สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
อำนวยกนกรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบวิถีพอเพียง
โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

1. เสนอโครงการผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อขออนุมัติ

2. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ

3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

4. ดำเนินงานตามโครงการ ประกอบด้วย

    4.1 โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) 

    -  กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ

    - กิจกรรมถังหมักรักษ์โลก

    - กิจกรรมธนาคารขยะ

    - กิจกรรมรับซื้อน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

    - กิจกรรมกระดาษสองหน้า

    - กิจกรรมเปเปอร์มาเช่

    - กิจกรรมกล่องนมกู้โลก

    - กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากฝาขวดพลาสติก

    - กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากหลอดดูด

    - กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ไม้ไอศกรีม

    - กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ซองขนม

    - กิจกรรมส่งเสริมการรับประทานอาหารให้หมด

    - กิจกรรมใบไม้ปันสุข

    - กิจกรรมลด เลิก การใช้น้ำพลาสติกแบบครั้งเดียว

    - กิจกรรมลด เลิกการใช้กล่องโฟม

    4.2 กิจกรรมรักษ์ ปัน สุข จูเนียร์

    - ฐานเรือนวัสดุ

    - ฐานน้ำหมักชีวภาพ

    - ฐาน พอ พัก ผัก

    - ฐานถังหมักรักษ์โลก

    - ฐาน หลัก 3 Rs

    - ฐานรับซื้อน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

    - ฐานใบไม้ปันสุข

    - ฐานคัดแยกชยะ

    - ฐานกล่องนมกู้โลก

5. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ

7 พัฒนาและปรับหลักสูตรกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา

8. ประชาสัมพันธ์และนำเสนอกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชน


ผลจากการปฏิบัติ

โครงการอำนวยกนกรักษ์สิ่งแวดล้อมป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพเด็ก มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1  คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ                                                                                               ผลจากการปฏิบัติงานตามกิจกรรมอำนวยกนกรักษ์สิ่งแวดล้อม  เกิดผลแก่นักเรียน ดังนี้

1. ส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2. นักเรียนร่วมกันสำรวจสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนและจำทำชุมชุนวิชาชีพ (PLC) เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

3. นักเรียนร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน

4. นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนร่วมมือกันในการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

5. ครู บุคลากรและชุมชนมีความรูู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ การนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และการกําจัดขยะอย่างถูกวิธี

6. นักเรียนครู และบุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญและนำหลัก 3Rs มาใช้ในการลดปริมาณขยะการคัดแยกขยะกลับมาใช้ซ้ำและการนำขยะกลับมา              ใช้ประโยชน์ใหม่

7. โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ รณรงค์ให้ความรู้ แก่นักเรียน บุคลากรและชุมชนในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

8. นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง