สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป (High scope)

 ขั้นที่ 1 ระบุความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ระบุสภาพปัญหาความต้องการหรือเหตุผลความจำเป็นของสิ่งที่จะพัฒนาได้ชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เสนอแนวทางแก้ปัญหาหรือการพัฒนา โดยใช้หลักการในการออกแบบผลงานที่สัมพันธ์กับปัญหาหรือสิ่งที่จะพัฒนาและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กปฐมวัย

ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดกิจกรรมไฮสโคป เพื่อนำมาใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมแบบบูรณาการให้กับเด็กปฐมวัย 

ขั้นที่ 3 ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมาย โดยนำมาจัดกิจกรรมในกิจกรรมเสรีและกลุ่มย่อย 

ขั้นที่ 4 ดำเนินการกิจกรรมผ่านกิจกรรมเสรีละกิจกรรมกลุ่มย่อย ตามหัวใจของการจัดกิจกรรมไฮสโคป ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ และการทบทวน เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เด็กปฐมวัย

ขั้นที่ 5 นำผลการดำเนินงาน หาจุดปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาในระดับต่อไป



ผลจากการปฏิบัติ

- ด้านนักเรียน เด็กรู้จักการสร้างแนวกระบวนการคิด การวางแผนให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทำให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้  เด็กสามารถลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ และเด็กสามารถสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

- ด้านครูผู้สอน สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจระหว่างการทำกิจกรรม  ซึ่งครูกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆ ตามความสนใจของเด็กเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้ 

ด้านโรงเรียน   สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ไฮสโคป (High Scope) ได้เพราะแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active Participatory Learning คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]