สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
วิชาการก้าวไกล ไหว้แบบไทยอย่างสวยงาม
โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
กระบวนการพัฒนา

๑. กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต

          การส่งเสริมนักเรียนทางด้านวิชาการ เป็นแนวคิดที่สถานศึกษามุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาทางด้านคุณภาพ
การทดสอบระดับชาติ (
RT, NT, O-NET) ให้มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาซึ่งเป็นเหตุผล
ต่อการทดสอบระดับชาติ และปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน คือ นักเรียน จากปัจจัยนั้นจะส่งผลให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน คือ การไหว้ สถานศึกษาได้ตระหนักถึงคุณค่าของการไหว้การทักทาย เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามและวิธีปฏิบัติตามแบบขนมธรรมเนียมไทยให้กับนักเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน อีกทั้งยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย
ให้ดำรงอยู่ต่อไป

สภาพทั่วไป

โรงเรียนวัดดิสหงสารามตั้งอยู่เลขที่ 9 ซอยโรงเรียนมักกะสันพิทยา ถนนเพชรบุรีตัดใหม่  แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร หมายเลขโทรศัพท์ ๐
-๒๕๒-๙๙๓๔ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน ย้ายภูมิลำเนาตามผู้ปกครองมาจากต่างจังหวัด เพื่อมาประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขายในเมืองหลวง บ้านพักที่อยู่อาศัยสภาพเป็นบ้านเช่า บางคนอาศัยอยู่กับญาติ ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ปกครองจึงไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนนักเรียนในทุกด้าน ทั้งด้านการเรียน และความประพฤติ จึงเป็นหน้าที่หลักของโรงเรียนที่ต้องต้องช่วยดูแลนักเรียนให้เป็นผู้มี ความรู้ คู่คุณธรรม

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติเพิ่มขึ้น

2. เพื่อปลูกฝังมารยาทในการไหว้และสืบทอดวัฒนธรรมการไหว้ของไทยได้ถูกต้อง

          3. เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญในการไหว้ของไทยในลักษณะต่างๆ

เป้าหมาย

          ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

                   - นักเรียนทุกคนในโรงเรียนวัดดิสหงสาราม

          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

                   - นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ (RT, NT, O-NET) มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น

- นักเรียนทุกคนไหว้แบบไทยได้อย่างถูกต้องสวยงาม

๒. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ขั้นที่ ๑

- วางแผนพัฒนาด้านการอ่านให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นในกิจกรรม “อ่านเปลี่ยนชีวิต” ด้วยวิธีการสอนอ่านให้กับนักเรียน ในช่วงเวลา 07.30 – 08.20โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น หนังสือนิทาน แถบประโยค และพัฒนาการสอนอ่านด้วยการใช้อักษร 5 สี (ตามทฤษฎีของครูจิราพร มีศรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเขาดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2)

- ครูอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการไหว้ให้กับนักเรียน เพื่อฝึกปฏิบัติการไหว้ในระดับต่างๆ เช่น การไหว้พระ การไหว้ผู้ใหญ่ ระหว่างเวลา 08.20 น.– 08.30 น. และ ๑๒.๐๐น. - ๑๒.๓๐ น.

ขั้นที่ ๒

- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม เก่ง กลาง อ่อน โดยวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและหลากหลาย โดยให้ผู้เรียนเน้นการปฏิบัติตามศักยภาพของตนเอง ใช้ใบงานที่แบ่งตามความสามารถและมีการประเมินผลตามศักยภาพของผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม

- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมประกวดการไหว้เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นเข้าร่วมประกวดแข่งขันในกิจกรรม
“ไหว้สวยงาม ตามแบบไทย”

ขั้นที่ ๓

- สอนเสริมให้กับนักเรียนในเวลา 15.30 น. – 16.30 น.ทุกวันทำการและทดสอบเพื่อดูความสามารถ
และพัฒนาการของนักเรียน

- ดำเนินกิจกรรมการประกวดไหว้ในช่วงเวลา 12.00 น.  – 12.30 น. โดยแบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1. ประกวดระดับสายชั้นห้องเรียนที่ชนะการประกวดในระดับสายชั้นจะเป็นตัวแทนประกวดในระดับโรงเรียนต่อไป 2. ประกวดระดับโรงเรียนแบ่งการประกวดเป็น 2 ช่วงชั้นดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นอนุบาล –ประถมศึกษาปีที่ 3 และ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ห้องเรียนที่ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลและเกียรติบัตร

ขั้นที่ ๔

- หลังจากการทดสอบความสามารถของนักเรียนแล้วครูเขียนบันทึกหลังการสอนหากพบนักเรียนที่มีปัญหา จึงจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนให้มีพัฒนาการในการเรียนที่ดีขึ้นต่อไป

- หลังจากการประกวดเสร็จสิ้นครูเวรประจำวัน ครูประจำชั้น และครูประจำวิชา สังเกตพฤติกรรมการไหว้ของนักเรียน ทั้งในตอนเช้าหรือในชั่วโมงเรียน และคอยให้คำแนะนำนักเรียนที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

ขั้นที่ ๕

- ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา

๓. ผลการดำเนินงาน

          - นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการทดสอบประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๓.๓๓ ซึ่งมีผลการอ่านสูงกว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๖๙.๙๑ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘.๔๒

          - นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (National Test : NT) ปีการศึกษา๒๕๖๑ ด้านคำนวณคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๒.๑๐ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๐ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๓๐.๘๑ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๒๙ และด้านเหตุผล คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๕.๘๕ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๐ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๔.๒๓ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๓.๐๒ และผลรวมทั้ง ๓ ด้าน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๕.๘๕  เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๐ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๒.๕๐ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๓.๓๕

          - นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ผ่าน ๒ รายวิชา คือ 1) วิชาภาษาไทยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๕๖.๗๘ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๙ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๕๐.๙๓ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕.๘๕ และปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๖.๐๖ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐.๗๒ 2) วิชาภาษาอังกฤษคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ ๓๙.๒๔ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๕๙ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๓๑.๒๙ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๙๕ และปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๓๐.๖๕ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๕๙

- นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมไหว้สวยงาม ตามแบบไทยห็นคุณค่าความสำคัญในการไหว้ของไทยในลักษณะต่างๆ และไหว้แบบไทยได้อย่างถูกต้องสวยงาม


          


ผลจากการปฏิบัติ

๔. บทเรียนที่ได้รับ

          เน้นวิธีการแก้ไขปัญหาเป็นรายบุคคล จากนักเรียนที่มีความแตกต่างและหลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย

๕. ปัจจัยความสำเร็จ

โรงเรียนใช้หลักการ “ทฤษฎีระบบ” เพื่อดำเนินแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ดังนี้

          - องค์ประกอบแรกที่นำไปสู่การดำเนินงาน คือ พัฒนาสภาพแวดล้อม ห้องเรียน โรงเรียน ชุมชน และครูที่มีความพร้อม มีจำนวนที่เพียงพอต่อนักเรียนสอนตรงตามวิชาเอก มุ่งพัฒนานักเรียนให้ผ่านการทดสอบระดับชาติ 
(
RT, NT, O-NET) และสืบสานวัฒนธรรมของไทยไว้ด้วยการไหว้เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องสวยงาม

          - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยใช้หลักการของ PDCA ให้เป็นระบบมากขึ้นเพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

          - ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยนักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ 
(
RT, NT, O-NET) มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน และตระหนักถึงคุณค่าของการไหว้การทักทายเพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม

๖. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ หรือรางวัลที่ได้รับ

          - ผลการทดสอบการเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2561

มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2560 สูงกว่าระดับกรุงเทพมหานคร และระดับประเทศ

          - ผลการทดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (National Test : NT) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ๒ ด้าน จากปีการศึกษา ๒๕๖๐ คือ ด้านคำนวณ ด้านเหตุผล และรวมความสามารถทั้ง ๓ ด้าน

          - ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET)

ปีการศึกษา 2561 มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น 2 รายวิชาจากปีการศึกษา ๒๕๕๙ -๒๕๖๐ คือ วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ

          - นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมไหว้สวยงาม ตามแบบไทยสามารถไหว้แบบไทยได้อย่างถูกต้องสวยงามหลังจากการประกวดได้รับรางวัลและรับเกียรติบัตร