สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
แหล่งเรียนรู้ด้วยวิถีพอเพียง
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
กระบวนการพัฒนา

               โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส ได้นำวงจรหรือแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินการ ซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผน P (Plan) การลงมือปฏิบัติ D (Do) การตรวจสอบ C (Check) และพัฒนาปรับปรุงแก้ไข A (Action) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA ดังนี้

                 ขั้นตอนการดำเนินงาน

                 ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (P)

1.       ประชุมวางแผนร่วมกันในการจัดทำโครงการและสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียน

2.       กำหนดโครงการ/กิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้ตอบสนองกับจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรม

                 ขั้นตอนที่ 2  การลงมือปฏิบัติ D (Do)

3.       ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้มีดังนี้

3.1   โครงการเด็กดีมีเงินออม

3.2   กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว

                   ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ C (Check)

4.       ตรวจสอบหลังการดำเนินการกิจกรรมโครงการต่างๆในโรงเรียนสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้หรือไม่

                  ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาปรับปรุงแก้ไข A (Action)

5.       นำผลที่ได้จากการดำเนินการและจากการตรวจสอบมาวิเคราะห์และร่วมกันหาข้อบกพร่องและจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

รายละเอียดการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

1.       โครงการเด็กดีมีเงินออม มีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้

1.1   ผู้เรียนมีสมุดฝากเงินกับทางโรงเรียนคนละ 1 เล่ม ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.2   ผู้เรียนนำสมุดฝากไว้กับครูผู้รับผิดชอบ

1.3   ครูรับฝากเงินออมทุกวันจันทร์และวันพุธ

1.4   ทุกภาคเรียนการศึกษาครูผู้รับผิดชอบต้องรายงานผลการออมทรัพย์ต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้น และผู้ปกครอง

1.5   ประกาศยกย่องชมเชย นักเรียนที่มีการออมดีเด่นห้องละ 2 คน หน้าเสาธงเป็นประจำทุกเดือน

1.6   ครูทุกคนร่วมกิจกรรมออมทรัพย์และนำเงินฝากร่วมกับนักเรียน

2.       กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว มีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้

2.1   แบ่งกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ให้รับผิดชอบปลูกผัก

2.2   ดำเนินการขุดแปลงผักขนาด  80*200 ซม.แล้วปลูกผัก

2.3   รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ดูแลแปลงผักจนผักโตเต็มที่ แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิต

2.4   จำหน่ายผลผลิตให้กับโครงการอาหารกลางวัน เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารสำหรับนักเรียน

2.5   จัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย รายรับจากการขายผัก และรายจ่ายจากการซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก

2.6   เมื่อสิ้นภาคเรียน จะมีการแบ่งรายได้ให้กับนักเรียนทุกคน

2.7   เงินรายได้ที่เหลือนักเรียนสามารถนำไปฝากออมทรัพย์ในโครงการเด็กดีมีเงินออม


ผลจากการปฏิบัติ

1. โครงการเด็กดีมีเงินออม นักเรียนและครูร้อยละ 100 มีการออมทรัพย์ มีทักษะกระบวนการคิด มีความซื่อสัตย์ มีวินัย อยู่อย่างพอเพียงและมีสมุดเงินฝากทุกคน ซึ่งนักเรียนทั้งโรงเรียนมียอดเงินออมเงินกันทั้งสิ้น 82,364บาท คณะครูมียอดเงินออมทั้งสิ้น 4,064 บาท

2. นักเรียนในทุกระดับชั้น ร้อยละ 100 มีความรู้เรื่องทักษะ การปลูกผัก สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ และมีรายได้ระหว่างเรียน มีความรับผิดชอบมีความสามัคคี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีทักษะกระบวนการคิด มีความซื่อสัตย์ มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ผลงานในปี 2565 สามารถนำไปขายให้กับอาหารกลางวันของโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และขายให้กับผู้ปกครองเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเอง และโรงเรียนมีรายได้จากการขายผัก จำนวน 500 บาท

3. ครูร้อยละ 100 มีทักษะกระบวนการคิด มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ

4. ผู้บริหารและคณะครูได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน  


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]