สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนการดำเนินการ
       1.  ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการฝึกทักษะการทำงานให้มีความเป็นเลิศทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง
       2.  ดำเนินการโดยมีการกำหนดกิจกรรม ดังนี้
                -  กิจกรรมปลูกผักกางมุ้ง

                -  กิจกรรมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

                -  กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า

                -  กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่

        3. นำผลผลิตที่ได้นำมาประกอบอาหารและนำไปแปรรูปเพื่อจำหน่าย



ผลจากการปฏิบัติ

ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน    
     1.  โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมทางด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น  โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  โรงเรือนปลูกผักกางมุ้ง โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ เป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชน

      2.  ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธาต่อผู้ปกครองและชุมชน

      3.  โรงเรียนสามารถนำผลผลิตไปใช้ในการประกอบอาหารเพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้กับนักเรียน

ผลที่เกิดขึ้นกับครู

       1.  ครูมีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       2.  ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะในด้านการเกษตร เช่น การปลูกผักกางมุ้ง ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพาะเห็ดนางฟ้า เลี้ยงไก่ไข่

ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
       1.  นักเรียนเกิดแรงจูงใจในด้านการทำเกษตรแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       2.  นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ในโอกาสต่อไป


 ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
       1.  ชุมชนมีความภาคภูมิใจต่อโรงเรียนและช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น

       2.  ชุมชนสามารถเข้าร่วมกับโรงเรียนในการให้ความรู้เป็นวิทยากรท้องถิ่นให้กับนักเรียน

ปัจจัยความสำเร็จ

       1.  โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนกิจกรรมตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        2.  ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน

        3.  หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

        4มีการเผยแพร่สารคดีทางโทรทัศน์ด้านการดำเนินการกิจกรรมด้านการเกษตรของโรงเรียน

        5.  โรงเรียนในเครือข่ายได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการเกษตร