สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนทดสอบ
กระบวนการพัฒนา

รพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเชิงระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงาน รู้จักสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่ต้องการให้โรงเรียนพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข ตามขั้นตอนที่แสดงไว้ใน Flow Chart ของการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21


    โรงเรียนได้พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้และการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถือเป็นการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศการพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3.2 โครงการ 1 คน 1 อาชีพ 3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร 3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นนวัตกรรมที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และ การพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งโรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูลได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการแบบสอดแทรก แบบคู่ขนานและแบบสหวิทยาการ ในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนจึงได้ประยุกต์แนวคิดและวิธีการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 3.1.1 การจัดกิจกรรมค่ายองค์รวม 3.1.2 การจัดกิจรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม 3.1.3 การบูรณาการแบบสอดแทรก 3.2 โครงงาน 1 คน 1 อาชีพ เป็นโครงการที่ปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (โครงงานอาชีพ) รหัส ง33101 (สาระพื้นฐาน) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนักเรียนที่เรียนรายวิชานี้ทุกคนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมภาคบังคับ 2 ส่วน ได้แก่ 1. กิจกรรมโครงงานอาชีพ (ปฏิบัติในเวลาเรียน) โดยกำหนดสัดส่วนการประเมินผลคิดเป็นร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ทำโครงงานอาชีพตามกระบวนการเรียนการสอนโครงงานอาชีพ 2. กิจกรรม“โครงการ 1 คน 1 อาชีพ” เป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการอาชีพอิสระในท้องถิ่น (ปฏิบัตินอกเวลาเรียน) โดยกำหนดสัดส่วนการประเมินผลคิดเป็นร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม 3. นำผลการประเมินในข้อ 1 และ 2 มารวมกันเพื่อตัดสินผลการเรียน 3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร การนิเทศภายในของโรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูล จะมีระบบการนิเทศเป็นขั้นตอน และนิเทศในหลายลักษณะ ได้แก่ 3.3.1 นิเทศโดยการประชุม - แต่ละเดือนจะมีการประชุมครูประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้การนิเทศ จากฝ่ายบริหาร - ทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป จะมีการประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระ เพื่อรับการนิเทศจากฝ่ายวิชาการ เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย - ฝ่ายบริหารโดยผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มสาระ แต่ละกลุ่มสาระ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้แนวคิด และรับฟังความคิดเห็นของครู ร่วมแก้ปัญหากับครูในกลุ่มสาระ - ในแต่ละกลุ่มสาระ จะมีการประชุมภายในกลุ่มสาระ เพื่อให้การนิเทศครูในกลุ่มฯและในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ทำหน้าที่เป็นครูผู้นิเทศของกลุ่มสาระ 3.3.2 ผู้สอนในรายวิชาเดียวกันจะจับคู่เพื่อเป็นคู่นิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ในรูปแบบการนิเทศทั้งหลาย การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร เป็นวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยครูในกลุ่มสาระเดียวกัน จะจับคู่สัญญาเพื่อเป็นคู่นิเทศที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสังเกตการสอน ให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการเรียนกาสอน อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดบรรยากาศ ในการทำงานที่อบอุ่น จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรัก ความจริงใจ และความร่วมมือในองค์กร ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุผลตามนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน


ผลจากการปฏิบัติ
โรงเรียนมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเชิงระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงาน รู้จักสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่ต้องการให้โรงเรียนพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข ตามขั้นตอนที่แสดงไว้ใน Flow Chart ของการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21

เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]