สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero waste
โรงเรียนสุโขทัย
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนสุโขทัย ได้เล็งเห็นปัญหาของการจัดการขยะ จึงเข้าร่วมโครงการจัดการขยะมูลฝอยโดยร่วมกับสำนักงานเขตดุสิต โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

           - รับฟังปัญหาและสำรวจความต้องการเข้าร่วมโครงการฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกับโรงเรียนโดยสำนักงานเขตดุสิตส่งวิทยากรแนะนำแนวทางการจัดการขยะโดยโรงเรียนเป็นการดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของนักเรียนในโรงเรียนสุโขทัย ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาขยะของโรงเรียนโดยหน่วยงานท้องถิ่นคือสำนักงานเขตทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนในด้านความจำเป็นต่าง ๆ เช่น องค์ความรู้ที่จำเป็นในการจัดการขยะแต่ละประเภท เช่น สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ (ขยะหอม) และการทำปุ๋ยหมัใบไม้แห้ง เพื่อจัดการกับขยะเปียก (ขยะเศษอาหาร) และแนะนำการคัดแยกขยะ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะจากครัวเรือน และการจัดการขยะ

           - ประชาสัมพันธ์โครงการฯ จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียน ประชาสัมพันธ์โดยใช้เครื่องขยายเสียง พร้อมแจกประกาศประชาสัมพันธ์

            - โรงเรียนร่วมมือกันคัดแยกขยะตามที่วิทยากรจากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะแนะนำ โดยคัดแยกของขายได้ (ขยะรีไซเคิล) และนำขยะเปียก (ขยะเศษอาหาร) นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ (ขยะหอม) และปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง

            - นักเรียนในโรงเรียนร่วมกันจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อรวมกลุ่มกันขยขยะรีไซเคิล เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นการร่วมกลุ่มกันเพื่อช่วยให้นักเรียนในแต่ละห้องเรียนได้มีรายได้ในการจัดการบริหารห้องเรียนของแต่ละห้องเรียน


การดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนโดยใช้หลัก ๓Rs

            ๑. กระบวนการจัดการ ๓Rs การลด ใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่

-รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

-รณรงค์การใช้ถ้วย ชามจากครัวเรือนแทนการใช้โฟมใส่อาหาร

-รณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลส (ส่วนตัว) แทนแก้วน้ำพลาสติ                       

-รณรงค์การใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว มาบรรจุน้ำอเนกประสงค์

         

             ๒. กระบวนการจัดการ ๓Rs การลดใช้ (Reduce)  การใช้ซ้ำ (Reuse)  การนำมาใช้ใหม่ (Recycl)

                       -รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

-รณรงค์การใช้ถ้วย ชามจากครัวเรือนแทนการใช้โฟมใส่อาหาร

-รณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลส (ส่วนตัว) แทนแก้วน้ำพลาสติก

                       -รณรงค์การใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว มาบรรจุน้ำอเนกประสงค์

            ๓. กิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิล (Recycle) อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

                        -บริการจุดรับซื้อขยะในโรงเรียน

                        -น้ำหมักจากเศษอาหาร ผลไม้

            ๔. กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

                        -การทำน้ำหมักชีวภาพ / จุลินทรีย์ (EM)

ผลการดำเนินโครงการ : นักเรียนในโรงเรียนให้ความร่วมมือที่ดีส่งผลให้โรงเรียนสะอาดสวยงาม สามารถลดปริมาณขยะได้ดีในในระดับที่น่าพอใจ และยังช่วยให้มีรายได้จากการคัดแยกขยะอีกด้วย


ผลจากการปฏิบัติ

๑. ความรู้ ความเข้าใจ ความมีวินัย และจิตสำนึกการจัดการมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนสุโขทัย

         ๒. ปริมาณขยะมูลฝอยที่ลดลงและขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ประโยชน์

               ๑. ปริมาณขยะทั้งหมดก่อนดำเนินการ…………๒๐.......กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน.....๑๐.๘๑...กก./วัน (ระบุปีฐานของข้อมูล ปี...........๒๕๕๘............)

               ๒. ปริมาณขยะทั้งหมดหลังดำเนินการ….……๗.๕๐.......กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน....๔.๐๕…..กก./วัน (ระบุปีฐานของข้อมูล ปี...........๒๕๖๓............)

               ๓. ปริมาณขยะส่วนต่างที่ลดลง…………๑๒.๕๐............กิโลกรัม/วัน (ข้อ ๑ - ข้อ ๒ = ๓)

               ปริมาณขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ประโยชน์

               ขยะอินทรีย์……….….๔..................กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน...................๐.๐๑....................กก./วัน

     ขยะรีไซเคิล………..….๕...............กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน...................๐.๐๑๒.................กก./วัน

     ขยะทั่วไป……....…….๔...................กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน...................๐.๐๑....................กก./วัน

     รวมปริมาณที่นำกลับมาใช้ประโยชน์….…๑๒.๕๐......กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน.......๐.๐๓.......กก./วัน

     คิดเป็นร้อยละ..................๖๐.๐๐..................จากขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดในชุมชน

     ขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ กก./วัน X ๑๐๐  =  ร้อยละขยะนำกลับมาใช้ประโยชน์

                   ขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

๓. ความต่อเนื่องของการจัดการมูลฝอยและการเป็นแหล่งเรียนรู้

          ปัจจุบันโรงเรียนสุโขทัยได้จัดทำศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะครบวงจร โดยการบริหารจัดการขยะ ออกเป็น ๔ กลุ่มหลัก ตามประเภทของขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ประกอบด้วย ๑. กลุ่มการจัดการขยะอินทรีย์ ๒. การจัดการวัสดุรีไซเคิล ๓. การจัดการขยะทั่วไป ๔. การจัดการขยะอันตราย พร้อมเปิดให้โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อนำแนวทางไปปรับใช้ ช่วยหยุดขยะต่าง ๆ ไม่ให้หลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]