สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
“การพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย “การอ่านออกเขียนได้” เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ การทดสอบ NT
โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
กระบวนการพัฒนา

การดำเนินงานแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียน ( ครูประจำชั้น / ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย)

               (P:ขั้นวางแผน)   

1.     คัดกรองนักเรียนและแบ่งกลุ่มนักเรียน   

1.1 ประเมินทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล

- อ่านคำพื้นฐานที่ครูกำหนด  เขียนคำบอกจากคำพื้นฐานนั้น ๆ    อ่านนิทาน / ข้อความสั้น ๆ  บันทึกผลการอ่าน / การเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล                                                 ประเมินผล

                          1.2  แบ่งกลุ่มนักเรียน  ตามผลการประเมินจากแบบคัดกรอง  เพื่อเป็นแนวทางแก้ไข และพัฒนาการอ่านและการเขียนด้วย วิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละกลุ่ม

                                                                                 

                     กลุ่มที่ 1  นักเรียนอ่านคล่อง / เขียนคล่อง

                    กลุ่มที่ 2  นักเรียนอ่านไม่คล่อง / เขียนไม่คล่อง

                      กลุ่มที่ 3  นักเรียนอ่านไม่ออก  / เขียนไม่ได้

 2.  กำหนดกิจกรรมการพัฒนารายกลุ่ม   เป็นการกำหนดวิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น

                  กลุ่มที่ 1  นักเรียนอ่านคล่อง / เขียนคล่อง

-                      อ่านนิทาน / บทความ /  หนังสือ   สรุปบันทึกผลจากการอ่าน

-                      เขียนตามคำบอกทั้งแบบเป็นคำและเป็นประโยค

-                      อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง ( บันทึกลงแบบบันทึกกิจกรรม )

กลุ่มที่ 2  นักเรียนอ่านไม่คล่อง / เขียนไม่คล่อง

-                      อ่านนิทาน / บทความ / หนังสือ  กับเพื่อนหรือครู     
          บอกข้อคิดที่ได้    จากการอ่าน   บันทึกลงในแบบบันทึกการอ่าน

-       เขียนตามคำบอกทั้งแบบเป็นคำและเป็นประโยคสั้น ๆ

-                      อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง ( บันทึกลงแบบบันทึกกิจกรรม )

  กลุ่มที่ 3  นักเรียนอ่านไม่ออก  / เขียนไม่ได้

-                            อ่านใบงานที่กำหนดเป็นรายบุคคล  กับครู

-   เขียนตามคำบอกจากคำที่ให้อ่านเป็นคำง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน

-   อ่านหนังสือกับครู / เพื่อน ทุก ๆ วันอย่างน้อยวันละ 5 10 บรรทัด

-         ศึกษาพัฒนาการ เปลี่ยนแบบฝึกการอ่านที่ยากขึ้นตามลำดับ

-   อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง ( บันทึกลงแบบบันทึกกิจกรรม )

-   ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียน

 (D: ขั้นดำเนินงาน)

                    3. ดำเนินการพัฒนาการอ่าน การเขียน  ตามกิจกรรมตามที่กำหนดตลอดปีการศึกษา

(C: ขั้นติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผล)

4. ประเมินผลการอ่านการเขียนของนักเรียน  เพื่อดูพัฒนาการ การอ่านและการเขียนของนักเรียน        พัฒนาการของนักเรียน ( ดูจากแบบบันทึกความก้าวหน้า )แบบสรุปพัฒนาการของนักเรียน  แบบบันทึกการการอ่าน / การเขียนของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ การเรียนภาษาไทยและกลุ่มสาระอื่น ๆ     ของนักเรียน  ผลการทดสอบระดับชาติ (NT)

                    5.  รวบรวมสรุปผลข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

                             นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านการเขียนดีขึ้นกว่าเดิมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพัฒนาขึ้น                  

ผลการทดสอบระดับชาติผ่านเกณฑ์ สูงกว่าระดับประเทศ )


ผลจากการปฏิบัติ

นักเรียนมีผลการทดสอบ NT วิชาภาษาไทยสูงขึ้น


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]