สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
เกษตรในโรงเรียน “ผักดีไม่มีสารพิษ ธุรกิจการเกษตร”
โรงเรียนสถานีพรมแดน(รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
กระบวนการพัฒนา

1. หลักการและเหตุผล

     เนื่องจากในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีความเจริญมาก ทั้งในด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ทั้งในด้านที่ดี และไม่ดีตามมา โดยเฉพาะในด้านการเกษตรจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างมากซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อมเป็นพิษ และที่สำคัญพืชผักต่าง ๆ ที่เรานำมาบริโภคนี้จะมีปริมาณของสารพิษยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก ทางโรงเรียนจึงตระหนักถึงอันตรายของสารพิษที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และปะปนในพืชผัก  จึงได้จัดทำโครงการเกษตรในโรงเรียน ผักดีไม่มีสารพิษ  ธุรกิจการเกษตร” ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนได้เรียนรู้ และปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป

2. วัตถุประสงค์

1.1   ให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษ บริโภคในโรงเรียน และเป็นตัวอย่างในชุมชน

1.2   เพื่อให้นักเรียนรู้ถึงพิษภัยของสารเคมี และยาฆ่าแมลง

1.3   เพื่อผลิตผักปลอดสารพิษนำมาใช้ประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

1.4   เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการจัดการเกษตรในเชิงธุรกิจได้

1.5   นักเรียนสามารถปฏิบัติงาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน

3.  เป้าหมาย

          3.1 ด้านปริมาณ

                    นักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้เข้าร่วมโครงการ

          3.2 ด้านคุณภาพ

                    นักเรียนมีทักษะในการจัดการเกษตรในเชิงธุรกิจ และปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน

4.  ลักษณะโครงการ

                ประเภทโครงการเป็นโครงการต่อเนื่อง

                โครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 - 2565) ด้านที่ 3 มหานครสำหรับทุกคน มิติที่ 3.3 การศึกษาสำหรับทุกคน สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี      การศึกษา 2563 ยุทธศาสตร์ที่ 4 แผนงานงบประมาณ และสอดคล้องกับการประเมินมาตรฐานการศึกษา

                ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                มาตรฐานที่ กระบวนการบริหารและการจัดการ

                ประเด็นพิจารณาที่ 2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

                ประเด็นพิจารณาที่ 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

                ประเด็นพิจารณาที่ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

                มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                ประเด็นพิจารณาที่ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

5.  แนวทางการดำเนินการ

            1. ขออนุมัติโครงการ (P)

            2. ประชุมวางแผน กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ (P)

            3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน (P)

            4. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ (D)

              - กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

              - กิจกรรมขยายพันธุ์พืช

              - กิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

            5. ประเมิน สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน (C)

            6. จัดทำรายงานสรุปโครงการและนำผลสรุปไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป (A)

6.  ระยะเวลาในการดำเนินการ

          วันที่เริ่มโครงการ 1 กรกฎาคม 2563      วันสิ้นสุดโครงการ 10 เมษายน 2564

          โรงเรียนสถานีพรมแดน(รักษาศุขราษฎร์บำรุง)  สำนักงานเขตบางบอน  กรุงเทพมหานคร

7.  งบประมาณ

          เบิกจ่ายจากงบประมาณของโรงเรียนสถานีพรมแดน(รักษาศุขราษฎร์บำรุง) 

8.  ปัญหาและอุปสรรค

               บุคลากรไม่เพียงพอในการดำเนินงาน  ทำให้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          นักเรียนมีทักษะในการจัดการเกษตรในเชิงธุรกิจ และปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน

10. การติดตามผล และประเมินผล

          10.1  วิธีการ

- ประเมินจากการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติโครงการ และกิจกรรม

10.2   ตัวชี้วัด

                    - นักเรียนมีทักษะในการจัดการเกษตรในเชิงธุรกิจ และปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน ร้อยละ 90



ผลจากการปฏิบัติ