สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การนิเทศเพื่อยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ
โรงเรียนวัดท่าพระ
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดท่าพระมีกระบวนการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนที่ใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม  โดยสร้างความตระหนักให้กับครู  บุคลากรตามทฤษฎีต่าง ๆ ดังนี้

1.      ทฤษฎีการเสริมแรงของ Skinner  ผู้บริหารได้นำหลักทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้กับครู  เพื่อเป็น

การกระตุ้นสร้างกำลัง  การเสริมแรงบวกผู้บริหารได้ให้คำชม  คำแนะนำ  มอบรางวัลให้แก่ครูและบุคลากร        ที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมแก่นักเรียน  การเสริมแรงลบของผู้บริหาร  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดสิ่งเร้า          ที่กระตุ้นให้เกิดประโยชน์  ไม่ได้มีเจตนาที่จะตำหนิการทำงาน  แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงผลักที่ดีขึ้น

2.      ทฤษฎีการวัดและเปรียบเทียบการปฏิบัติกับโรงเรียนที่สามารถทำได้ดีกว่า  เพื่อนำผลของการ

เปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงโรงเรียนของตนเอง  เพื่อนำผลจากการนำทฤษฎีมาใช้เทียบเคียงทำให้เราทราบว่าโรงเรียนนั้น ๆ มีกระบวนการอย่างไร (Benchmarking) ผู้บริหารนำมาเป็นกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน  โดยจะสำรวจและพิจารณาว่า มีสภาพแวดล้อมใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น กว่าเดิม  และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นหรือองค์กรอื่น ๆ แล้วนำมาปรับใช้กับโรงเรียน             ในงานวิชาการเช่นเดียวกันจะศึกษาถึงความสำเร็จของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่ามีการจัดการศึกษาอย่างไร            มีกระบวนการอย่างไรที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น  และสอบ O-NET ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยการวิเคราะห์ปัญหาของทางโรงเรียน  และวางแนวทางการพัฒนานักเรียนโดยนำกระบวนการของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จมาปรับประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น  หรืออาจมองว่าเป็นกระบวนการเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่น  เพื่อการสะท้อนให้เห็นถึงการเปรียบเทียบระหว่างกันเพื่อให้เห็นจุดแตกต่างกับผู้ที่เหนือกว่าหรือเก่งกว่า  และการเรียนรู้และการพัฒนาจากผู้ที่เก่งกว่านั้นจะทำให้โรงเรียนมีเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาทฤษฎี (Benchmarking)          จึงเป็นกลไกในการพัฒนาและนำไปสู่การจัดการบริหารโรงเรียน  เพื่อวัดหรือเปรียบเทียบสมรรถนะของตนกับผู้เก่งกว่าหรือเก่งที่สุด  และเรียนรู้วิธีการเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศหรือเหนือว่าในด้านนั้น ๆ เมื่อเข้าสู่การแข่งขัน

3.      ทฤษฎีการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพของ Deming  เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ

ของการดำเนินงาน  โดยมีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน อย่างเป็นระบบ  ผู้บริหารใช้ทฤษฎีนี้เป็นตัวกำหนดคุณภาพการทำงานของครูและบุคลากรในโรงเรียน  เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษา  และการจัดการบริหารงานทั้ง 4 งานในโรงเรียน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้ง 4 ขั้นตอน  ดังนี้

          ขั้นที่ 1  การวางแผน (Plan - P) การวางแผนในการนิเทศภายในของโรงเรียน  มีการสำรวจข้อมูลความต้องการของครูและบุคลากร  ในการที่จะร่วมกันพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน  การกำหนดเป้าหมาย            ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการรับข้อมูลเพื่อการเตรียมการอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่วางไว้  ขั้นตอนของการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน  เพื่อให้ผู้รับผิดชอบนั้นปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  มีการกำหนดระยะเวลา  ผู้รับผิดชอบ  และทรัพยากรที่จะต้องใช้  เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบาย  และความต้องการตามบริบทของโรงเรียน

 

 

-8-

 

          ขั้นที่ 2  การปฏิบัติตามแผน (DO - D) คณะครู  และบุคลากรได้ร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อย  จึงเริ่มดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ตามกำหนดและกรอบของเวลา  โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษา  มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทำงานอย่างมีความสุข  ดังนี้

1)     การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก  สนับสนุนทรัพยากร  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพ  และเพียงพอ

2)     กำกับ  ติดตาม  เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

3)     ให้การนิเทศในระหว่างการปฏิบัติงาน  ผู้บริหารถานศึกษา  และหัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับการ

แต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินการนิเทศ  ต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้            หรือมีปัญหาหรือไม่  หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข  การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี  เช่น  ปัญหาในด้านการใช้สื่อการสอนเทคโนโลยี  การเยี่ยมชั้นเรียนเพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำในเรื่องการจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน  เป็นต้น  ผู้บริหารสถานศึกษาอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคคล  จัดประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้  หรือให้แต่ละบุคคลรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน  ซึ่งอาจเป็นการรายงานปากเปล่า  หรือจัดทำรายงานเสนอเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป  เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน  การประเมินตนเองและทักษะในด้านต่าง ๆ โดยผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศหรือเชิญวิทยากร  เช่น  ศึกษานิเทศก์  ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้การนิเทศหรือส่งบุคคลไปฝึกอบรม

ขั้นที่ 3  การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C) การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา  เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใดหรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องใดบ้าง  เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสม  การดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานทางโรงเรียนมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะ ๆ  เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน  และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด  มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด  มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุง  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด  และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุป  เพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการในระยะต่อไป

ขั้นที่ 4  การพัฒนา/ปรับปรุงแก้ไข (Action - A)  การประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วนำผลให้กับ

คณะกรรมการที่รับผิดชอบซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์  สังเคราะห์  แปลผลในภาพรวมทั้งหมด  แล้วนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาและที่ประชุม  เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป

          เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  และการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT) โดยใช้กระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด  ร่วมรับผิดชอบ  มีเป้าหมายให้สถานศึกษาพึ่งพาตนเองทางด้านวิชาการได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาโดยองค์รวม  ใช้การนิเทศแบบมีส่วนร่วม  เป็นรูปแบบการนิเทศที่ใช้ดำเนินการ  ดังนี้

๑.      ร่วมคิด  ร่วมทำ กับคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน  โดยมุ่งทางวิชาการตามความต้องการ

ของสถานศึกษา

๒.      ประสานงานให้เกิดความพร้อมในการพัฒนางาน  และพัฒนาบุคลากร

๓.      ผู้เกี่ยวข้องกับการนิเทศ  กำหนดแผนงาน  และโครงการพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับการ

พัฒนาสถานศึกษา

 

-9-

 

๔.      สนับสนุนให้สร้างบรรยากาศที่ดีในการนิเทศ

๕.      ร่วมกับสถานศึกษาในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

๖.      ส่งเสริมให้สถานศึกษานำยุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาไปใช้ในสถานศึกษา  โดยวิธีต่าง ๆ  การใช้

หลักการการนิเทศภายใน  โดยความพยายามของผู้บริหารโรงเรียนในอันที่จะปรับปรุงส่งเสริมประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอนให้ดีขึ้น  ทำให้เกิดการเพิ่มพลังในการปฏิบัติงานของครู  รวมทั้งให้ครูเกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ  และก่อให้เกิดผลขั้นสุดท้ายคือ  การศึกษาของนักเรียนที่มีพัฒนาการก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระบวนการนิเทศภายใน  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหา  และความต้องการ  ประกอบด้วย  การสำรวจปัญหา  การจัดระบบข้อมูล  การวิเคราะห์ผลการเรียน  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สำรวจการใช้อุปกรณ์  และการประเมินผลการจัดการศึกษาที่ดำเนินการที่ผ่านมา

ขั้นตอนที่ 2  การวางแผน  และการกำหนดทางเลือก  ประกอบด้วย  การกำหนดขอบข่ายการนิเทศภายใน  การกำหนดผู้รับผิดชอบและวิธีการจัดทำแผนโครงการ  ประชุมชี้แจง  ประชาสัมพันธ์และการประเมินการวางแผนนิเทศ

ขั้นตอนที่ 3  การสร้างสื่อ  เครื่องมือ  และพัฒนาวิธีการ  ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการใช้สื่อ  เครื่องมือ  การจัดหาวัสดุอุปกรณ์  การส่งเสริมการผลิตสื่อ  เครื่องมือ  การกำกับติดตามดูแล  และให้คำปรึกษา  การประเมินสื่อและเครื่องมือนิเทศ

ขั้นตอนที่ 4  การปฏิบัติการนิเทศภายใน ประกอบด้วย การดำเนินการนิเทศตามแผนที่กำหนดไว้ 

การประสานงาน  การสร้างขวัญกำลังใจ  การกำกับติดตามการสอน  การสร้างความสำคัญระหว่างผู้เกี่ยวข้องและการประเมินผลการดำเนินการนิเทศภายใน

ขั้นตอนที่ 5  การประเมิน  และรายงานผล  ประกอบด้วย  การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผล  การจัดทำรายงาน  การวิเคราะห์ผลการประเมิน  การสรุปและการจัดทำรายงานเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                         

 

 

 

 

 

 

-10-

 

ครูวิเคราะห์ตัวชี้วัดข้อสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6             

ออกข้อสอบคู่ขนานตามตัวชี้วัดของข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  เพื่อทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  ทดสอบก่อนเรียน  ติว  สอนเสริม  สอบตามเนื้อหาและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ทดสอบหลังเรียน  และหาข้อบกพร่อง  เพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป

1.   ผู้อำนวยการสถานศึกษา  รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหารงานวิชาการ  ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน  โดยให้ครูที่รับผิดชอบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้วิเคราะห์ตัวชี้วัดของข้อสอบ (O-NET) ปีที่ผ่านมาว่า  ออกตัวชี้วัดใด  นักเรียนมีข้อบกพร่องตัวชี้วัดไหน  และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร  ทั้งนี้ให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นำเสนอและแสดงความคิดเห็น  พร้อมมอบนโยบายและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโดยขอความร่วมมือ  และการมีส่วนร่วมของครูทุกคน  ผู้ปกครองนักเรียน  และที่สำคัญทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในครั้งนี้

2.   คณะครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชุมเพื่อวางแผนแนวทางพัฒนาศักยภาพผู้เรียน  โดยฝ่ายวิชาการสายชั้นวางแผนจัดระบบเข้าสอนเสริมช่วงเช้า  ตั้งแต่ เวลา 07.30 08.30 น. ทุกวันทำการ  โดยออกปฏิทินการสอนให้กับครูทุกคน

3.   ครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ประชุมนักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน  ชี้แจงให้ทราบแนวทางการพัฒนาก่อนเข้ารับการพัฒนาสอนเสริมในช่วงเช้า  โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 

4.   ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เข้าใจถึงจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกัน  และขอความร่วมมือให้นักเรียนมาเรียนให้ทันเวลา

5.   กำหนดระยะเวลาการพัฒนาผู้เรียน  เป็นระยะเดียว  คือ  ระยะที่ 1 สอนตามปกติ  เน้นการคิดวิเคราะห์ในภาคเรียนที่ 1  ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนครั้งที่  1  เพื่อพัฒนาและปรับปรุง            ระยะที่ 2 สอนตามปกติเน้นการคิดวิเคราะห์ในภาคเรียนที่ 2 และเพิ่มเวลาเรียนอีก 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1   เวลา 07.30 08.30 น.  ช่วงที่ 2 ในชั่วโมงเรียน  ภายในเดือนพฤศจิกายนถึงวันก่อนทำการสอบ

6.   การดำเนินการจัดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา  โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย  เช่น  กิจกรรมความสามารถในการจำ  กิจกรรมความสามารถในการสรุป  กิจกรรมความสามารถในการวิเคราะห์  ฝึกการสังเคราะห์  และฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์  จากแบบทดสอบประเภทต่าง ๆ ที่ครู            แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดหามา  และแนะนำนักเรียนทุกชั่วโมงที่มีการใช้สื่อต่าง ๆ

7.   ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเยี่ยมชั้นเรียนทุกวันในช่วงเช้าที่มีการพัฒนาผู้เรียน  พร้อมสอบถามกับครูผู้สอนถึงความพร้อมของนักเรียน  ปัญหาและอุปสรรค  ความต้องการที่ให้ทางฝ่ายบริหารช่วยเหลือหรือแก้ไขปรับปรุง  จากนั้นฝ่ายบริหารจะนำปัญหาความต้องการนั้นมาประชุมปรึกษา  หาแนวทางแก้ไขร่วมกันในแต่ละครั้งที่ทำการนิเทศภายใน ด้วยกระบวนการเดินกำกับติดตามการสอนของครูแต่ละคน  จะทำการบันทึกการนิเทศและเยี่ยมชั้นเรียนลงในสมุดบันทึกทุกวัน  โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนามรับทราบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

8.   การตรวจสอบครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำข้อสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบ O-NET            ที่ผ่านมา  และทำการทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 2  ให้เสร็จสิ้นก่อนวันทดสอบจริง ประมาณ 3 สัปดาห์  เพื่อหาข้อบกพร่องและหาแนวทางพัฒนาแต่ละตัวชี้วัดที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ  จากนั้นฝ่ายวิชาการสายชั้นประชุม              เพื่อวางแผนการสอนเสริม  และปรึกษาหาแนวทางพัฒนาให้นักเรียนเกิดประสิทธิภาพในการทำข้อสอบให้          มากที่สุด  และย้ำกับนักเรียนเกี่ยวกับการทำข้อสอบในวันสอบจริง


ผลจากการปฏิบัติ

1.   ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  บูรณาการเน้นทักษะกระบวนการคิดในชั่วโมง

เรียนและจัดหาสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น  โดยครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกคนมีส่วนร่วมในการในการจัดเตรียมเอกสารทางวิชาการ  ข้อสอบ  เทคนิคต่าง  ๆ มาเผยแพร่และวางแผนการสอนเสริมร่วมกัน

2.   ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการพัฒนาตนเอง  ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการสอนและเทคนิค

วิธีการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน  โดยเน้นให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น  คิดวิเคราะห์เนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้  ตัวชี้วัด  ครูมีวิธีการสอนหลากหลายมากขึ้น  เช่น  การทดลอง  การแสวงหาความรู้ทางเทคโนโลยี  กระบวนการกลุ่ม  การนำเสนอ  การอภิปราย  การทำโครงงาน  เป็นต้น

3.   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน  มีความรู้  เข้าใจ  เกิดทักษะการทำข้อสอบในลักษณะ

ของข้อสอบ  O-NET ตามที่ทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.)  โดยทุกคน ทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน  มีผลคะแนนแสดงออกมาทุกคน

4.   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการคิดวิเคราะห์  ในการเชื่อมโยงความคิดในการทำ

แบบทดสอบที่ครูนำมาให้ทดลองทำ  มากกว่าร้อยละ 70 สามารถคิด  วิเคราะห์  เชื่อมโยงความสัมพันธ์                ได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  มีความเข้าใจและรู้หลักการทำข้อสอบ  และมีเทคนิคการทำข้อสอบ O-NET  

5.   โรงเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้  จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น

พื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มากกว่าร้อยละ 50  จำนวน 1 กลุ่มสาระจาก 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้   ดังตารางผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และ            ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT)

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

  กลุ่มสาระ

การเรียนรู้

ค่าเฉลี่ย

ผลการเปรียบเทียบ

ปี 2560

ปี 2561

ระดับ

โรงเรียน

ระดับ

สังกัด

ระดับ

ประเทศ

ระดับ

โรงเรียน

ระดับ

สังกัด

ระดับ

ประเทศ

ภาษาไทย

52.02

48.57

46.58

61.79

57.71

55.90

สูงขึ้น

คณิตศาสตร์

38.33

37.41

37.12

45.85

37.43

37.50

สูงขึ้น

วิทยาศาสตร์

40.37

39.84

39.12

46.25

40.17

39.93

สูงขึ้น

ภาษาอังกฤษ

40.14

36.99

36.34

47.59

41.11

39.24

สูงขึ้น

เฉลี่ย

42.72

40.70

39.79

50.37

44.11

43.14

สูงขึ้น

 

ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 

  ความสามารถด้าน

ค่าเฉลี่ย

ผลการเปรียบเทียบ

ปี 2560

ปี 2561

ระดับ

โรงเรียน

ระดับ

สังกัด

ระดับ

ประเทศ

ระดับ

โรงเรียน

ระดับ

สังกัด

ระดับ

ประเทศ

ภาษา

63.24

56.50

52.67

67.95

54.30

53.18

สูงขึ้น

คำนวณ

48.00

37.81

37.75

57.88

44.49

47.19

สูงขึ้น

เหตุผล

52.51

47.50

45.31

59.93

49.15

48.07

สูงขึ้น

เฉลี่ย

54.58

47.27

45.25

61.92

49.31

49.48

สูงขึ้น


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]