สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการสถานศึกษาพอเพียง
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2
กระบวนการพัฒนา

1. ประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดโครงการสถานศึกษาพอเพียง

2. แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่

          2.1 คณะกรรมการฝ่ายที่ปรึกษา  มีหน้าที่ ให้คำแนะนําเป็นที่ปรึกษา อํานวยความสะดวกในด้านต่างๆ ในการ จัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

          2.2 คณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ ประสานการดําเนินงาน ร่วมวางแผนการดําเนินโครงการให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ประสานงานกับทุกฝ่าย และควบคุมการดําเนินงานตามเกณฑ์การประเมิน ให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย

? ด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานศึกษา  มีหน้าที่

1) รวบรวมเอกสารการดําเนินงาน การติดตามผล ร่วมกันวางแผนการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้เกณฑ์ คุณภาพ เกี่ยวกับ นโยบาย วิชาการ งบประมาณ และบริหารทั่วไป

2) ติดตามแผนงาน โครงการกิจกรรม ที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

? ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีหน้าที่

1) ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) จัดหา ผลิตสื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3) จัดทําเครื่องมือวดและประเมินผล จัดทํารายงานผลการประเมิน เพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุง

4) รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการดําเนินงานเพื่อจัดทํารายงานสรุป

? ด้านที่ 3 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มีหน้าที่

1) วางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) จัดกิจกรรมแนะแนวให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3) จัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะพอเพียง

4) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจัดทำรายงาน

? ด้านที่ 4 การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา  มีหน้าที่

1) วางแผนการโครงการ/กิจกรรม  พัฒนาบุคลากรตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) จัดประชุม อบรม สัมมนา ดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3) ขยายผลการอบรม ติดตามผลการดําเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่เกี่ยวเกี่ยวข้อง

4) ติดตามผลการดําเนินงาน เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจัดทํารายงาน

? ด้านที่ 5 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีหน้าที่

1) ติดตามผลการดําเนินงาน และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเนินงาน ตามคุณลักษณะของ สถานศึกษาพอเพียงด้านสถานศึกษา ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านบุคลากร และด้านนักเรียน

2) รวบรวมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทํารายงาน

          2.3 คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาสภาพแวดล้อม มีหน้าที่

1) วางแผนงานการดําเนินการเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) พัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3) กําหนดพื้นที่ในการจดตั้งฐานการเรียนรู้ จดทําป้ายที่เกี่ยวข้อง ป้ายความรู้บริเวณรอบโรงเรียน ภายนอกห้องเรียน

4) จัดนักเรียนแกนนําช่วยดูแลและพัฒนาสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

          2.4 คณะกรรมกำรฝ่ำยจัดเตรียมเอกสำรและจัดเตรียมแบบนํำเสนอข้อมูล 

1) สําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน เช่น ใบงาน คําสั่ง บันทึกการประชุม เอกสารมอบหมาย หน้าที่ปฏิบัติงาน วาระการประชุม เป็นต้น

2) จัดทํารูปเล่มแบบนําเสนอข้อมูล

3) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สําหรับการทํากิจกรรม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

          2.5 คณะกรรมกำรฝ่ำยติดตามการดํำเนินงาน   มีหน้าที่

1) วางแผนการบริหารจัดการ จดทําแบบติดตามการดําเนินงาน

2) ติดตามการดําเนินงานในแต่ละด้านตามแผนการปฏิบัติงาน

3) สรุปรายงานผลต่อผู้บริหาร

4) รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทํารายงาน

          2.6 คณะกรรมการฝ่ายบันทึกภาพ และประเมินผล มีหน้าที่เก็บรวบรวมภาพ และจัดทำแบบประเมินผลการจัดทำกิจกรรมสวนเกษตรพอเพียง

3. สร้างนักเรียนแกนนำ เพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูล ความรู้ และร่วมมือกับครูในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ

4. การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติงาน

 


ผลจากการปฏิบัติ

ผลสำเร็จ

          ๑. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนสภาพแวดล้อมที่สวยงามและเอื้อต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ และสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้

          ๒. นักเรียน ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะในการปลูกผักเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมอาหารดีมีประโยชน์ของโรงเรียน และสามารถนำความรู้ไปแนะนำกับชุมชนได้

          3. โรงเรียนมีเครือข่ายให้การสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดสถานศึกษาพอเพียง เช่น ฝ่ายสิ่งแวดล้อมสำนักงานเขตหลักสี่ โรงเรียนในเครือข่ายที่ 29 เป็นต้น

 

ผลการได้รับการยอมรับ

          นักเรียน ครูและบุคลากรได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นักเรียนได้รับ มีความรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมต่างๆแนะนำบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนและเป็นแบบอย่างของความพอเพียงได้


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]