สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ผ่านการสอนแบบ Active Learning การจัดการชั้นเรียน เชิงบวกและการนิเทศภายในแนวใหม่ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) มุ่งสู่มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา อย่างยั่งยืน
โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
กระบวนการพัฒนา

กิจกรรมที่ ๑  อบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ผ่านการสอนแบบ Active Learning  การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก และการนิเทศภายในแนวใหม่ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) มุ่งสู่มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน และจัดประชุมวางแผน โดยให้ครูในโรงเรียนจับคู่ buddy กำหนดตาราง วันเวลาการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (การทำ Lesson Study ) ตามขั้นตอน Analyze Plan  Do  See  Reflection and Redesign )

 

                   กิจกรรมที่ ๒ ดำเนินการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ตามขั้นตอน Analyze Plan  Do  See  Reflection and Redesign ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๒ ถึงปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยครูทั้งโรงเรียน ร่วมมือ รวมพลังพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ภาคเรียนละ ๓ ครั้ง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมบันทึกข้อมูลผลการพัฒนาอย่างเป็นระบบและจัดทำรายงานสรุปการพัฒนาบทเรียนร่วมกันในทุกๆภาคเรียน ตลอดโครงการ 


ผลจากการปฏิบัติ

โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ผ่านการสอนแบบ Active Learning การจัดการชั้นเรียนเชิงบวกและการนิเทศภายในแนวใหม่ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (Professional Learning Community : PLC)  มุ่งสู่มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน  ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสุเหร่าลำแขก เกิดองค์ความรู้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพอย่างยั่งยืน  มีการเปิดชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในรูปแบบของการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) สู่ความเป็นครูมืออาชีพ                     นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ (๓ Rs  Cs  Ls) และมีสมรรถนะของผู้เรียนสูงขึ้น  ส่งผลให้โรงเรียนเกิดวัฒนธรรมองค์กรแบบร่วมมือ รวมพลังในการทำงานเพื่อพัฒนาวิชาชีพ (ออกแบบการจัดการเรียนรู้) อย่างยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศภายในแนวใหม่ โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานได้อย่างเหมาะสมตามบริบท   ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครู และผู้บริหารสถานศึกษาต่อไป 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]