สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนดนตรีไทย 100%
โรงเรียนวัดบึงบัว
กระบวนการพัฒนา

การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยของโรงเรียนวัดบึงบัวเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ดังนี้

1.     ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนได้รับการฝึก

ให้เขย่าอังกะลุงได้ โดยสามารถเขย่าอังกะลุงเพลงชวา และเพลงพม่าเขวได้ รวมทั้งขับร้องเพลงไทยง่าย ๆ ได้

เช่น เพลงชวา

2.   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนได้รับการฝึก ให้เขย่าอังกะลุงได้ โดยสามารถเขย่าอังกะลุงเพลงชวา เพลงพม่าเขวและเพลงฟ้อนเงี้ยวได้ มีนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษสามารถ สีซอด้วง และ ตีระนาดทุ้มได้

3.   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนมีขลุ่ยเพียงออเป็นของตนเอง โดยสามารถเป่าขลุ่ยเพียงออ เพลงชวา เพลงพม่าเขว เพลงฟ้อนเงี้ยวได้ นอกจากนี้มีนักเรียน      ที่มีความสามารถพิเศษ ตีฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม สีซออู้ได้ ในเพลงแขกบรเทศ เพลงแขกเชิญเจ้า       เพลงระบำดอกบัว และเพลงชุดรำวงมาตรฐานประกอบด้วยเพลงงามแสงเดือน เพลงคืนเดือนหงาย และเพลงรำมาซิมารำ

4.   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนมีขลุ่ยเพียงออเป็นของตนเองทุกคนโดยนักเรียนสามารถเป่าขลุ่ยเพียงออเพลงชวา เพลงพม่าเขว และเพลงฟ้อนเงี้ยวได้ มีนักเรียนที่มีความสามารถเพิเศษเล่นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองได้ประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องมอญ ซอด้วงและซออู้ สามารถเล่นรวมวงประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวมผสม วงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์มอญได้

5.   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนมีขลุ่ยเพียงออเป็นของตนเอง โดยนักเรียนฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ สามารถเป่าเพลงชวา พม่าเขว เพลงฟ้อนเงี้ยวและเพลงตารีกีปัสได้  

มีนักเรียนบางส่วนสามารถเล่นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองได้เป็นพิเศษได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก จะเข้ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมาง กลองแขก สามารถรวมวงปี่พาทย์ไม้แข็ง และวงปี่พาทย์มอญได้

6.     ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย การจัดการเรียนการสอนดนตรีไทย นักเรียนทุกคนมีขลุ่ยเพียงออเป็นของตนเอง โดยนักเรียนสามารถเป่าขลุ่ยเพียงออ เพลงชวา เพลงพม่าเขว เพลงฟ้อนเงี้ยวและเพลงตารีกีปัสได้ มีนักเรียนบางส่วนสามารถเล่นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองได้เป็นพิเศษ ได้แก่ระนาดเอก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซอด้วงและซออู้ สามารถเล่นรวมวงปี่พาทย์ไม้นวมผสมเครื่องสาย วงปี่พาทย์ไม้แข็ง และวงปี่พาทย์มอญ สามารถให้บริการในชุมชนได้ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ หลังโรงเรียนเลิกตั้งแต่เวลา 15.30 – 18.00 น. จะฝึกซ้อมรวมวงในรูปแบบของชมรมดนตรีไทย ซึ่งมีนักเรียนที่ให้ความสนใจอย่างจริงจังจำนวน 30 คน โดยใช้ห้องดนตรีไทยของโรงเรียนในการฝึกซ้อมและในตอนเช้าของทุกวันจันทร์หลังทำกิจกรรมหน้าเสาธงภาคเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว        จะมีกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 คือนักเรียนทุกคนจะฝึกซ้อมดนตรีร่วมกันบริเวณลานโดมเอนกประสงค์ของโรงเรียน โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 2 จะเขย่าอังกะลุง และขับร้องเพลงไทย                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จะเป่าขลุ่ยเพียงออ และนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษจะบรรเลงเครื่องดนตรีตามประเภท            ที่ตนเองถนัด

 

 


ผลจากการปฏิบัติ

ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย – ตัวชี้วัด ที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ และหรือคุณภาพ

๑.   นักเรียนโรงเรียนวัดบึงบัวทุกคนเข้าใจและเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนดนตรีไทย         เห็นความสำคัญของดนตรีไทย

๒.   นักเรียนมีความเป็นเลิศในการเล่นดนตรีประมาณ 30 คน มีผลงานด้านการประกวดและแข่งขันเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practices แล้ว ส่งผลต่อสถานศึกษาอย่างไร นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สามารถเล่นดนตรีไทยได้ทุกคน คนละอย่างน้อย 1 ชิ้นจนได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการโรงเรียนดนตรี 100 เปอร์เซ็นต์