สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงงานรีไซเคิลเพื่อชีวิต
โรงเรียนวัดพิชัย
กระบวนการพัฒนา

จากการศึกษาโดยวิธีการสำรวจพื้นที่โรงเรียนวัดพิชัยพบว่า ขยะที่พบในโรงเรียนส่วนมากเกิดจากนักเรียนซื้ออาหารมารับประทาน ขยะส่วนใหญ่ที่พบเป็นถุงพลาสติก  แก้วน้ำ หลอดดูด ไม้ไอติม ขวดพลาสติก ถุงใส่อาหารสำเร็จรูป กล่องนม และเศษกระดาษ โดยส่วนมากนักเรียนจะทิ้งในถังขยะ มีบางส่วนที่ทิ้งนอกถังขยะ ระยะเวลาที่ทิ้งขยะได้แก่ช่วงเช้าก่อนเข้าแถว และช่วงกลางวันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

เนื่องจากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนได้ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อลดขยะในโรงเรียน โดยมีการจัดเวรทำความสะอาดห้องเรียน จัดกิจกรรม Big cleaning day และปฏิบัติงานตามกิจกรรม 5 ส ซึ่งได้แก่ สะสาง (Seiri) สะดวก (Seison) สะอาด (Seiso) สุขลักษณะ (Seiketsu) สร้างนิสัย (Shisuku) ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีความเหมาะสม หลังจากการดำเนินการกิจกรรม 5 ส พบว่าเมื่อนักเรียนทำความสะอาดแล้ว มีขยะหลากหลายประเภท จากปัญหานี้ทางโรงเรียนจึงมีการนำแนวทางการลด การคัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้หลัก 3R ซึ่งเป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นผู้บริหาร และคณะครูได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิธีกำจัดขยะในโรงเรียนให้ลดน้อยลงโดยการหาวิธีการบริหารจัดการขยะที่เป็นปัญหาให้ลดน้อยลง  หรือใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ด้วยการนำมาบูรณาการเข้ากับทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และทางโรงเรียนส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่ง ความรู้เบื้อง สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง และจัดประกวดโครงงานโดยมีเงื่อนไขว่าโครงงานที่นักเรียนจัดทำจะต้องช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนได้  หลังจากประกวดเสร็จชิ้นงานหรือผลงานที่ได้ เช่น หมวกจากกล่องนม เสื่อจากกล่องนม กระเป๋าจากกล่องนม เก้าอี้จากกล่องนม เป็นต้น สามารถนำกลับมาใช้ในห้องเรียน หรือในกิจกรรมของทางโรงเรียนได้อีก และยังเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะพึงประสงค์ผู้เรียน ค่านิยมของคนไทยและความเป็นพลเมืองที่ดีของคนไทย เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะดังกล่าวที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในอนาคต  สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำให้เกิดความสวยงาม สร้างเสริมสุขภาพอนามัยของบุคคลให้อยู่อย่างมีความสุข จากการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร  คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนวัดพิชัย จะช่วยพัฒนาให้เป็นโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ตลอดไป  


ผลจากการปฏิบัติ

1. ลดปริมาณขยะในโรงเรียน

2. ประหยัดงบประมาณในการกำจัดขยะ

3. นำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

4. สงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน

5. ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น