สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
สอนเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ขั้นเตรียมการ                     

          โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ ได้มีการประชุมพิจารณาร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมาย โดยให้บุคลากรได้ทราบจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงในด้านการอ่านและให้เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดโครงการซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านให้ดีขึ้นและส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีขั้นตอน ดังนี้

          ๑. คัดกรองนักเรียนและแบ่งกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  

              1.1 ประเมินทักษะการอ่านของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้กระบวนการดังนี้

                   - อ่านคำพื้นฐานในแต่ละระดับชั้นที่ครูกำหนด ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง
                       ระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ ๓                  
                  
- บันทึกผลการอ่าน

                   - ประเมินผลการอ่านเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียน โดยใช้หลักการและเกณฑ์การประเมินการอ่าน ดังนี้

          หลักการให้คะแนน

                   ตอนที่ ๑ คำ  กลุ่มคำ

                             อ่านถูกต้อง ๑ คำ ๑ คะแนน

                             อ่านผิด ๑ คำ หัก ๑ คะแนน

                   ตอนที่ ๒ ประโยค

                             อ่านถูกต้อง ๑ ประโยค ๑ คะแนน

                             อ่านผิด ๑ ประโยค หัก ๑ คะแนน

                   ตอนที่ ๓ ข้อความ

                             อ่านถูกต้อง ๑๐ คะแนน

                             อ่านผิด ๓ คำ หัก ๑ คะแนน

                   เกณฑ์การประเมิน คะแนนการอ่านคำ กลุ่มคำ ประโยค และข้อความ

ระดับชั้น

คะแนน

ร้อยละ

ระดับคุณภาพ

หมายเหตุ

ป. ๑ ม. ๓

32-40

80.00

 

28-31

70.00-79.๐๐

 

24-27

๖๐.๐๐-69.00

 

0-23

60.00 ลงไป

 

 

                                      ระดับคุณภาพ ๔ หมายถึง เริ่มอ่านคล่อง

                                      ระดับคุณภาพ ๓ หมายถึง อ่านไม่คล่อง

                                      ระดับคุณภาพ ๒ หมายถึง เริ่มอ่านได้

                                      ระดับคุณภาพ ๑ หมายถึง อ่านไม่ได้

 

              1.2  แบ่งกลุ่มนักเรียนตามผลการประเมินจากการคัดกรองเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขและพัฒนาการอ่านด้วยวิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละกลุ่มและได้แบ่งกลุ่มดังนี้                                                                               

                     กลุ่มที่ 1  นักเรียนอ่านไม่ได้

                     กลุ่มที่ 2  นักเรียนเริ่มอ่านได้                                                                                             
                    
กลุ่มที่ 3  นักเรียนอ่านไม่คล่อง
                    กลุ่มที่ ๔  นักเรียนเริ่มอ่านคล่อง
ขั้นดำเนินการ

โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ ได้กำหนดกิจกรรม วิธีการและนวัตกรรมการพัฒนารายกลุ่มที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะการอ่านของนักเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น ดังนี้
                    กลุ่มที่  ๑  นักเรียนอ่านไม่ได้

                                   - อ่านบัญชีคำพื้นฐานของระดับประถมศึกษาตอนต้น

                                   - อ่านหนังสือกับครูในตอนเช้าของวันจันทร์,วันอังคาร,วันพฤหัสบดี,และวันศุกร์
                                     ตั้งแต่เวลา
๐๗.๔๐ – ๐๘.๓๐ น.

                                   - สังเกตพัฒนาการอ่านของนักเรียน
                                   - เปลี่ยนแบบฝึกหัดการอ่านและประเมินผลการอ่านทุก ๓ เดือน

                                   - ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียนในกิจกรรมลูกรัก
                                   - ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สอนอ่านซ่อมเสริมตอนเย็น
                                     หลังเลิกเรียนตั้งแต่เวลา เวลา
15.30-16.10 น. ของทุกวัน
                                        - ให้นักเรียนค้นคว้าหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด ตะกร้าความรู้และมุมรักการอ่าน

 

                   กลุ่มที่ 2  นักเรียนเริ่มอ่านได้

                                       - อ่านบัญชีคำพื้นฐานของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

                                   - อ่านคำ / อ่านประโยค / อ่านข้อความสั้น ๆ
                                   - อ่านหนังสือกับครูในตอนเช้าของวันจันทร์,วันอังคาร,วันพฤหัสบดี,และวันศุกร์

                                     ตั้งแต่เวลา
๐๗.๔๐ – ๐๘.๓๐ น.

                                   - สังเกตพัฒนาการอ่านของนักเรียน
                                   - เปลี่ยนแบบฝึกหัดการอ่านและประเมินผลการอ่านทุก ๓ เดือน

                                   - ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียนในกิจกรรมลูกรัก
                                   - ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สอนอ่านซ่อมเสริมตอนเย็น
                                   หลังเลิกเรียนตั้งแต่เวลา
15.30-16.10 น. ของทุกวัน

                                 - ให้นักเรียนค้นคว้าหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด ตะกร้าความรู้และมุมรักการอ่าน

 

                       กลุ่มที่ ๓  นักเรียนอ่านไม่คล่อง

                                   - อ่านบัญชีคำพื้นฐานของระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
                                   - อ่านนิทาน / บทความ / หนังสือ
                                   - อ่านหนังสือกับครูในตอนเช้าของวันจันทร์,วันอังคาร,วันพฤหัสบดี,และวันศุกร์

                                     ตั้งแต่เวลา
๐๗.๔๐ – ๐๘.๓๐ น.

                                   - สังเกตพัฒนาการอ่านของนักเรียน
                                   - เปลี่ยนแบบฝึกหัดการอ่านและประเมินผลการอ่านทุก ๓ เดือน

                                   - ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียนในกิจกรรมลูกรัก
                                   - ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สอนอ่านซ่อมเสริมตอนเย็น
                                     หลังเลิกเรียนตั้งแต่เวลา
15.30-16.10 น. ของทุกวัน

                                 - ให้นักเรียนค้นคว้าหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด ตะกร้าความรู้และมุมรักการอ่าน

 

                    กลุ่มที่ ๔  นักเรียนเริ่มอ่านคล่อง

                                   - อ่านบัญชีคำพื้นฐานของระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
                                   - อ่านนิทาน / บทความ /  หนังสือ / ข่าว  
                                   - อ่านหนังสือกับครูในตอนเช้าของวันจันทร์,วันอังคาร,วันพฤหัสบดี,และวันศุกร์

                                     ตั้งแต่เวลา
๐๗.๔๐ – ๐๘.๓๐ น.

                                   - สังเกตพัฒนาการอ่านของนักเรียน
                                   - เปลี่ยนแบบฝึกหัดการอ่านและประเมินผลการอ่านทุก ๓ เดือน

                                   - ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียนในกิจกรรมลูกรัก
                                   - ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ สอนอ่านซ่อมเสริมตอนเย็น
                                     หลังเลิกเรียนตั้งแต่เวลา
15.30-16.10 น. ของทุกวัน                       

                                 - ให้นักเรียนค้นคว้าหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมในห้องสมุด ตะกร้าความรู้และมุมรักการอ่าน


ขั้นประเมินผล

๑. กำกับติดตามเพื่อประเมินผลการอ่านของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยมีการทดสอบการอ่านในทุก
๓ เดือนเพื่อดูพัฒนาการการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  เมื่อนักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านผ่านเกณฑ์จะได้เลื่อนไปในกลุ่มต่อไป

         . สรุปผลการดำเนินงานของโครงการซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของโรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ สรุปได้ว่า         
                   ๒.๑ นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                     ๒.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาต่าง ๆ มีการพัฒนาสูงขึ้น

                   ๒.๓ ผลการทดสอบระดับชาติ (NT) ความสามารถด้านภาษามีการพัฒนาสูงขึ้น
                    ๒.๔ ผลการทดสอบระดับชาติ
(O-Net) ในวิชาภาษาไทยมีคะแนนพัฒนาขึ้น    
                    ๒.๕ ผลการทดสอบด้านการอ่าน
(RT) มีการพัฒนาสูงขึ้น

ขั้นพัฒนาแก้ไข / ปรับปรุง

          ๑. นำผลการประเมินการอ่านของนักเรียนในแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาปรับปรุงแก้ไขโดยจัดแบบฝึกให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
          ๒. มีการพัฒนาและเปลี่ยนแบบฝึกการอ่านให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนในแต่ละกลุ่มทุก ๓ เดือน
          ๓. มีการประเมินการอ่านระหว่างการจัดกิจกรรม สำหรับนักเรียนในแต่ละกลุ่ม


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

          ผลจากการดำเนินงาน โครงการซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ความสามารถในการอ่านของนักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เป็นที่ยอมรับจากนักเรียน  ผู้ปกครอง
และชุมชน ดังนี้

          ๑. ความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยของนักเรียนพัฒนาขึ้น จำนวนนักเรียนที่อ่านไม่ออก
มีจำนวนลดลง

     . ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ มีการพัฒนาสูงขึ้น

     . นักเรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ NT ของนักเรียนระดับ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ จากลำดับที่ 428 มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับที่ 198

          . นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน O-Net ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา
2559  มีคะแนนพัฒนาจาก 1.35  เพิ่มขึ้นเป็น ๒.๐๖ เมื่อเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๐ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีคะแนนพัฒนาจาก ๐.๗๕  เพิ่มขึ้นเป็น ๑.๘๓  เมื่อเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๐
          . ผลการทดสอบ RT ปีการศึกษา 2560 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้ลำดับที่ ๒
ในระดับสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

          . นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]