สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
เรื่อง “รู้ รักษ์ มวยไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน”
โรงเรียนวิชูทิศ
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.  P: Plan การวางแผนการดำเนินงาน โดยดำเนินการ ดังนี้

1.1 สำรวจวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ดำเนินการสำรวจแหล่งเรียนรู้และวัฒนธรรมนื้องถิ่น พบว่า มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เป็นวัฒนธรรมของคนไทยทั้งประเทศ

1.2 สำรวจภูมิปัญญาในท้องถิ่น ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในกีฬา มวย เช่น  

2.  D: Do การดำเนินงาน จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะและมีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าของกีฬามวยไทยและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมกีฬามวยไทยให้ทุกคนได้รู้จัก โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

2.1 จัดทำหลักสูตรรายวิชากีฬามวยไทย

2.2 จัดอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง กีฬามวยไทย

โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติท่าทางของมวยไทย ตามความเหมาสมและเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด เช่น ท่าทางที่ใช้ประกอบ

                             - ทักษะการเคลื่อนเท้า

                             - การไหว้ครูมวย

                             - ทักษะมวยไทย การใช้มือเป็นอาวุธ (หมัด ศอก)

                             - ทักษะมวยไทย การใช้เท้าเป็นอาวุธ (ถีบ เตะ เข่า)

                             - กระบวนท่ายุทธมวยไทย

                             - ทักษะการต่อสู้ รุก รับ 3 จังหวะ

 

2.3 การจัดการเรียนรู้รายวิชามวยไทย โดยมีการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และจัดทำแผนการเรียนรู้

2.4 จัดตั้งชมรมกีฬามวยไทย

2.5  จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์กีฬามวยไทย ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะด้านมวยไทย และเผยแพร่ยังชุมชน หน่วยงานภายนอก รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวต่างชาติ  สืบสานศิลปะมวยไทย โดยจัดกิจกรรมต่าง ดังนี้

1) ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันการชกมวยที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น

2) จัดกิจกรรมการแสดงศิลปะทางด้านนาฎยมวยไทยในงานกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น

- การแสดงศิลปะการต่อสู้และนาฎยมวยไทยในงานแลกปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับประเทศจีน

- การแสดงนาฎยมวยไทยในงานกีฬา ณ อาคารไอราวัฒน์พัฒนา

- การแสดงท่าทางมวยประกอบเพลงในพิธีปิดกีฬาช้างน้อยเกมส์ ของกรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2565 ณ สนามกีฬา ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

 

 

           3. C: Check ติดตามตรวจสอบและประเมินผลงาน

              1)  แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน โดยประกอบไปด้วยผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  และผู้ที่เกี่ยวข้อง

               2) ประเมินผลการดำเนินงานในระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 

           4. A : Action สรุปผล

      1) สรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชามวยไทย จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น นักเรียนฝึกทักษะกีฬามวยไทยได้อย่างถูกต้อง

                    - นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับกีฬามวยไทย  ร้อยละ 100.00

                   - นักเรียนมีทักษะกีฬามวยไทย  ร้อยละ  100.00

               2) สรุปผลการร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์กีฬามวยไทย

               3) นำผลมาปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้ดีขึ้น

               4) รายงานผลการดำเนินงาน

5. S : Share เผยแพร่ผลงาน

      1) เผยแพร่ศิลปะกีฬามวยไทยผ่านการแสดงในโอกาสต่าง ๆ

      2) วารสารโรงเรียน, ทางเว็บไชต์, facebook

      3) การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

1) สรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรายวิชามวยไทย จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น นักเรียนฝึกทักษะกีฬามวยไทยได้อย่างถูกต้อง

      - นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับกีฬามวยไทย โดยพิจารณาจากผงสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชามวยไทย คิดเป็นร้อยละ 100.00

2) สรุปผลการร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์กีฬามวยไทย นักเรียนเห็นคุณค่าเห็นความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะมวยไทยโดยการแสดงออกและร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องการการอนุรักษ์มวยไทยในโอกาสต่าง ๆ อย่างเต็มใจ  ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและร่วมสืบสานกีฬามวยไทยเป็นอย่างดี ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม “รู้ รักษ์ มวยไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน” สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1) นักเรียนมีร่างกายแข็งแรง

          2) นักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์กีฬามวยไทย