สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการแก้ปัญหาการอ่านในโรงเรียน
โรงเรียนวัดกระโจมทอง
กระบวนการพัฒนา

ชื่อเรื่อง การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดกระโจมทอง

          การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมการอ่าน ทำให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ความสามารถ พฤติกรรมและค่านิยมต่างๆ รวมทั้งช่วยในการพัฒนาชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดและการอ่านยังเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นเสมือนกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่ความกระจ่างในเรื่องราว เหตุการณ์ หรือปัญหานานาประการอีกด้วย และยังช่วยให้มีประสบการณ์ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างความเพลิดเพลินจากการอ่านอีกด้วย การอ่านจึงมีความสำคัญต่อชีวิตในชีวิตประจำวันเราจะใช้ทักษะการอ่านเป็นอันมากเพื่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ยิ่งโลกมีความก้าวหน้า ระบบการสื่อสารมีความเจริญ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว หากเราไม่แสวงหาความรู้ก็จะเป็นคนล้าหลัง ความสำคัญของการอ่านต่อการเรียนถือว่าเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทุกสาระวิชา ถ้าอ่านหนังสือไม่ออก ก็ไม่สามารถสื่อสารการเรียนรู้ได้ ดังที่กำลังเกิดปัญหาในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่าการอ่านเป็นการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ควรส่งเสริมมีนิสัยรักการอ่านเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาความรู้จากการอ่าน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

          กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่อง โดยได้มอบนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปีการศึกษา 2562 ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคน

          จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาการพัฒนาการอ่านเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีคุณภาพและส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านใฝ่หาความรู้มากขึ้น  โรงเรียนวัดกระโจมทองตระหนักถึงความสำคัญและเป็นการสนองนโยบายของกรุงเทพมหานคร จึงจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดกระโจมทองโดยมีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนได้อ่านออกเขียนได้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

          4.1 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

          4.1.1 การทำสอบการอ่านรายเดือน โดยใช้คู่มือการอ่านของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เมื่อสิ้นปีการศึกษา มีผลดังนี้

  

จำนวนนักเรียน

(คน)

อ่านได้คล่องระดับ4

อ่านได้ระดับ3

อ่านไม่คล่องระดับ 2

อ่านไม่ได้ระดับ1

หมายเหตุ

81

57

13

10

1

 

รวม

70

11

 

          จากตารางนักเรียนที่ไม่มีปัญหาการอ่าน จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 86.42  มีความก้าวหน้าร้อยละ 23.46 นักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 13.58 ปัญหารการอ่านลดลงร้อยละ 23.46

 

          4.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

          4.1.3 ผลการทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ( RT) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.70 สูงกว่าระดับสังกัดและระดับประเทศ

          4.1.4 ผลการทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) อยู่ในระดับดี ได้ลำดัยที่ 28 จากจำนวน 436 โรงเรียน ลำดับที่ 2 ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน

 

4.2 ผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน

          ครูผู้สอนมีแนวทางการแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียน

 

4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน

          โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน