สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ
กระบวนการพัฒนา

ขั้นที่ 1 วางแผนงานและเตรียมการ ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วางแผนงานและเตรียมการ  วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการทิ้งขยะ พบว่า นักเรียนขาดพื้นฐานความรู้ในการคัดแยกขยะ  นักเรียนหลายคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง นักเรียนส่วนใหญ่มองข้ามถังขยะไม่ยอมทิ้งลงถัง ซุกขยะไว้บริเวณรอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรู  มีนักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด ดูไม่งามตา คุณครูทุก ๆ คน มีการอบรมสอนลูกของตนให้มี ความรับผิดชอบ            มีระเบียบวินัย และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว ก็มีการจัดเวรทำความสะอาดอยู่ทุกวัน แต่มันการกำจัดเพียงพอบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป ดังนี้

         1.  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ  16 พฤษภาคม 2566

                   2.  แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ โดยคณะกรรมการประกอบด้วย ครูนักเรียน  แกนนำที่โรงเรียนแต่งตั้ง  จำนวน 10 คน ตัวแทนนักเรียนห้องละ 2 คน และสมาชิกชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                   1) กิจกรรมนักเรียนสำรวจปัญหาการคัดแยกประเภทขยะ ของแต่ละห้องเรียน (Survey)

                   2) กิจกรรมการใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าแทนถุงพลาสติก(cloth bag and basket)

                   3) กิจกรรมการคัดแยกประเภทขยะ (กิจกรรม 3 R (Reduce (ลดการใช้), Reuse (การใช้ซ้ำ), Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) ในห้องเรียน และบริเวณรอบโรงเรียน (3R)

                   4) กิจกรรมลดขยะอาหาร (Reduce food waste)

                   5) กิจกรรมรักษ์ต้นไม้ (Save the tree)

                   6) กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์(Landscape improvement activities)

         7) กิจกรรมติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (Follow

information and news)

         8). กิจกรรมเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (coping with change)

         9). กิจกรรมชักชวนทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Encourage to do good for the

environment)

                  10). กิจกรรมใช้ดีคุ้มค่าพารวย (Activities that are good to use and bring riches)

 

ขั้นที่ 2 ให้ความรู้

                   ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะ ประโยชน์ของถุงผ้า การลดขยะปัญหา รักษาต้นไม้ ดูแลพืชสวนครัว ปรับปรุงภูมิทัศน์ ติดตามข่าวสาร รับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการชักชวนทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม ประชุมเพื่อ ความตระหนักให้บุคลากร  นักเรียนและผู้ปกครอง ให้เห็นความสำคัญสิ่งแวดล้อม และการทิ้งหรือกำจัดขยะหน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK การใช้สมุดเขียนอย่างคุ้มค่า การดูแลรักษาเสื้อผ้าข้าวของส่วนตัวที่โรงเรียนและที่บ้าน

 

ขั้นที่ 3 สังเกตพฤติกรรม

โรงเรียนมีการสร้างนวัตกรรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมนิสัยการคัดแยกขยะทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านโดยมีการจัดกิจกรรมคัดแยกขยะตามจุดต่างๆ มีถังขยะคัดแยกประเภท มีนักเรียนชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแกนนำให้ความรู้เรื่อง ประเภทของขยะและการทิ้งขยะให้ถูกตามประเภทของขยะอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนและบุคลากรทุกคนเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องส่งผลให้พฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียนแยกประเภทและทิ้งขยะมูลฝอยให้ลงถังขยะ ทำให้บริเวณต่างๆในโรงเรียนสะอาดขึ้นและนักเรียนนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกไปใช้ประโยชน์ตามลำดับ นักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีพฤติกรรมด้านการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ครู บุคลากรและนักเรียน ใช้ถุงผ้า หรือตะกร้าแทนถุงพลาสติก นักเรียนทานอาหารหมดถาด เศษพืชผัก หรือเศษอาหารที่เหลือจากการเตรียมประกอบอาหารที่ไม่สามารถรับประทาน มีคนในชุมชนมารับเศษอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ทุกวัน ช่วยลดปริมาณคาร์บอน ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้และพืชผักสวนครัว ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากทุกช่องทาง อาทิ โทรทัศน์ สื่อโซเชียล เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ ครูให้ความรู้ บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดูแลตนเองและดูแลคนในครอบครัวให้มีสุขภาพดี ป้องกันภัยที่เกิดจากฝุ่น PM2.5 สภาวะโลกร้อน ชักชวน ทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความตระหนักในการทิ้งขยะติดเชื้อหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดแพร่เชื้อ การดูแลรักษาเสื้อผ้าขณะสวมใส่เพื่อให้สะอาดใช้ได้คุ้มค่า

 

ขั้นที่ 4 จัดทำคู่มือ

จัดทำคู่มือเข้ขบมิตรแท้สิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์และเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจ

 

ขั้นที่ 5 การประชุมชี้แจง

          มีการประชุมก่อน -ระหว่าง- หลัง ดำเนินการ และการประชุมย่อย ผ่านการประชุมทั้ง ONSITE  On school Line

 

ขั้นที่ 6 การนำไปใช้

นำความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติโดยให้เป็นวิถีชีวิตประจำวัน เกิดพฤติกรรมพึงประสงค์อันส่งผลดีต่อตนเอง สถานศึกษา ชุมชนที่อยู่อาศัย

 

ขั้นที่ 7 ประเมินผลและปรับปรุง

             ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการควบคุม กำกับและติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลและเสนอแนะข้อควรปรับปรุง 


ผลจากการปฏิบัติ

ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์  

ปีการศึกษา 2565 สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยจัดรูปแบบ On site เป็นหลัก และมีรูปแบบ On hand , On school Line  ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019  มาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบภายใต้บริบทของสถานศึกษา มีโครงการที่บูรณาการร่วมกันตลอดปีการศึกษา  ได้แก่

1.    โครงการอาหารกลางวัน

2.    กิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน

3.    โครงการเด็กยิ้มอิ่มท้อง

4.    โครงการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

5.    โครงการพัฒนาวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

6.    โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียน

7.    กิจกรรมป้องกันฝุ่น P.M2.5

8.    โครงการโรงเรียนปลอดขยะ

9.    โครงการบริหารพัสดุบัญชีและการเงิน

10.  โครงการลูกเสือ-ยุวกาชาด โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ(กุลางกูรอุปถัมภ์)

11.  โครงการศูนย์บริหารลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน

12.  โครงการการดำเนินงานด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

13.  โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ

14.  โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco School)

15.  โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

16.  โครงการบริหารความเสี่ยง

17.  โครงการ 100 ล้านความดี

18.  โครงการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม

19.  โครงการ 9 มาตรการด้านความปลอดภัย

20.  โครงการสถานศึกษาปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี

21.  โครงการแหล่งเรียนรู้คู่รอยยิ้ม

22.  โครงการพัฒนาทักษะชีวิต

23.  โครงการโรงเรียนปลอดขยะ

โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ร่วมกันดำเนินการโดยปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีถังขยะที่แยกประเภทชัดเจน  เพียงพอต่อกระจายตามจุดต่างๆ ภายในสถานศึกษา ทุกคนมีคัดแยกขยะด้วยตนเองก่อนทิ้งลงถังขยะ ครูประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นฝึกวินัยของนักเรียน ผู้ปกครองให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะ รักษาดูแลของใช้ส่วนตัวให้มีความคงทนคุ้มค่า ประหยัดเงิน เกิดความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันและประหยัดค่าใช้จ่าย

 

ผลสัมฤทธิ์ของงาน 

1. ผู้บริหาร ครู บุคลากรและนักเรียนช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน

2. ผู้บริหารครู บุคลากรและนักเรียน ติดตามรับข้อมูลข่าวสารและนำไปใช้ในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ต่อเนื่อง

3. ผู้บริหารครู บุคลากรและนักเรียนปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและป้องกันตนเองจากโรคตามฤดูกาล ไดอย่างเหมาะสม มีอัตราการเจ็บป่วยน้อยลง  

4.  ผู้บริหาร ครู บุคลากรและนักเรียน คัดแยกขยะได้ถูกวิธี และมีจำนวนลดลง

5.  ขยะอินทรีย์ จำพวกเศษอาหาร ผักและผลไม้ มีปริมาณลดลง และถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยมีผู้ปกครองรับไปเป็นอาหารสัตว์(ปลา)

6.   ผู้บริหารครู และบุคลากรมีการใช้ตะกร้า หรือ ถุงผ้า ใช้ปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหาร และแก้วน้ำที่ผลิตจาก สแตนเลสสตีล หรือวัสดุที่ย่อยสลายบรรจุอาหาร บรรจุเครื่องดื่ม ลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม และใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้หลายครั้งและย่อยสลายโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

7.   ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมมือกับสถานศึกษา รณรงค์และสนับสนุนบุตรหลานใช้ตะกร้า หรือ ถุงผ้า ใช้

ปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหาร และขวดน้ำแบบพกพา หรือวัสดุที่ย่อยสลายบรรจุอาหาร บรรจุเครื่องดื่ม ลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม และใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้หลายครั้งและย่อยสลายโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ณ ที่พักอาศัย

           8. ภูมิทัศน์สถานศึกษาสวยงาม สะอาด

           9. ผู้บริหาร ครู และบุคลากร ใช้กระดาษในการจัดทำเอกสารอย่างคุ้มค่า มีการใช้กระดาษครบ         2 หน้า มีการคัดแยกกระดาษแต่ประเภท พร้อมกับการส่งงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ควบคู่กัน ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษและหมึกพิมพ์

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

      สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ผู้บริหาร ครู บุคลากร

นักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง

 

ปัจจัยความสำเร็จ

1.   ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

2.   มีความพร้อมของอุปกรณ์รองรับเพียงพอต่อการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

3.    มีการประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือน และปลูกฝังนิสัยทุกวัน

          4.  การมีส่วนร่วมของบุคลากร นักเรียน  บุคคล และชุมชนที่เกี่ยวข้อง

          5.  มีกิจกรรมที่หลากหลาย ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน

          6 ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรักในสถานศึกษา ชุมชนที่อยู่อาศัย พร้อมปรับปรุง พัฒนา

 

บทเรียนที่ได้รับ

1การดำเนินการตามแนวทางโครงการชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นใน

สถานศึกษา โดยบุคลากร และนักเรียนทุกคน มีการปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อการคัดแยกขยะเพิ่ม
มากขึ้น  

2การปฏิบัติงานที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุนส่งผลให้งานบรรลุผลสำเร็จตาม

เป้าหมาย

3การพัฒนาร่วมกัน ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

        4เกิดลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ “กิจนิสัยการใช้คุ้มค่าลดการใช้ทรัพยากร”

        5เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมาย ความภาคภูมิใจก็คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน       อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสุข มีพฤติกรรมในการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีรางวัลต่างๆ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น รางวัลดีเด่น โครงการ “เธอ คือ แรงบันดาลใจ” จากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รางวัลสถานศึกษาดีเด่น อันดับ 1 ในโครงการโรงเรียนใหญ่รอยเท้าเล็กปีที่ 7  รางวัลดีเด่น ประเภทนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน ในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน สะท้อนความสำเร็จและการดำเนินการตลอดมา ถึงแม้จะผ่านวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19  ภาวะฝุ่น P.M. 2.5 สถานศึกษายังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือจากทุกคน  

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]