สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การส่งเสริมการอ่าน
โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
กระบวนการพัฒนา

๑  วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เช่น นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานการอ่านการเขียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน การจัดการเรียนการสอน    ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นต้น

          ๒  ประชุมสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรและผู้ปกครอง ให้เห็นความสำคัญของการอ่านและการเขียน รวมทั้งครูที่สอนสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยเป็นแบบอย่างที่ดีและมีส่วนร่วมกันส่งเสริมด้านการอ่าน และการเขียนให้กับนักเรียนขณะเรียนในวิชาดังกล่าว

           ๓  ผู้บริหารมอบนโยบาย และร่วมกับคณะครูในการกำหนดรูปแบบการพัฒนารวมทั้งเกณฑ์การประเมินการอ่าน การเขียนที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

               3.2.๔  ดำเนินการตามวัตถุประสงค์โดยมอบหมายให้ครูประจำชั้นดำเนินการปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านผ่านกิจกรรม ดังต่อไปนี้

              - สอนเสริมในเวลาเช้า

              - สร้างสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

              - กิจกรรมพี่ดูแลน้อง

               - กิจกรรมพ่อแม่ดูแลลูก

              - กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

โดยให้นักเรียนฝึกอ่านพยัญชนะต้น ก-ฮ (กำหนดตัวอักษรสีดำ)  ฝึกการอ่านสระ(กำหนดตัวอักษรสีแดง) และฝึกการประสมคำมาตรา ก กา (กำหนดตัวอักษรสีน้ำเงิน) ประกอบด้วยมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตรา และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา  ขณะเดียวกันได้สร้างสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น สร้างสื่อตัวพยัญชนะ ก-ฮ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านเป็นกลุ่ม  เป็นต้น      ในส่วนของกิจกรรมพ่อแม่ดูแลลูก เป็นการกำหนดให้มีแม่ครู พ่อครู รับผิดชอบนักเรียนฝึกอ่านเป็นรายบุคคล นอกจากนั้นโรงเรียนก็ได้เพิ่มเติมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในช่วงของการพักกลางวัน       มีนักเรียนที่เป็นพี่คอยอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมหนังสือให้น้องอ่านก่อนเข้าเรียนช่วงบ่าย ฝึกการอ่านเมื่ออ่านจบแล้วต้องให้พี่หรือเพื่อนที่รับฟังการอ่าน ลงลายมือชื่อว่ามีผลการอ่านเป็นอย่างไร (อ่านคล่อง พอใช้ หรือต้องปรับปรุง) เมื่อถึงกำหนดสัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน ครูทุกคนจะประเมินการอ่านพร้อมกันทุกระดับชั้นและนำผลการประเมินเข้าที่ประชุมเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกิดจากการดำเนินงาน ร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาในเดือนต่อไป

           ๕  ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการควบคุม กำกับและติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลของการจัดกิจกรรมที่ส่งผลต่อการอ่าน และการเขียนของนักเรียนให้กับผู้บริหารสถานศึกษาทุกวันสิ้นเดือน

๖  โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความสามารถด้านการอ่าน การเขียนนักเรียนทุกคน ทุกระดับชั้น ของทุกเดือน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและนำไปพัฒนาเพื่อดำเนินการอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืน

 

 

 

 


ผลจากการปฏิบัติ

จากการดำเนินกิจกรรมทั้ง 5  กิจกรรม ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน และการเขียน  ดังนี้

๑  ความสามารถด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนดีขึ้น จำนวนนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียน

ไม่ได้มีจำนวนลดลง

2  การเขียนของนักเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

3  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกสาระการเรียนรู้พัฒนาขึ้น

4  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ

5  ผู้ปกครองให้ความมั่นใจ พึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนจึงได้นำลูกหลานมาเข้าเรียนเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2565

6 คณะครูจัดกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ มีรูปแบบการประเมินด้านการอ่านในทิศทางเดียวกันทุกระดับชั้น และสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]