สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็นเลิศ (PCNE)
โรงเรียนประชานิเวศน์
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการทำงาน

ขั้นการวางแผน (Plan)

1. ประชุมร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองช่วยกันระดมความคิด วางแผนและเตรียมการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็นเลิศ (PCNE)

2. คณะครูวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และวิเคราะห์ผู้เรียนจากผลการเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมและเสริมสร้างศักยภาพของนักเรียนได้อย่างเต็มความสามารถ

3. คณะครูสร้างสรรค์นวัตกรรม และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายตามธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

4. ครูผู้สอนออกแบบ และค้นคว้าหาแนวทางการประเมินและแบบทดสอบตามตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับนักเรียน โดยรวบรวมแบบทดสอบ ปรับให้เกิดความเหมาะสมและหาคุณภาพของแบบทดสอบที่มีคุณภาพ

ขั้นการปฏิบัติ (Do)

5. คณะครูนำนวัตกรรม และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้วางแผน และจัดทำไว้ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลถึงผลการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และการตอบสนองต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น

6. คณะครูดำเนินการทดสอบความรู้ของนักเรียนตามกำหนดการของโรงเรียน โดยใช้แบบทดสอบที่มีความหลากหลาย ซึ่งแบบทดสอบนั้นได้มาจากการสร้างแบบทดสอบที่มีคุณภาพจากคณะครูโรงเรียนประชานิเวศน์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน) และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาอื่น ๆ ที่ใช้โรงเรียนประชานิเวศน์เป็นสนามสอบด้วย

7. นักเรียนที่มีศักยภาพได้รับการส่งเสริมให้เข้าประกวดแข่งขันในเวทีการแข่งขันต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับตลอดปีการศึกษา

ขั้นการตรวจสอบ (Check)

8. คณะผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียน และคณะครูที่เกี่ยวข้องนิเทศ ติดตามกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น และสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ขั้นการสะท้อนผล (Act)

9. คณะกรรมการดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องรายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้นวัตกรรม รวมถึงการเข้าร่วมสอบแข่งขันในรายการต่าง ๆ ในแต่ละครั้งต่อผู้บริหารสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและผู้ปกครองรับทราบผลการดำเนินงานเป็นระยะ เช่น การรายงานผลการดำเนินงานผ่านฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตจตุจักร เสนอผลการดำเนินงานผ่านการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง และมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์โรงเรียนด้วย

10. ผู้บริหารสถานศึกษาประกาศเกียรติคุณถึงผลความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมแก่คณะครูและนักเรียน พร้อมทั้งมีการจดบันทึกภาพความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็นเลิศ (PCNE)


ผลจากการปฏิบัติ

     ผลจากการปฏิบัติ

จากการดำเนินการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็นเลิศ (PCNE) ส่งผลให้ครูมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย พัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้อย่างเต็มที่ นักเรียนโรงเรียนประชานิเวศน์มีผลการทดสอบระดับประเทศในระดับชั้นต่าง ๆ ที่มีการทดสอบนั้นสูงว่าค่าเฉลี่ยคะแนนทุกการทดสอบ

 

ส่วนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียน 7 ปีการศึกษาต่อเนื่องกัน



นอกจากผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยตรงแล้ว โรงเรียนได้ได้แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดผลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็นเลิศ (PCNE Style) ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้แนว “1 นโยบาย 1 เป้าหมาย แต่หลากหลายในแนวทางปฏิบัติ” โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ส่งเสริมครูให้มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active  Learning lงเสริมกระบวนการทางประชาธิปไตยในการยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ครูสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระและสร้างสรรค์

คณะผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อย่างเป็นรูปธรรม มีการขยายผลและต่อยอดอย่างเป็นระบบเริ่มจากการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิด “ปัญญาตน” แล้วนำมาสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน SL (Share & Learn) เพื่อให้เกิด “ปัญญากลุ่ม” จะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน