สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
เรื่อง “โรงเรียนปลอดขยะ” (Zero Waste School)
โรงเรียนวัดขุมทอง
กระบวนการพัฒนา

ปัญหา

๑. นักเรียนและบุคคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ

2. นักเรียนและบุคลากรไม่คัดแยกขยะ

3. ปริมาณใบไม้มีจำนวนมาก

4. ขยะอินทรีย์มีกลิ่นเหม็น

ศึกษาสภาพปัญหา

            จากการศึกษาสภาพปัญหา พบสาเหตุของปัญหาดังนี้

            ๑. นักเรียนไม่ได้ถูกฝึก และกระบวนการคัดแยกขยะไม่ถูกต้อง

2. ครูและบุคลากรเทขยะรวมกันโดยไม่ได้คัดแยก

3. นักเรียนไม่ทิ้งขยะตามถังขยะแต่ละประเภท

4. ที่บ้านนักเรียน เทรวมโดยไม่มีการคัดแยก

 

 

แนวทางแก้ปัญหา

๑. นำเสนอปัญหาต่อผู้บริหารสถานศึกษา

2. ระดมสมองเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา

3. กำหนดวันให้ความรู้ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบ

4. ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน

5. ประเมินผล และสรุปผลกจกรรมต่าง ๆ

6. รวบรวมปัญหาและวางแผนเพื่อแก้ไขต่อไป

การดำเนินการ

แนวทางการดำเนินการให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ยึดหลักการคัดแยกขยะ 3Rs และบูรณาการคัดแยกขยะกับแนวทางอื่น ๆ  มีดังนี้

            ๑. กระบวนการพัฒนานักเรียนและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการจัดการขยะมูลฝอยเป็นการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในการเรียนรู้ 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้และกิจกรรมหน้าเสาธง

            2. การมีส่วนร่วมของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน

            3. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ภายนอกโรงเรียน กิจกรรมอบรมศึกษาดูงาน เรียนรู้การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

            4. จุดเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มุมแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ ได้แก่ ฐานธนาคารขยะ ฐานการเรียนรู้ขยะเหลือศูนย์ ฐานการเรียนรู้บ่อปุ๋ยหมักธรรมชาติ การแยกขยะซากพืช ซากสัตว์ แบบแผ่นพับ ในรูปแบบวิดิโอ

            5. การจัดการขยะภายในโรงเรียนโดยใช้หลัก 3Rs

                    5.1 เส้นทางการจัดการขยะของโรงเรียน

                              5.1.1 เส้นทางขยะอินทรีย์

                              5.1.2 เส้นทางการจัดการขยะรีไซเคิล

                              5.1.3 เส้นทางขยะทั่วไป

                              5.1.4 เส้นทางขยะอันตราย

            6. คัดแยกขยะตั้งแต่ห้องเรียน โรงอาหาร สหการ และบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน ดังนี้

                    6.1 ขยะในห้องเรียนทุกห้องเรียนจะต้องคัดแยกเป็น กระดาษสองหน้า กล่องนม เศษดินสอ ขวดน้ำพลาสติก

                    6.2 ขยะในโรงเรียนอาหารจะคัดแยกเศษอาหารและเศษผักเปลือกผลไม้

                    6.3 ขยะในสหการจะคัดแยกเป็น ขวดน้ำพลาสติก กล่องน้ำผลไม้ ไม้ไอศกรีม ถุงขนม (ขยะ PLS)
                    6.4 ขยะบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน เศษใบไม้ วัชพืชต่าง ๆ

            7. นวัตกรรมการจกำจัดขยะของโรงเรียน ได้แก่ นวัตกรรมการทำปุ๋ยหมัก (โบกาฉิ) สูตรโรงเรียนวัดขุมทอง นวัตกรรมขวดน้ำสู้ภัยแล้ง

            8. ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โดยผ่านกิจกรรม 4 กิจกรรม ที่โรงเรียนได้กำหนดขึ้น เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะให้กับนักเรียน ดังนี้

                    8.1 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ขยะเหลือศูนย์

                    8.2 กิจกรรมขยะแปลงร่าง

                    8.3 กิจกรรมธนาคารขยะ

                    8.4 กิจกรรม ข.ท. พอเพียง

ประเมินผล

1. สังเกตจาการมีส่วนร่วมของนักเรียน

2. สังเกตพฤติกรรมจากการปฏิบัติของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

3. แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

สรุป

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดแยกขยะให้ถูกต้อง และช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี


ผลจากการปฏิบัติ

จากการส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้การคัดแยกขยะ
ผ่านโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมฐานการเรียนรู้ขยะเหลือศูนย์ กิจกรรมขยะแปลงร่าง กิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรม ข.ท. พอเพียง ผลปรากฏว่า นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีทักษะในการคัดแยกขยะ เห็นความสำคัญ และคุณค่าของการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดขยะมีมูลค่าสร้างรายได้ให้กับโรงเรียน โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อดิน ปุ๋ย เพื่อนำมาบำรุงต้นไม้ภายในโรงเรียน ลดปัญหากลิ่นเหม็นที่เกิดจากเศษอาหารภายในโรงอาหาร ขยะที่ส่งต่อสำนักงานเขตมีปริมาณน้อย และนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้ทราบถึงแนวทางการอยู่
อย่างพอเพียง พร้อมช่วยลดปัญหาด้านฝุ่นละออง
P.M. 2.5


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]