สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นวัตกรรมป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนวัดแสมดำ
กระบวนการพัฒนา

1. เกริ่นนำ     

          ชุมชนแสมดำที่โรงเรียนตั้งอยู่มีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งเมือง สภาพความเป็นอยู่ของคนท้องที่ คือ การทำนากุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงปู พื้นที่เป็นป่าชายเลน ผู้ปกครองจะสนใจและเห็นความร่วมมือต่อกิจกรรมของโรงเรียน ส่วนนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งจะเป็นนักเรียนที่โยกย้ายตามบิดามารดาผู้ปกครองมาทำงานรับจ้าง ซึ่งจะไม่มีเวลาในการติดต่อสัมพันธ์กับทางโรงเรียน

          สภาพชุมชนเป็นป่าชายเลน ทำให้เหมาะแก่การเรียนรู้ของนักเรียน ในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพืช และสัตว์ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชชายเลน และยังมีลิงแสมฝูงสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนักเรียนได้จัดทำโครงงานหน่วยพิทักษ์ลิงแสมขึ้น การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการเชิญวิทยากรจากชุมชนจากชุมชนมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมพื้นบ้านและชาวแสมดำ


สภาพทั่วไป

ป่าชายเลนผืนสุดท้าย เป็นแหล่งนวัตกรรมการเรียนรู้

          “วัดแสมดำโรงเรียนวัดแสมดำ แสมดำคืออะไร เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนที่เคยผ่านไป จังหวัดสมุทรสาคร มักจะมีคำถามในใจ เช่นเดียวกับขอนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจากโรงเรียนวัดแสมดำโดยการนำของครูอรุษ แพงคำอ้วน ถามและแสวงหาคำตอบมาแล้ว ด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ ด้วยการ ตามล่าหาแสมดำและได้คำตอบแล้วว่า แสมดำเป็นชื่อพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนใกล้ ๆ โรงเรียนนี่เอง เป็นที่อยู่ของปู และลิง จึงไม่แปลกที่เราจะเรียกปูแสม  ลิงแสม การเรียนรู้แบบนักอนุรักษ์เป็นไปอย่างสนุกสนานจนได้รับรางวัลเหรียญทองมาแล้ว ป่าชายเลนแห่งนี้มีเพียง 4 ไร่ และคุณยายเจ้าของรักมาก เพราะมันเป็นผืนสุดท้ายที่ชาวกรุงเทพจะมีโอกาสได้เห็นคุณยายมอบให้โรงเรียน โรงเรียนใช้เป็นห้องเรียนธรรมชาติ วันนี้อยากให้คุณยายรับรู้ว่า ป่าชายเลนผืนนี้จะไม่มีวันสูญหายเพราะครูอรุษ แพงคำอ้วน และนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ๆ ของเขาอย่างหวงแหน


 ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          ชื่อโครงการ กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติป่าชายเลนผืนสุดท้ายมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ในสภาพจริง เป้นการส่งมอบจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสู่เยาวชนรุ่นต่อรุ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่ครูจำนวน 60 คน เป้าหมายรองที่นักเรียนทุกคน

 

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

              1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหลักมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการจัดการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยห้องเรียนธรรมชาติ

              2. เพื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมศึกษา จากห้องเรียนธรรมชาติ

        3. เพื่อให้ทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้ในความสำคัญของห้องเรียนธรรมชาติ ป่าชายเลนผืนสุดท้าย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรักและหวงแหนห้องเรียนธรรมชาติ


เป้าหมาย

          ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

                   นักเรียนทั้งหมด 1200 คน

                   ครูและบุคลากรทางการศึกษา 60 คน

          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

                   ความรู้ความเข้าใจสุขภาวะทางกาย จิตใจ อารมณ์ และปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชายเลน

 

2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow chart ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          เมื่อเข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและ สสส. ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับขั้น คือ

          1. ฝึกอบรมครูและบุคลากร เรื่อง กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนและพัฒนาครูแกนนำสุขภาวะ 10 คน

          2. การศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี 

          3. การจัดทำหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน

      การทำโครงงาน เพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน เช่น โครงงานตามหาปลาตีน โครงงานช่วยนกรักษาสายใยอาหาร รักษาระบบนิเวศให้สดใส โครงงานหลังคาบ้านลดโรคร้อน โครงงานถ่านจากใบพืชป่าชายเลน โครงงานปุ๋ยชีวภาพจากพืชชายเลน โครงงานเพาะกล้าไม้สวยงาม ฯลฯ

          4. การจัดค่ายกิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน (ปฐมวัย - มัธยมศึกษาปีที่ 3)

          5. นิทรรศการสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน

          6. การจัดเข้าชมรมสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน


โครงงานน่ารู้ นวัตกรรมตื่นตา

          - โครงงาน Bag To Cleaning

          - โครงงาน ช่วยนกรักษาสายใยอาหาร รักษาระบบนิเวศให้สดใส

          - โครงงาน แพรสลายคลื่น ฟื้นฟูธรรมชาติให้ยั่งยืน

          - โครงงาน ลูกกลิ่งสมุนไพรชายเลน Two In One ช่วยรักษาระบบประสาทแบะคลายกล้ามเนื้อ

          - โครงงาน สเปรย์เหงือกปลาหมอ ฯลฯ

 

โคงงานเด่น เน้นนวัตกรรม

          การแปรรูปพืชชายเลนเป็นผลิตภัณฑ์ 3 ด้านต่าง ๆ เช่น ใบชาเหงือกปลาหมอ แชมพูเหงือกปลา สบู่เหลวเหงือกปลาหมอ

          การปรุงอาหาร เครื่องดื่มจากพืชชายเลน เช่น ก๋วยเตี๋ยวชะคราม ข้าวไข่เจียวชะคราม ลูกจาก 3 รส ขนมจากสูตรใหม่ แกงส้มปรงทะเล ชะครามแช่อิ่ม ฯลฯ




ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินการ

          ผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ พบว่า

                   1. ครูและบุคลากรได้รับความีรู้ ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน แนวทางการแก้ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชาย

                   2. ครูประยุกต์สุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยสามารถวิเคราะห์หลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ นำมาบูรณาการในวิชาและบูรณาการเข้ากลุ่มสาระ

                   3. ได้พัฒนาครูแกนนำสุขภาวะ 10 คน เพื่อเป็นวิทยากรหลักในการจัดกิจกรรมสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนประจำโรงเรียนติดตามยั่งยืน

                   4. นักเรียนได้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าค่ายกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนตั้งแต่ปฐมวัย – มัธยมศึกษา โดยมีฐานการเรียนรู้ 8 ฐาน เช่น

                             4.1 สุขภาวะทางอารมณ์ กับ ดนตรีรีไซเคิล

                             4.2 สุขภาวะทางกาย กับ สุขศึกษาและพลศึกษา

                             4.3 สุขภาวะทางปัญญา กับ คณิต - วิทย์

                             4.4 สุขภาวะทางสังคม กับ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

                             4.5 สุขภาวะทางจิตใจ กับ การงานอาชีพ

                   5. จัดตั้งชมรมสุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยมีสมาชิกตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน ผลงานชมรมสุขภาวะ

                   6. นวัตกรรมด้านนักเรียน ครู และผู้บริหาร เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์
ป่าชายเลน คู่มือค่ายเรารักษ์ป่าชายเลน แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนทรงคุณค่า ฯลฯ


4. บทเรียนที่ได้รับ สรุปเป็นโมเดลนวัตกรรมป่าชายเลน

  • โมเดลนวัตกรรมป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร 8 ชั้น
    1. ครูรู้และเข้าใจ ป่าชายเลน
    2. ครูวิเคราะห์นำไปบูรณาการณ์สุขภาวะวิชาต่าง ๆ
    3. สร้างครูแกนนำสุขภาวะ เพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน
    4. จัดกิจกรรมบูรณาการในวิชา/ข้ามกลุ่มสาระ
    5. จัดค่ายสุขภาวะ ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทีม
    6. นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้สุขภาวะ
    7. จิตใจดีงามรักษาป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร
    8. นวัตกรรมการเรียนรู้ 3 มิติ

    8.1 นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้

    8.2 ครูมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

    8.3 ผู้บริหารมีการสร้างกระบวนการจัดการอย่างสร้างสรรค์


ปัจจัยของความสำเร็จ

          5.1 การระดมความคิดร่วมกัน

          5.2 การทำงานเป็นทีม

          5.3 ความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

          5.4 การบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร

          5.5 การใช้จุดเด่นบริบทของโรงเรียน ป่าชายเลนเป็นการขับเคลื่อนนวัตกรรม


การเผยแพร่/ การได้รับการยอมรับ/ หรือรางวัลที่ได้รับ

          นวัตกรรมป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร โดยดำเนินการภายใต้โครงการ การจัดการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนได้นำเสนอเวทีระดับชาติ เครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ณ โรงแรมโนโวเทล เมืองทองธานี 21 – 23 ตุลาคม 2561 และได้รับรางวัลทุนสนับสนุนจาก ส.ส.ส.และได้รับคัดเลือก “The best Project” การสัมมนาวิชาการนานาชาติ เดือน พฤษภาคม 2562 ร่วมกับ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]