สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
กระบวนการพัฒนา

แนวการดำเนินงาน

     1. โครงการนี้ดำเนินการโดย งานบริหารวิชาการโดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน

    2. โครงการนี้เป็นโครงการเสริมเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการ กิจกรรม ดังนี้

    2.1 กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน 

                  2.2 กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 

                  2.3 กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ 

                  2.4 กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน 

                  2.5 กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย

       3.  ระยะเวลาดำเนินการ

                     ตลอดปีการศึกษา 2563

       4. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                     4.1  ประชุมปรึกษาหารือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดในการดำเนินโครงการ

                     4.2  เสนอขออนุมัติโครงการ

                     4.3  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

                     4.4  ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ

                     4.5  ดำเนินการจัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ดังนี้

                    1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

              ผู้รับผิดชอบ  นางสาวอุทัย  ใจหมั่น

                         กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร น้อมรับกระแสพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้เป็นกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน โดยให้นักเรียนเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปสนับสนุนการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้น้อมนำ แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักคิดและหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ชีวิตโดยใช้กิจกรรมการเกษตรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อรู้จักประหยัด ใช้ กินอย่างประมาณตน มีเหตุผล ไม่ฟุ่มเฟือย เรียนรู้เกี่ยวกับการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ โดยการผลิตหรือสร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรเรียนรู้การช่วยเหลือสังคมและชุมชน โดยการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะกับสภาพภูมิสังคมและบริบทของโรงเรียน ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไปในอนาคต                      

                    2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน

                         ผู้รับผิดชอบ  นางดารุณี เพ็งพุฒ

              กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน มีดำเนินงานตามหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ โดยจัดกิจกรรมค่ายสหกรณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ และได้น้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการออมเงิน และกลไกลลด ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและ โดยจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิก  จัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นจำหน่ายในราคาถูก สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักการใช้จ่ายของตนเองอย่างมีเหตุผล อย่างพอประมาณ ประหยัดเท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย และจัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการออมอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปลูกฝังและเสริมสร้างความมีวินัย ทางการเงินของนักเรียน นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมให้คณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักวิธีการจัดทำบัญชี  การประชุม การบันทึกการประชุม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนและสังคมต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ในการบริหารจัดการและดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยานั้น ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ใช้หลักความรู้ คู่คุณธรรมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชน

                     3. กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ 

                         ผู้รับผิดชอบ  นางสาวมลิวัน  นนเลาพล

                         เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับนักเรียนตามความสนใจ โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้และฝึกทักษะให้กับนักเรียนในงานด้านต่างๆ เช่น  งานจักสานเส้นพลาสติก งานร้อยลูกปัด รี งานลวดดัด งานริบบิ้น งานตัดเย็บ งานเสริมสวย งานดนตรีสากล งานเกษตร งานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

                    4. กิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน

              ผู้รับผิดชอบ  นางสาวฐิติมา  วรรณมณฑา                                                                                                            

                  เป็นกิจกรรมที่จัดบริการอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม)  ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวันอย่างเพียงพอ ถูกหลักโภชนาการ อาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ให้บริการอาหารเสริม (นม) และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคและเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนปลูกฝังวินัยในการรับประทานอาหาร  นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการอาหารกลางวัน ให้มีสถานที่ปรุงอาหารที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหาร ตรวจสุขภาพของผู้ปรุงอาหาร ซึ่งมีทั้งในส่วนที่โรงเรียนดำเนินการเองและหน่วยงานภายนอกดำเนินการ โรงเรียนคาดหวังว่าการดำเนินกิจกรรมนี้จะส่งผลให้นักเรียนมี  ภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงใน    การประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ในนักเรียน

          5. กิจกรรมการเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย

              ผู้รับผิดชอบ  นางสาวสุปราณี  เปลรินทร์                                                                                                             

               กิจกรรมการสำรวจภาวะโภชนาการและสุขภาพเป็นการจัดกิจกรรมที่     สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกระดับชั้น ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ให้มีสมรรถภาพทางกาย  ส่วนสูง และน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ นักเรียนกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ให้ความรู้และปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้องในการบริโภคที่ปลอดภัยและการออกกำลังกายให้ถูกต้องและประสานงานผู้ปกครองของเด็กนักเรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการของเด็ก และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ         

                   4.6  ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานเพื่อกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง

                                      4.7  คณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม   รายงานต่อผู้รับผิดชอบโครงการ

                                      4.8  คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผลการดำเนินโครงการ รายงานต่อผู้บริหารโรงเรียน


ผลจากการปฏิบัติ

ผู้ดำเนินโครงการได้ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ และกระบวนการของโครงการ และมีผลการประเมิน ดังนี้

          ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ  เพื่อประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของวัตถุประสงค์ เป้าหมาย  นโยบาย ประโยชน์ของโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ  คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยมีระดับความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

          ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ  เพื่อประเมินความพร้อมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ด้านบุคลากร  ด้านวัสดุอุปกรณ์  ด้านงบประมาณและด้านการบริหารจัดการ คิดเป็นร้อยละ 94.00 โดยมีระดับความพร้อมมากที่สุด

          ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ  เพื่อประเมินความเหมาะสมในการดำเนินการ ด้านกระบวนการของโครงการ  ตั้งแต่การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ  การดำเนินการตามแผนที่กำหนด            การประเมินผลและ การรายงานผล คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด

          นอกจากนั้นการดำเนินงานได้นำใช้กระบวนการทำงานแบบ PDCA และใช้อุดมการณ์ร่วมของโรงเรียน หกร่วมรวมใจประกอบด้วย ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไข ร่วมชื่นชมมาใช้ในการดำเนินโครงการ ดังนี้

          1. คณะผู้บริหารและคณะครูได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 โดยได้กำหนดโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการพิเศษเพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะตามนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงบนวิถีชุมชนและความเป็นไทย แผนงานที่ 5.1 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตตมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนระยะแผน ปี พ.ศ. 2563 – 2565 เป็นกิจกรรมที่สนองมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย  มาตรฐานที่ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และเป็นกิจกรรมที่สนองมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่    คุณภาพของผู้เรียน และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นโครงการตลอดปีการศึกษา มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการจำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน  กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ  กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน  กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย  โดยได้กำหนดผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมประกอบโครงการดังนี้

              1.1 นายศักดิ์สิทธิ์  สุขบรม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ

              1.2 นางสาวอุทัย  ใจมั่น เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

              1.3 นางดารุณี  เพ็งพุฒ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน

              1.4 นางสาวมลิวรรณ  นนเลาพล เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ

              1.5 นางสาวฐิติมา  วรรณมณฑา เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน

              1.6 นางสาวสุปราณี  เปลรินทร์ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย

          2. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ ฯ และกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานและดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ เช่น

          - การกำหนดปฏิทินการปลูกผักสวนครัวและกำหนดพื้นที่รับผิดชอบ

                    - การสำรวจความต้องการสินค้าของสมาชิกสหกรณ์  การจัดค่ายสหกรณ์ จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งเสริมการออม (ธนาคารโรงเรียน)

                    - การกำหนดรายการอาหารหมุนเวียน ตามรายการอาหารของสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบและสถานที่ประกอบอาหาร มีการตรวจสุขภาพผู้ประกอบและสัมผัสกับอาหาร  

          - การสำรวจและคัดเลือกอาชีพที่นักเรียนสนใจ  จัดหาวิทยากรท้องถิ่น และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน

                    - การติดตามภาวะโภชนาการภาคเรียนละ 1 ครั้ง และการทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคเรียนละ 1 ครั้ง

          - การจัดห้องพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีการกำหนดครูเวรดูแลตลอดทั้งวัน (จัดตามชั่วโมงว่างของ

ครู) มีการให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น มีการประสานงานกับสถานพยาบาล

ใกล้เคียงเพื่อการส่งต่อนักเรียนกรณีจำเป็น มีการประสานงานกับผู้ปกครอง

                     - การรณรงค์ให้ความรู้ เช่น การทำเกษตรแบบสังคมชุมชนเมือง การดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ   การออกกำลังกาย โรคติดต่อตามฤดูกาล โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นต้น

                     - กำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เช่น เว้นระยะห่างในการรับประทานอาหาร และรับประทานอาหารเป็นรอบ ๆ ตรวจวัดอุณหภูมิ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน และก่อนกลับบ้าน) เพิ่มจุดติดตั้งเจลหรือแอลกอฮอล์ สำหรับล้างมือ จัดนักเรียนห้องละไม่เกิน 25 คน  เป็นต้น

          3. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ ฯ คณะผู้บริหาร ได้มีการตรวจสอบผล นิเทศติดตาม

การดำเนินงาน และให้คำแนะนำ เช่น

          - เมื่อปลูกผักสวนครัวไปแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืชอะไรบ้างที่ทำให้ผักสวนครัวเสียหายและจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรที่จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้สารเคมี

          - เมื่อกำหนดรายการอาหารไปแล้วแต่ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ จะแก้ไข้อย่างไรบ้าง

          - เมื่อวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของนักเรียนแล้ว จะแจ้งผลให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ หากนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ จะนำนักเรียนและผู้ปกครองมาให้ความรู้ และจัดให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย

          - ภายหลังการสำรวจสินค้าที่นักเรียนต้องการแล้ว คณะกรรมการได้จัดหาสินค้าตามที่นักเรียนต้องการโดยคำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์สำหรับนักเรียนมากที่สุด

          - สถิติการนำผลิตทางการเกษตรสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน หรือ กิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวัน

          - ธนาคารโรงเรียนเปิดทำการ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 11.30 น ถึง 12.30 o.

          โดยการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

          4. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ ฯ และกิจกรรมประกอบโครงการ ฯ ได้นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข้ที่สามารถปฏิบัติได้และมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน นักเรียน และชุมชน

          ผลจากการดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA และ อุดมการณ์ร่วมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลให้นักเรียนได้รับการเสริมสร้างศักยภาพในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และ พลศึกษา

และส่งเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาของนักเรียน บุคลากร และชุมชน ทำให้มีผู้สนใจมาเยี่ยมชมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

๕. การประเมินด้านเป้าหมายของโครงการ

     5.1  เป้าหมายด้านปริมาณ

                     - จำนวนกิจกรรมสนับสนุนโครงการฯ ที่โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สามารถดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างสมดุลรอบด้านทั้งด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา  หัตถศึกษา และพลศึกษา

                     - จำนวนนักเรียนเข้าร่วมโครงการ

         ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                     - การดำเนินงานกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ฯ ครบทุกกิจกรรม

                     - ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ

         ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในด้านปริมาณ

โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยาได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามแนวพระราชดำริ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครบทุกกิจกรรม ได้แก่กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ  กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน และกิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย และนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ฯ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

          การบรรลุเป้าหมาย          ไม่บรรลุ                R   บรรลุ       

 

      5.2   เป้าหมายด้านคุณภาพ

                     - ความพึงพอใจของนักเรียน บุคลากร และชุมชนต่อการดำเนินงานการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

 

 

         ตัวชี้วัดความสำเร็จ

                     - ร้อยละของความพึงพอใจของนักเรียน บุคลากร และชุมชนต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป

         ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในด้านคุณภาพ

                       - นักเรียน บุคลากร และชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

          การบรรลุเป้าหมาย                ไม่บรรลุ     R  บรรลุ

 

. ค่าใช้จ่าย

          ๖.๑     R มีค่าใช้จ่าย

                           โดยใช้เงิน    ?  เงินบำรุงการศึกษา    

                                          R งบประมาณที่กรุงเทพมหานครจัดสรรให้

          ๖.๒       R เบิกวัสดุที่ได้รับจัดสรรจากงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลและงบ กทม.

                       R ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ จากกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมประมง

 

๗. ปัญหาและอุปสรรค  

          7.1 พื้นที่สำหรับการปลูกผักสวนครัวน้อยทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับปริมาความต้องการของบุคลากรนักเรียนและผู้ปกครอง          

          7.2 ผู้ปกครองบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคและไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องจึงทำให้นักเรียนบางคนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม

          7.3 เกิดภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียนไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ

 

.  แนวทางที่ได้ดำเนินการแก้ไข 

          8.1. ครูนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เช่น การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน กิจกรรมการปลูกพืชแบบสวนแนวตั้งและกิจกรรมการเพาะเมล็ดงอก ได้แก่ ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง     ไควาเระ โต้เหมี่ยว การเพาะเลี้ยงเห็ด ที่สอดคล้องกับชุมชนของนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้รูปแบบการทำเกษตรในชุมชนสังคมเมืองและใช้พื้นที่น้อย เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ

          8.2 จัดกิจกรรมให้รณรงค์ความรู้และแนวทางในการออกกำลังกายที่ถูกต้องแก่นักเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

          8.3 รณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่วงที่เกิดภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19)

          8.4 จัดทำจุดคัดกรอง จัดหาหน้ากากอนามัย เจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอกับนักเรียน ตรวจวัดอุณหภูมิ  3 เวลา คือ เช้าก่อนเข้าโรงเรียน กลางวัน และตอนเลิกเรียน

          2.5 จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา

 

.  ข้อเสนอแนะ  

          ครูนำกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ฯ มาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้