สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบ "ตารางเก้าช่อง"
โรงเรียนวัดช่องลม
กระบวนการพัฒนา

กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบ "ตารางเก้าช่อง"ของโรงเรียนวัดช่องลม ได้นำต้นแบบมาจาก รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาพัฒนาเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย โดยคิดต่อยอดในส่วนของรูปแบบต่างๆเพิ่มเติม นำมาพัฒนาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2556 จนถึงปัจจุบันจนเกิดรูปแบบใหม่ที่สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัย และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ครูได้รับเกียรติบัติ และเลื่อนวิทยฐานะ มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน อีกทั้งยังนำไปเผยแพร่ แก่สาธารณชนในงานวิชาการเครือข่ายที่11 และงาน Thailand Baby & Kids Best Buy   ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ จึงนับได้ว่าการเคลื่อนไหวประกอบ"ตารางเก้าช่อง" ของโรงเรียนวัดช่องลม


ผลจากการปฏิบัติ

ผลที่เกิดกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิรรมเคลื่อนไหวประกอบตาราง เก้าช่อง  ดังนี้

1. เด็กมีพัฒนาการความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญาสูงตรงตามหลักสูตรปฐมวัย

2. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว 

3. ช่วยทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กคือการใช้มือกับตาให้สัมพันธ์กัน

4. ช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ

5. ช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย

6. ช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบการคิดอย่างมีเหตุผล

7. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างสมาธิในการรับรู้เรียนรู้

8. ช่วยพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) วุฒิภาวะทางสังคม (SQ) และวุฒิภาวะทางด้านสติปัญญา (IQ)

9. ช่วยพัฒนาการรับรู้เรียนรู้ของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

10. ช่วยให้สามารถประเมินผลการรับรู้ เรียนรู้ได้อย่างถูกต้องเป็นรูปธรรม

11. ช่วงส่งเสริมทักษะ พัฒนาความคิด จินตนาการและความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติในการเรียนรู้

.        12. เด็กมีสุขภาพจิตดีและมีความสุขในการเคลื่อนไหวตารางเก้าช่องตามจังหวะ และเสียงเพลง

        13. เด็กรู้จักการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

        14เด็กได้พัฒนาด้านคณิตศาสตร์ เช่น ทิศทาง บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ,รู้จักสัญลักษณ์ตัวเลข เป็นต้น

         15เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการด้านการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่คือการประสานระหว่างตากับเท้าและมือกับเท้าให้สัมพันธ์กัน การฝึกการทำงานของระบบประสาท ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ดีขึ้น

         16เด็กปฐมวัยเกิดความมั่นใจในตนเองซึ่งเกิดจากการได้ใช้ความสามารถควบคุมกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายและการคิดโดยกล้าแสดงท่าทาง และสามารถสื่อสารโดยการกล้าพูดด้วยถ้อยคำและน้ำเสียงชัดเจน กล้าพูดในสิ่งที่ตนเองคิด/กล้าแสดงความคิดเห็น สบตาคู่สนทนาในขณะที่พูด

         17เด็กปฐมวัยเกิดความสนุกสนานในการแสดงออกทางอารมณ์ถึงความรู้สึกกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ