สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงงานทักษะอาชีพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
กระบวนการพัฒนา

1. ขั้นตอนการเตรียมการ

        1.1 ประชุมครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565  ผลการประเมินโครงการในปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากรและทรัพยากรซึ่งประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ อาคารสถานที่ และงบประมาณว่ามีความเพียงพอและเหมาะสม ในการดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่

        1.2 ให้ความรู้และบูรณาการการเรียนการสอน เรื่องแนวทางการดำเนินชีวิต

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ในชั่วโมงการสอน

        1.3 เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

2. ขั้นดำเนินการ

        2.1 ประชุมปรึกษาหารือคณะครู ผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ วางแนวทางการดำเนินงาน และการติดตามประเมินผล

        2.2 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม และดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนด

        2.3 ดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ดังนี้ กิจกรรมออมเงิน ตามแนวพระราชดำริฯ เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมปฐมสัมมาชีพ ตลาดนัดเลหลัง ตังค์ใส่เป๋า มีการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการเพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน จากการศึกษาวิธีการทำโครงงาน การออกแบบผลิตภัณฑ์ 

3. ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล

        3.1 ทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ (ในชั่วโมงกลุ่มสาระการงานอาชีพและวิชาโครงงานรักษ์สิ่งแวดล้อม)

        3.2 ประเมินความสามารถของนักเรียนในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โดยใช้แบบประเมิน)

        3.3 ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง

        3.4 ตรวจสอบการใช้แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนของครูนักเรียนและบุคลากร

        3.5 ประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน บุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ

4. ขั้นการปรับปรุงพัฒนา

        4.1 ประเมินกิจกรรมและสรุปผลการดาเนินงาน

        4.2 เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง

        4.3 รายงานผลการดาเนินงานตามโครงการ     


ผลจากการปฏิบัติ

             ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักวางแผน แก้ปัญหา สามารถนำหลักประกอบสัมมาอาชีพ และวิธีการปฏิบัติ ไปใช้ในชีวิตประจำวันจนเกิดเป็นจิตนิสัยและพฤติกรรมปฏิบัติ สร้างองค์ความรู้ เกิดความเข้าใจ และถือเป็นแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ไม่ได้ โดยกำหนดแผนการประมาณราคา  และการจำหน่วย สามารถกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำหลักประกอบสัมมาอาชีพไปใช้ในแนวทางปฏิบัติหนึ่งเพื่อการดำรงชีวิต และนำหลักประหยัดอดออมที่ตนปฏิบัติถ่ายทอด ให้เป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้อื่น