สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข ยุคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
กระบวนการพัฒนา

แบบรายงานแนวปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  (Best   Practice)

“ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข ยุคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)  สำนักงานเขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร

1. ความเป็นมาและความสำคัญของแนวปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ

ภายใต้พลวัตของข้อมูลข่าวสารและการคมนาคม  ในสภาพการณ์ปัจจุบัน  ทำให้โลกที่กว้างใหญ่คับแคบลง  การเตรียมความพร้อมของประชาชนที่มีคุณภาพของชาติ  จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในยุคปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ ความคิด ที่ต้องอาศัยทักษะในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ  ส่งผลให้นานาประเทศต่างปรับเปลี่ยนเป้าหมายไปสู่      การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องอาศัยการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพของ “คน” การศึกษาจึงมีความสำคัญที่สุดในการสร้างชาติ  ระบบการการศึกษาของไทยภายหลังการปฏิรูปการศึกษาได้เริ่มให้ความสำคัญในการส่งเสริมการคิดให้แก่เด็กและเยาวชน  ดังปรากฏในเป้าหมายของหลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะว่า การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เข้าใจหลักการ  ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานความรู้ทางศิลปะและมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  ที่สะท้อนผลถึงทักษะกระบวนการสร้างสรรค์ที่ใช้แนวคิด การตอบสนองของความรู้สึก  โดยผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ  ที่เรียกรวมกันว่า  “ผลงานศิลปะ”

การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  นั้นมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อก่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต  เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้ฝึกทักษะการคิด  โดยมีการวางเงื่อนไขและกติกาในการร่วมกิจกรรม  ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนทักษะการสื่อสารที่ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก โดยผู้เรียนจะมีโอกาสนำเสนอสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ขึ้นมาและครูมีเพียงบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ

          เพื่อให้การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสมบูรณ์  ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ  ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ทั้งวิชาที่เป็นศาสตร์และศิลป์  เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวาอย่างสมดุล  โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์) ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการประชุมและกำหนดอัตลักษ์ของโรงเรียนว่า “ศิลปะสร้างสรรค์  สร้างสุข”โดยทางโรงเรียนมีนโยบายสร้างเสริม ให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพในด้านต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทัศนศิลป์   ผ่านการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการ     บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจินตนาการ  มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถเป็นผู้มีศักยภาพอย่างเหมาะสมในสังคมยุคปัจจุบันสามารถที่จะสื่อสารความรู้ความคิดได้กับคนทั่วประเทศและทั่วโลกผ่านผลงานทางศิลปะ

 

2. วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน

          2.1 วัตถุประสงค์

                   1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชา

                   2) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งสองซีกอย่างเป็นระบบ ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ

           2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน

2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ                           

นักเรียนทุกระดับชั้นได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 90        

2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1) นักเรียนทุกระดับชั้นมีความพึงพอใจ ที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

๒) โรงเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน  มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

3. กระบวนการการดำเนินการ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best  Practice

          3.1 กลุ่มเป้าหมายในการทำ Best   Practice ไปใช้ใด้แก่ นักเรียนทุกระดับชั้น  คุณครูทุกคน/นักเรียนและครูแกนนำที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่น

          3.2 ขั้นตอนในการพัฒนา Best   Practice

                    3.2.1 ประชุมสร้างความตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาผู้เรียน โดยการพัฒนาสมองสองซีก ผานกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ โดยวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้บริหาร  คณะครู ผู้ปกครอง

                   3.2.2 ผู้บริหารและคณะครูเข้ารับการอบรมและพัฒนาทักษะเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ การเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ (สนับสนุนโดยมูลนิธิชิน โสภณพนิช)

                   3.2.3 ผู้บริหารและคณะครูนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการวิชาศิลปะ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

                   3.2.4 คณะครูนำความรู้เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละวิชา  ตามธรรมชาติวิชาของตนเอง  โดยมีการนำเอาวิชาศิลปะมาบูรณาการข้ามกลุ่มสาระด้วย/ครูและนักเรียนแกนนำที่มีความสามารถพิเศษ ใช้เวลาว่างฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม

                   3.2.5 ครูและนักเรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งสองซีก โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  พร้อมกับการบูรณาการวิชาศิลปะ

                   3.2.6 จัดแสดงผลงานของทุกกลุ่มสาระ  ในนิทรรศการวิชาการประจำปีของโรงเรียน/นักเรียนและครูกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ นำผลงานไปร่วมประกวดแข่งขัน

                   3.2.7 นักเรียนและผู้ปกครองประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมดังกล่าว

                   3.2.8 ผู้บริหารและคณะครู นำผลที่ได้รับ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้ต่อไป

 

 ผังการดำเนินงาน

(FLOW CHART)

“ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข ยุคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

4.การตรวจสอบคุณภาพ Best  Practice

   วิธีการ  การประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน

   ผลการตรวจสอบคุณภาพ

          4.1 ความพึงพอใจของคณะครูที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100

          4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100

          4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100

 

5. แนวทางในการนำ Best  Practice ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

          5.1 คุณครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

          5.2 นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

          5.3 ครูสามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ในการฝึกฝนนักเรียนในการเข้าร่วมประกวดแข่งขันประเภทต่าง ๆ

 

6. ปัจจัยความสำเร็จของ Best  Practice

           6.1 ความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกที่สนับสนุน ส่งเสริม

          6.2 มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

          6.3 ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

 

7. บทเรียนที่ได้รับ

          โรงเรียนมีนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  คิดเป็นร้อยละ 100  นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนคือ “ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข”



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ผลจากการปฏิบัติ

8. ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา Best  Practice

          8.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ

8.1.1 นักเรียนทุกระดับชั้นได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 100         

   8.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ

8.2.1 นักเรียนทุกระดับชั้นมีความพึงพอใจ ที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

8.2.2 โรงเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน  มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

8.2.3 ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากหน่วยงานภายนอก

 9. การเผยแพร่ผลงาน

          9.1 หนังสือการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง CCE ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ

          9.2 สูจิบัตรงานแสดงนิทรรศการศิลปะภาพวาด ๒๕๖๓ “The Heart of Giving

          9.3 นิทรรศการ ศิลปะภาพวาด ๒๕๖๓ “The Heart of Giving” ณ หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร

          9.4 นิทรรศการภาพวาด โครงการกล้าใหม่ใฝ่รู้ ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

   9.5 การนำเสนอการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning  ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

   9.6 การนำเสนอการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวทาง CCE  ณ โรงแรม อเล็กซานเดอร์

   9.7 การจัดแสดงผลงานทางวิชาการ นิทรรศการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563

   9.8 เฟซบุ๊ค โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)