สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
ห้องเรียนสู้ฝุ่น
โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนเตรียมความพร้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM 2.5 โดยโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ แยกเป็นกลุ่มสีต่าง ๆ ดังนี้

1. พื้นที่โซน สีฟ้า

ให้จัดกิจกรรมทำความสะอาดห้องเรียนและอาคารเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ให้ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

2.พื้นที่โซน สีเขียว

ให้จัดกิจกรรมทำความสะอาดห้องเรียนและอาคารเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ให้ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

นักเรียน ที่ป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ให้

พิจารณาลดการเรียนพลศึกษาและกิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมอื่น ๆ ทุกชนิด

3.พื้นที่โซน สีเหลือง

ให้จัดกิจกรรมทำความสะอาดห้องเรียนและอาคารเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ให้ลดการทำกิจกรรมนอกอาคารเรียน

นักเรียน นักศึกษา ที่ป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด

ให้พิจารณายกเว้นการเรียนพลศึกษาและกิจกรรมกลางแจ้ง

ผู้บริหาร ครู  สื่อสารข้อมูลสถานการณ์มลพิษทางอากาศและวิธีการป้องกันตนเอง แก่นักเรียน

นักศึกษาทุกเช้า และสังเกตอาการนักเรียน นักศึกษา หากมีอาการผิดปกติ เช่น เคืองตา คันตา ตาแดง ให้ใช้น้ำสะอาดล้างดวงตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา และดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงให้พบแพทย์ทันที

4.พื้นที่โซน สีส้ม

นักเรียน ผู้บริหาร ครู  และบุคลากร สวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

ควรเรียนในชั้นเรียน สำหรับกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆ อาจได้รับการพิจารณายกเลิก

เด็กเล็ก (อนุบาล) เข้าแถวในชั้นเรียน ยกเลิกการออกกำลังกายกลางแจ้ง สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง

อื่นๆ อาจได้รับการพิจารณายกเลิกตามความเหมาะสม

นักเรียน ที่ป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ควรให้อยู่

ภายในอาคารในห้องปลอดฝุ่น งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง และต้องได้รับการดูแลจากครู อย่างใกล้ชิด

ผู้บริหาร ครู สื่อสารข้อมูลสถานการณ์มลพิษทางอากาศและวิธีการป้องกันตนเอง แก่นักเรียน

นักศึกษาทุกเช้า/บ่าย และสังเกตอาการนักเรียน นักศึกษา หากมีอาการผิดปกติ เช่น เคืองตา คันตา ตาแดง ให้ใช้น้ำสะอาดล้างดวงตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา และดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรงให้พบแพทย์ทันที

 

 

5.พื้นที่โซน สีแดง

นักเรียน ทุกคน ควรอยู่ในอาคาร หรือห้องเรียน และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด

ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การเข้าแถวหน้าเสาธง และการออกกำลังกาย กลางแจ้ง นักเรียน นักเรียนสามารถออกมาพักในช่วงพักระหว่างคาบเรียนหรือพักกลางวันได้ แต่ไม่ควรอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

เด็กเล็ก ที่ป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ภายในอาคาร หรือห้องเรียนที่มีประตูและหน้าต่างปิดสนิทหรือห้องปลอดฝุ่น ที่มีเครื่องปรับอากาศ/เครื่องฟอกอากาศ งดการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้ง และต้องได้รับการดูแลจากครูอย่างใกล้ชิด

ผู้บริหาร ครู สื่อสารข้อมูลสถานการณ์มลพิษทางอากาศและวิธีการป้องกันตนเองแก่นักเรียน นักศึกษาทุกเช้า เที่ยง บ่าย และสังเกตอาการนักเรียน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เคืองตา คันตา ตาแดง ให้ใช้น้ำสะอาดล้างดวงตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา และดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ทันที

โรงเรียนสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานโดยหากพบนักเรียนมีอาการ อาการทางเดินหายใจ แน่นหน้าออก หายใจติดขัด ผื่นขึ้นตามผิวหนัง  โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

1.แยกนักเรียนไปในห้องปลอดฝุ่น หรือห้องพยาบาล

2.สังเกตอาการโดยครูอนามัยของโรงเรียน

3.ประเมินอาการเบื้องต้น รักษาตามอาการ

4.หากมีอาการรุนแรงติดต่อส่งต่อโรงพยาบาล


ผลจากการปฏิบัติ

-โรงเรียนสร้างองค์ความรู้ ความตระหนัก ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา  และเน้นวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองฝุ่น PM 2.5 ให้กับนักเรียน

โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือ

๑.สร้างนักเรียนกลุ่มผู้นำห้องเรียนสู้ฝุ่น เพื่อรายงานสถานการณ์ค่าละอองฝุ่น PM 2.5 พร้อมแนวทางการปฏิบัติ ทุกวัน เวลาเช้า และกลางวัน หน้าเสาธง ทั้งนี้โดยให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการอ่านค่าฝุ่น และทางการปฏิบัติตน โดยแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ เป็นธงสีคุณภาพอากาศ หน้าโรงเรียน บนอาคาร

๒. การบูรณาการเรื่องฝุ่นละอองฝุ่น PM 2.5 ในรายวิชา ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมบ้านทักษะชีวิต และจัดกิจกรรมค่ายห้องเรียนสู้ฝุ่น

๓.ขยายองค์ความรู้สู่ชุมชน และครอบครํวของนักเรียน ผ่านกิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง การประชุมเครือข่ายชุมชน และแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ เป็นธงสีคุณภาพอากาศที่หน้าบ้านประธานชุมชน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]