สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการนิเทศภายในโดยการพัฒนาครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Collaborative Active Learning) กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
โรงเรียนราษฎร์บูรณะ(มูฮำหมัดอุทิศ)
กระบวนการพัฒนา

การดำเนินกิจกรรมพัฒนา ครูด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (lesson study) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ตาม  Flow Chart (แผนภูมิ)  ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analyze) เป็นการวิเคราะห์หลักสูตร หรือรายวิชาที่จะจัดการเรียนรู้เป็น

ขั้นตอนการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาตามตัวชี้วัดของมาตรฐานหลักสูตร จากนั้นนำตารางวิเคราะห์ข้างต้นมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ได้องค์ประกอบ 4 ประการของแผนฯ ดังนี้

1.       จุดประสงค์การเรียนรู้ตามตัวชี้วัด

2.       สาระการเรียนรู้

3.       ยุทธวิธีการสอนที่ใช้

4.       ประเมินการเรียนรู้

               ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) เป็นขั้นที่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูผู้วางแผน ผู้ร่วมคิด ครูผู้ชี้แนะหรือครูพี่เลี้ยง รวมทั้งครูผู้บริหารโรงเรียนร่วมกันวางแผน และให้การชี้แนะและคำปรึกษาในการออกแบบการสอนและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผนเรื่องการจัดการเรียน เช่น การจัดโต๊ะเรียนแบบเรียนเป็นกลุ่ม เรียนแบบร่วมมือร่วมพลัง ป้ายนิเทศ ให้มีเนื้อหาเรื่องราวสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียนรู้กัน การเตรียมสื่อการเรียนรู้  เป็นต้น

              ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do & See)  นำแผนการจัดเรียนรู้ที่สร้างไปปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน โดยมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วย ครูผู้ร่วมคิด ฝ่ายบริหาร หรือ ศึกษานิเทศก์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนความคิด (Reflect)  เป็นขั้นที่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสะท้อนความคิด                     

โดยผู้วางแผน หรือผู้สอนเป็นผู้สะท้อนความคิด โดยผู้วางแผน หรือผู้สอนเป็นผู้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ จุดเด่น จุดที่ต้องแก้ไขในการจัดการเรียนการสอนและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันสะท้อนความคิดทั้งจุดเด่น จุดด้อย ปัญหา – อุปสรรค รวมทั้งแนะนำวิธีแก้ปัญหา

               ขั้นที่ 5 ขั้นปรับปรุงใหม่ (Redesign) ขั้นนี้มีการแนะนำให้ปรับแก้แผนฯ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งถ้านำไปทดลองประมาณ 3 – 4 ครั้ง ครูผู้วางแผนจะได้นวัตกรรมการเรียนรู้จากการทดลองหรือเรียกว่า ทำวิจัย เนื่องจากทำในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้น จึงเรียกวิจัยประเภทนี้ว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะเด่น คือ

1)      ง่าย (simple)

2)      สำคัญ (significance)

3)      ใช้เวลาสั้น (short time)

4)      มีการร่วมมือร่วมพลัง (collaboration)

ผลการดำเนินการ

 ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย-ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ และ/หรือคุณภาพ

            1. ผลการดำเนินงาน จากการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาพัฒนาการเรียนการสอนของครูด้วยกระบวนการ Lesson Study

1.1 ครูในโรงเรียนทุกคน รับทราบนโยบายของทางโรงเรียนในการพัฒนาอนาคตสู่คุณภาพการศึกษา ยุค Thailand 4.0

                    1.2 ครูในโรงเรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการนิเทศภายในโดยการพัฒนาครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบรวมพลัง (Collaborative Active Learning) กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC)  ครูทุกคนจับคู่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นแนวในการพัฒนาการเรียนการสอน

                    1.3 ครูในโรงเรียนทุกคนจับคู่วางแผนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study ) กำหนดเป็น 4 วงจรการเรียนรู้ เป็นเวลา 4 เดือน ดังนี้

- วงจรการเรียนรู้ที่ 1  เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2562

- วงจรการเรียนรู้ที่ 2  เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562

- วงจรการเรียนรู้ที่ 3  เดือนสิงหาคม   พ.ศ. 2562

- วงจรการเรียนรู้ที่ 4  เดือนกันยายน   พ.ศ. 2562

                   1.4 ครูในโรงเรียนทุกคนดำเนินงานตามแผนงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้/ตามระดับ

ชั้นอนุบาล 1-2 ผ่านกระบวนการสอนงานแบบพี่เลี้ยง(coaching-mentoring) จากผู้เชี่ยวชาญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยครูผู้สอนพัฒนาตนเอง พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก มีการทำงานแบบรวมพลัง พัฒนาบทเรียนร่วมกัน  (Lesson Study )  

                  1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระสูงขึ้นผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6สูงกว่าการประเมินระดับประเทศทุกกลุ่มสาระ

  2 มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาพัฒนาการเรียนการสอน

               2.1 พัฒนาตัวครูในด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Collaborative -5 STEPs)

               2.2  พัฒนาตัวครูในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาด้านการเรียนการสอน เทคนิคการใช้คำถาม

    2.3  นักเรียนทุกคน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ตามความสามารถของนักเรียน

    2.4  ครูผู้สอน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานในวิชาชีพครู ให้เวลาในการวางแผนการสอน การเตรียมสื่อ และร่วมเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน2.  มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาพัฒนาการเรียนการสอ

              

 


ผลจากการปฏิบัติ

บทเรียนที่ได้รับ จากการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC )มาพัฒนาการเรียนการสอน

1. ผลที่โรงเรียนได้รับ

   1.1 ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อดำเนินการให้มีการพัฒนาอย่างมีเป้าหมาย

   1.2  มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนทำให้เกิดความยั่งยืน

   1.3 เกิดวัฒนธรรมของการทำงานแบบรวมพลัง ช่วยเหลือกันระหว่างผู้บริหารและครู ครูกับครู เด็กกับเด็ก

     2.  ผลที่ครูได้รับ

         2.1 ได้รับการพัฒนา สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

            2.2 มีการสะท้อนการคิด รู้ตนเอง รู้ผู้อื่น แก้ปัญหา ทำงานเป็นทีมอย่างเข้าใจ ต่อยอดความรู้นำนวัตกรรมที่ทำวิจัยง่ายๆ มาแลกเปลี่ยน และปฏิบัติการอย่างมีความหมาย ประสบการณ์จากเพื่อนร่วมงานในการพัฒนาและปรับปรุง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จากการสังเกตการสอนและสะท้อนคิด

        2.3  ได้รับบทเรียน การสอนงานแบบพี่เลี้ยง(coaching-mentoring) การทำงานเป็นทีม

        2.4  มีการจัดการเรียนรู้เปิดโลกกว้างจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเรียนรู้จากเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้

             2.5 จำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติงานของครูมีชั่วโมง PLC ในชั่วโมง/วงจรการเรียนรู้ โดยประมาณ

กิจกรรม

สิ่งที่ได้

ครูผู้วางแผน(ชั่วโมง)

ครูผู้ร่วมคิด(ชั่วโมง)

ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analyze)

การออกแบบการเรียนการสอน

1

-

ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)

แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมพลัง

1

1

    ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do & See) 

การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน

1

1

ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนความคิด (Reflect) 

ประสบการณ์เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา

1

1

    ขั้นที่ 5 ขั้นปรับปรุงใหม่ (Redesign

แผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์จากการสะท้อนคิด

1

-

รวมชั่วโมง

 

5

3

หมายเหตุ   ครูผู้วางแผน สลับกับ ครูผู้ร่วมคิด   จะได้ชั่วโมงรวม 8 ชั่วโมง ใน 1 ภาคเรียน ถ้าดำเนินการPLC จำนวน 4 วงจรการเรียนรู้  จะได้ชั่วโมงPLC  32 ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน


3. ผลที่นักเรียนได้รับ

             3.1 เด็กได้รับการพัฒนาผลการเรียนรู้  (Learning Outcome)   โดยให้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกันและกัน คนเก่ง คนถนัดกว่า ช่วยเด็กเรียนช้า เด็กถนัดระดับต่ำ เรียนรู้ด้วยความรักสามัคคี บรรลุตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งเด็ก ไม่ทิ้งใครคนใดคนหนึ่ง (No Child Left Behind)

ปัจจัยความสำเร็จ จากการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาพัฒนาการเรียนการสอน

1.  ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาครูเกี่ยวกับการนำแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มาพัฒนาการเรียนการสอน ดำเนินการพัฒนาครูโดยการสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมหลักสูตรการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community ) ณ มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์  เพื่อร่วมมือรวมพลังสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

          2.  การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้ริหารสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา

          3.  ครูทุกคนมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง



เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]