สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศ
โรงเรียนวัดลำกระดาน
กระบวนการพัฒนา

โครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศเป็นโครงการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์โรงเรียนวัดลำกะดาน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม ส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเลิศ ปฏิบัติตนตามแนวทางวิถีพุทธ รักษ์ความเป็นไทย สานสัมพันธ์ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา พันธกิจข้อที่ 2 ส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ  เป้าประสงค์ที่ ๒ ครูและบุคลากรมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมสนับสนุนครู บุคลากร และผู้เรียน มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเสริม เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา กลยุทธ์ข้อที่ ๒ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการเรียนรู้แบบ  CCE การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วย PLC  มาตรฐานที่  1  คุณภาพของผู้เรียน  ประเด็น  1.2  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  ข้อ 1.2.3  การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนวัดลำกะดานดำเนินการโดยส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมในเรื่องเทคนิคการสอนแบบ CCE ที่ให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เน้นการทำงานกลุ่ม โดยจำแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายงานที่แตกต่างกัน ครูจะให้เด็กเข้าไปใช้มุมการเรียนรู้ที่จัดไว้ในห้องเรียนตามความสนใจของเด็กแต่ละคน อาทิ มุมบทบาทสมมุติ ฝึกให้เด็กๆ จินตนาการในบทบาทต่างๆ เช่น เป็นพ่อครัว เป็นนักวิทยาศาสตร์การวัดผลความสำเร็จของเด็กที่เข้าสู่โครงการนี้คือเด็กจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จะรักการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีสมาธิมากขึ้น รู้จักการโต้ตอบระหว่างครูกับเด็ก รู้จักการใช้สัญญาณ รู้จักข้อตกลงของห้อง อยากมาโรงเรียน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี มีระเบียบวินัย นอกจากนี้ยังมีกิริยามารยาทที่งดงามแบบไทยๆ อยากใฝ่รู้ใฝ่เรียน นับเป็นก้าวหนึ่งของความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โรงเรียนวัดลำกะดานจึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนในโรงเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สนใจอยู่ในระบบการศึกษา และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมภายใต้วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญที่จะค้นหาศักยภาพของเด็กแต่ละคน และคอยกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาความโดดเด่นของตนเองอย่างเต็มที่
2. ครูสามารถนำเทคนิคการสอนแบบ CCE โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในห้องเรียนได้

มีจุดมุ่งหมายที่ 

1. ครู จำนวน  24  คน  สามารถนำเทคนิคการสอนแบบ CCE  โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในกิจกรรมห้องเรียนได้เต็มศักยภาพ

2. ครูสามารถค้นหาศักยภาพของเด็กแต่ละคน และคอยกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาความโดดเด่นของตนเองอย่างเต็มที่  และสามารถนำเทคนิคการสอนแบบ CCE  โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในห้องเรียนได้  


ผลจากการปฏิบัติ

หลังจากการดำเนินงาน ซึ่งโรงเรียนวัดลำกะดานดำเนินการโดยส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมในเรื่องเทคนิคการสอนแบบ CCE ที่ให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เน้นการทำงานกลุ่ม โดยจำแนกผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายงานที่แตกต่างกัน ครูจะให้เด็กเข้าไปใช้มุมการเรียนรู้ที่จัดไว้ในห้องเรียนตามความสนใจของเด็กแต่ละคน อาทิ มุมบทบาทสมมุติ ฝึกให้เด็กๆ จินตนาการในบทบาทต่างๆ เช่น เป็นพ่อครัว เป็นนักวิทยาศาสตร์การวัดผลความสำเร็จของเด็กที่เข้าสู่โครงการนี้คือเด็กจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จะรักการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีสมาธิมากขึ้น รู้จักการโต้ตอบระหว่างครูกับเด็ก รู้จักการใช้สัญญาณ รู้จักข้อตกลงของห้อง อยากมาโรงเรียน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี มีระเบียบวินัย นอกจากนี้ยังมีกิริยามารยาทที่งดงามแบบไทยๆ อยากใฝ่รู้ใฝ่เรียน นับเป็นก้าวหนึ่งของความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โรงเรียนวัดลำกะดานจึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนในโรงเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สนใจอยู่ในระบบการศึกษา และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมภายใต้วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญที่จะค้นหาศักยภาพของเด็กแต่ละคน และคอยกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาความโดดเด่นของตนเองอย่างเต็มที่
2. ครูสามารถนำเทคนิคการสอนแบบ CCE โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม 4 ด้านหลักของ CCE คือ เด็ก, ครู, หลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในห้องเรียนได้ คุณครู
สามารถนำเทคนิคการสอนแบบ CCE  โดยมีหัวข้อสำคัญครอบคลุม ด้านหลักของ CCE คือ เด็กครูหลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในกิจกรรมห้องเรียนได้เต็มศักยภาพ สามารถค้นหาศักยภาพของเด็กแต่ละคน และคอยกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาความโดดเด่นของตนเองอย่างเต็มที่  โดยการนำเทคนิคการสอนแบบ CCE  คือ เด็กครูหลักสูตร และสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในห้องเรียนได้  จากแบบประเมินผลโครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศปีการศึกษา  2563 สรุปได้ดังนี้

          1.  ด้านกระบวนการ

          1.1   การประชาสัมพันธ์  และติดต่อประสานงาน            ระดับดีมาก       ร้อยละ 100 

          2.  ด้านวัตถุประสงค์

                    ด้านครู

          2.1.1  ครูมีสัมพันธภาพเชิงบวกกับนักเรียน                    ระดับดีมาก       ร้อยละ 100 

         2.1.2  ครูคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน              ระดับดีมาก       ร้อยละ 79.16    ระดับดี           ร้อยละ 20.83

          2.1.3  ครูเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็ก                           ระดับดีมาก       ร้อยละ 58.33   ระดับดี           ร้อยละ 41.66

          2.1.4  ครูสนับสนุนผู้เรียนตามศักยภาพ                        ระดับดีมาก       ร้อยละ 83.33   ระดับดี           ร้อยละ 16.66

          2.1.5  ครูเป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ปัญหา                      ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

         ด้านนักเรียน

          2.2.1  นักเรียนเคารพในกฎ  กติกาในห้องเรียน               ระดับดีมาก       ร้อยละ 87.5    ระดับดี           ร้อยละ 12.5

          2.2.2  นักเรียนมีความกล้าแสดงออก                           ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

          2.2.3  นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้                  ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

          2.2.4  นักเรียนมีทักษะในด้านการคิด                          ระดับดีมาก       ร้อยละ 83.33     ระดับดี           ร้อยละ 16.66

          2.2.5  นักเรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพรายบุคคล          ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

         ด้านสื่อ  หลักสูตร

          2.3.1  ครูมีสื่อการสอน                                         ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

          2.3.2  ครูจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ                           ระดับดีมาก       ร้อยละ 79.16       ระดับดี           ร้อยละ 20.83

          2.3.3  ครูกระตุ้นกระบวนการคิดของนักเรียน                 ระดับดีมาก       ร้อยละ 75         ระดับดี           ร้อยละ 25

          2.3.4  ครูยืดหยุ่นและเปิดกว้างให้กับนักเรียน                  ระดับดีมาก       ร้อยละ 100   

          2.3.5  ครูมีการประเมินผลที่หลากหลาย                       ระดับดีมาก       ร้อยละ 75            ระดับดี           ร้อยละ 25

          ด้านสภาพแวดล้อม

          2.4.1  ครูจัดห้องเรียนสะอาด                                   ระดับดีมาก  ร้อยละ 100

          2.4.2  ครูจัดเก็บอุปกรณ์อย่างเป็นระเบียบ                     ระดับดีมาก  ร้อยละ 100

          2.4.3  ครูจัดบอร์ดความรู้ในห้องเรียน                          ระดับดีมาก  ร้อยละ 100

          2.4.4  ครูจัดมุมการเรียนรู้ในห้องเรียน                         ระดับดีมาก  ร้อยละ 100

          2.4.5  ครูกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก               ระดับดีมาก  ร้อยละ 100

***สรุปผลรวมการประเมิน  อยู่ในระดับดีมาก   ร้อยละ  95.05***


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]