สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 Ricoh R-Cademy Part 1 Award FY19
โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Ricoh R-cademy 1 ปีการศึกษา 2562

การลดประเภทขยะชนิดต่าง ๆ ในคลองหนองบอน

โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

 

Ricoh R-cademy เป็นสถาบันของริโก้ ดำเนินการสอนให้ความรู้ด้านกระบวนการแก้ไขปัญหา ภายใต้แนวคิด KAIZEN, KAIZEN เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การเปลี่ยนแปลง”เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไป โดยริโก้นำเอาหลักการ PDCA (Problem Solving Step) เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีระบบในการคิด (Systematic thinking) คิดแก้ไขปัญหาด้วยเหตุด้วยผล (Scientific Thinking) โดยใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงในการตัดสินใจแก้ปัญหา (fact based management - Gemba) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork) หลักการเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของ KAIZEN เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

ประกอบกับ Ricoh R-cademy เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกทักษะในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและอย่างสร้างสรรค์ (Problem Solving Systematic Thinking with Creative Thinking Abilities) และเป็นกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก  โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Community Base Learning) โดยเน้นให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน เน้นการพัฒนาทักษะ กระบวนการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น จนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย

 

Kaizen ดำเนินการตามแนวทาง P-D-C-A  หรือเรียกว่า “Deming Cycle” หรือ“Control Cycle”


ผลจากการปฏิบัติ

การตรวจสอบและประเมินผล เน้นให้ผู้เรียนตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดจากการแก้ไขปัญหา โดยเปรียบเทียบสถิติตัววัดความสำเร็จของโครงการ ก่อนการแก้ไข หลังการแก้ไข อ้างอิงจาก Step 4 เก็บสถิติจำนวนประเภทขยะชนิดต่าง ๆ ในคลองมาเทียบเคียงก่อนหลังการแก้ไขปัญหาเพื่อแสดงถึงความสำเร็จเมื่อเทียบกับเป้าหมาย

ผลการตรวจสอบจากจำนวนประเภทขยะชนิดต่าง ๆ ในคลอง ก่อนการโครงการจำนวน 15 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 100  หลังทำโครงการลดลงเหลือ 3 ชนิด จำนวนประเภทขยะชนิดต่าง ๆ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 80 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งได้จัดทำเป็นกราฟ เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน


          วัตถุประสงค์
         
1.   สามารถตรวจสอบและประเมินผลจุดที่ได้แก้ไขไปแล้ว ว่ายังเกิดผลกระทบอีกหรือไม่ได้

2.   แสดงผลเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจทำเป็นกราฟ
     หรือแผนภูมิเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน

เครื่องมือ

-          กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าตัววัดกับเป้าหมาย (ก่อน และหลังการแก้ไขปัญหา)

-          รูปภาพแสดงสถานที่จริงก่อน หลัง

จากผลการดำเนินการที่ได้รับ นักเรียนได้นำเอามาตรการที่กำหนด มาจัดทำเป็นมาตรฐาน แล้วทำการสื่อสาร หรืออบรม หรือทำป้าย บอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบถึงมาตรฐานที่จัดทำขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ หรือกำหนดบทบาทหน้าที่ให้เกิดการดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างยั่งยืนถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินการให้คงอยู่อย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์
         
1.  นำมาตรการการแก้ไขปัญหาที่กำหนดมาจัดทำเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อไปได้
         
2.  จัดทำไวนิล กำหนดมาตรการรณรงค์ ไม่ทิ้งขยะลงคลอง และนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนตกลงยอมรับ และปฏิบัติตามทุกคน

เครื่องมือ

-          ป้ายประชาสัมพันธ์ร่วมรณรงค์ ไม่ทิ้งขยะลงคลอง


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]