สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
สถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
โรงเรียนวัดพลมานีย์
กระบวนการพัฒนา

การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดี ได้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง คณะครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนวัดพลมานีย์   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สถานีดับเพลิงลาดกระบัง , กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน , บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (ศูนย์กระจายสินค้า ลาดกระบัง) , สถานีตำรวจนครบาลจระเข้น้อย , ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๖ ขั้นตอน ดังนี้

            ขั้นที่ 1 ประชุมคณะกรรมการร่วมคิด ศึกษาบริบท สภาพปัญหาของโรงเรียน วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนา เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของโรงเรียนและสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้เรียนให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

            ขั้นที่ 2 พิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ผู้อำนวยการสถานศึกษาประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดภัยให้ครู บุคลากร และผู้เรียนได้ทราบ โดยประเด็นสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี จะครอบคลุมในเรื่องของสภาพแวดล้อมของโรงเรียน การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้เรียน การป้องกันปัญหายาเสพติด

             ขั้นที่ 3 รับอาสาสมัครกิจกรรมรักษ์ความปลอดภัยจากผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตลอดปีการศึกษา อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานภายนอก  ได้แก่  การอพยพหนีไฟ การตรวจสอบถังดับเพลิง  อาสาจราจร การให้ความรู้เกี่ยวกับยาและสารเสพติด การอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัย การตรวจสุขภาพผู้เรียน

            ขั้นที่ 4 ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ปลอดภัย ไม่มีจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปลอดสารเสพติด

            ขั้นที่ 5 ประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน ติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นที่ 6 ขยายผลและเผยแพร่ผลงาน 


ผลจากการปฏิบัติ

1. ผู้เรียน จำนวนร้อยละ 100 มีความปลอดภัยจากสารเสพติด และความเสี่ยงต่าง ๆ ในสภาพสังคมที่มีความเสี่ยง มีสุขภาพอนามัยที่ดี

2. ครูและบุคลากร จำนวนร้อยละ 100 มีความรู้ความสามารถและทักษะในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน

3. ครู บุคลากร และผู้เรียน จำนวนร้อยละ 99.00  มีส่วนร่วมและได้รับความรู้ ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย และรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และสามารถดูแลช่วยเหลือผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่นได้

4. สถานศึกษาให้บริการทางการศึกษาแก่ผู้เรียนโดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี

5. สถานศึกษาได้รับการยอมรับ และได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาความปลอดภัยในโรงเรียน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]