริ่มต้นของกิจกรรมทั้ง ๕ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตรกรน้อยเลี้ยงเห็ด กิจกรรมปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ไร้สารพิษ กิจกรรมปลูกสวนผักอินทรีย์ กิจกรรมผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ กิจกรรมผักสวนครัวรั้วกินได้ เริ่มจากการใช้เครื่องมือ การเตรียมแปลงเกษตร การดูแลรักษา ทั้งในชั่วโมงเรียนและ   นอกเวลาเรียน

3.หลังจากที่นักเรียนได้ผลผลิตทางการเกษตรแล้วนักเรียนยังรู้จักการแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตรตัวอย่างเช่น การแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้เป็นแหนมเห็ด และน้ำพริกเห็ดโดยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น


ผลจากการปฏิบัติ

1.นักเรียนสามารถใช้เครื่องมือทางการเกษตรได้ชำนาญมากขึ้นโดยดูได้จากการสังเกตในขณะปฏิบัติงาน

2.นักเรียนมีความรับผิดชอบในการดูแลรักษากิจกรรมต่างๆทางด้านการเกษตรโดยใช้เวลาว่างมาศึกษาหาความรู้นอกจากในชั่วโมงเรียน

3.นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติภายในครอบครัวของตนเองและสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้ในอนาคตโดยดูจากผลงานที่ให้ไปทำที่บ้านแล้วนำมาส่งภายในชั่วโมง