สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
สถานศึกษาปลอดภัย
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
กระบวนการพัฒนา

ส่วนที่  1  การเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์

            1. มีบอร์ดหรือนิทรรศการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

    1.1 มีบอร์ดหรือนิทรรศการการเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์

    1.2 มีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

ส่วนที่ 2 : สถานศึกษาปลอดภัย

    2.1 มีนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการประกาศนโยบายให้เห็นได้ชัดเจน

    2.2 มีแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

    2.3 มีบุคลากรผู้ดูแลรับผิดชอบ ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

    2.4 มีคณะทำงาน หรือคณะกรรมการความปลอดภัยของสถานศึกษาที่ชัดเจน

    2.5 มีกฎระเบียบหรือคู่มือ/แนวทางว่าด้วยความปลอดภัยในสถานศึกษาที่เหมาะสม

    2.6 บุคลากรทุกระดับ เช่น อาจารย์ ผู้บริหาร ลูกจ้าง ได้รับการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ตามแผนงานที่กำหนด

    2.7 มีการอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคลากรในสถานศึกษา

    2.8 มีโครงการหรือการดำเนินการเพื่อรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษาที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

    2.9 มีการดูแล สำรวจหรือตรวจสอบ ความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนรวมทั้งนำผลไปปรับปรุงแก้ไข

    2.10 มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องจักร เครื่องมือ (Safeguard) ในสถานศึกษา อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

    2.11 มีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว หรือการต่อสายดินในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

    2.12 มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา เช่น ถังดับเพลิง สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบและการบำรุงรักษาระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ชัดเจน

    2.13 มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาที่ชัดเจน

    2.14 มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นในสถานศึกษา

    2.15 มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในสถานศึกษาประจำปี

    2.16 มีการฝึกซ้อมตามข้อ 15 โดยใช้หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ หรือหน่วยงานที่ได้รับรองเป็นผู้ฝึกสอน

    2.17 มีห้องพยาบาลและอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานศึกษา พร้อมผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

    2.18 มีมาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อให้กับบุคลากร และมีการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วย หรือโรคอันเนื่องจากการทำงานในสถานศึกษา

    2.19 มีห้องส้วม (ที่ถ่ายอุจจาระ และที่ถ่ายปัสสาวะ) และอ่างล้างมือ สำหรับนักเรียน/นักศึกษา แยกชาย-หญิงที่พอเพียง

    2.20 มีการจัดน้ำดื่มที่สะอาด ที่ล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้บุคลากรได้ใช้ก่อนการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม

    2.21 มีการจัดที่รับประทานอาหาร และที่พักที่เหมาะสม และถูกสุขลักษณะ

    2.22 มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยในสถานศึกษา เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ เป็นต้น

    2.23 มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยกับสารเคมีในสถานศึกษาเหมาะสมและปลอดภัย

    2.24 มีการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาจากครู อาจารย์ นักเรียน และมีการนำไปปรับปรุงแก้ไข

    2.25 มีการจัดเก็บข้อมูลสถิติอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยในสถานศึกษา และการวางแผนป้องกันที่เหมาะสม

    2.26 มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม

    2.27 มีหนังสือ ตำรา หรือมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ของบุคลากร

  2.28 มีมาตราการดูแลเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น การจัดระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อคหรือการดูแลยานพาหนะรับ-ส่ง ใบอนุญาตขับรถ เป็นต้น สำหรับนักเรียน/นักศึกษาในสถานศึกษา

    2.29 มีการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมดำเนินการระหว่างชุมชน หรือผู้ปกครอง หรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา

    2.30 มีการจัดตั้งชมรมฯ และจัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา


ผลจากการปฏิบัติ

รางวัล  สถานศึกษาปลอดภัย  "ดีเด่น" ประจำปี  ๒๕๖๓ ปีที่  ๓  ติดต่อกัน